โดยบีทีเอสต้องได้รับค่าจ้างเดินรถ และซ่อมบำรุง (O&M) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน - วงเวียนใหญ่ - บางหว้า และช่วงอ่อนนุช – แบริ่ง (เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงพฤษภาคม 2564) และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต (เดือนเมษายน 2560 ถึง พฤษภาคม 2564) จำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท
วันนี้ SPOTLIGHT จะพามาย้อนรอย คดีการต่อสู้ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวนี้ กว่าจะถึงวันนี้เป็นอย่างไร?
ย้อนรอยคดี “รถไฟฟ้าสายสีเขียว”
โดยปัจจุบันมีหนี้ค่าเดินรถและซ่อมบำรุงที่ กทม.และกรุงเทพธนาคม รวมดอกเบี้ยแล้ว ราว 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งในแต่ละปีต้องเสียอัตราดอกเบี้ยปีละประมาณ 2,600 ล้านบาท หรือวันละประมาณ 7 ล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งประกาศโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับเงินกู้สกุลเงินบาทบวก 1% ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
ล่าสุด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศยืนยันการยอมรับคำวินิจฉัยของศาล พร้อมทั้งสั่งการให้เร่งจัดการประชุมร่วมระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) และกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาแนวทางการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว
โดยเฉพาะในประเด็นการชำระหนี้สินรถไฟฟ้า BTS ที่ยังคงเป็นที่ถกเถียง ผู้ว่าฯ กทม. เผยว่า จะมีการวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทุกประเด็นที่ศาลได้ชี้ขาด และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกรอบของกฎหมายอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และยืนยันว่า จะดำเนินการตามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลา 180 วัน และจะบริหารจัดการงบประมาณอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นที่จะแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินในระยะยาว รวมถึงการต่อสัญญา พ.ร.บ. ร่วมทุนที่จะสิ้นสุดลงในปี 2572 โดยคำนึงถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและคำสั่งศาลอย่างรอบคอบ