ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะลดลงในอัตราที่ช้ากว่าที่คาดการณ์ในตอนแรก โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าโดนัลด์ ทรัมป์มีโอกาสเพิ่มขึ้นที่อาจจะชนะการเลือกตั้งในปี 2024
โดยมีการคาดการณ์ว่า หากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง จะเป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินดอลลาร์ เนื่องจากแผนการปรับลดอัตราภาษี การผ่อนคลายกฎระเบียบในภาคการเงิน รวมทั้งการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน จะส่งผลกระทบต่อสกุลเงินเอเชีย และจะเพิ่มความผันผวนในตลาดการเงิน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อดอลลาร์ในที่สุด
เมื่อวานนี้ราคาทองคำ ทำ All Time High ทั้งราคาสปอตและฟิวเจอร์ โดยราคาทองสปอตพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง สูงสุดแตะระดับ 2,740 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนราคาทองฟิวเจอร์พุ่งทะลุระดับ 2,755 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้ปัจจัยหนุนจากคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินทั้งในเดือนพ.ย.และธ.ค. แม้มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังอิสราเอลทำการสังหารนายยาห์ยา ซินวาร์ ผู้นำกลุ่มฮามาส รวมทั้งยังต้องรอความชัดเจนต่อผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย.นี้ ทั้งนี้คาดว่า ราคาทองคำมีแนวโน้มพุ่งขึ้นแตะ 3,000 ดอลลาร์/ออนซ์ในไตรมาส 1 ของปี 2568
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 698.89 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 1,630 ล้านบาท
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ โดยชะลอตัวหลังจากแข็งค่า 5 วันติดต่อกัน ขณะที่ความต้องการความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ซึ่งหนุนตลาดหุ้นทั่วโลก ส่งผลให้ค่าเงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้น และช่วยหนุนสกุลเงินของประเทศส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ดอลลาร์ออสเตรเลียและดอลลาร์แคนาดา แข็งค่าขึ้นด้วยเช่นกัน
สัญญาอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าของสหรัฐฯ บ่งชี้ว่า มีโอกาส 95% ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในเดือนพ.ย. และมีโอกาส 5% ที่เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.75%-5%
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขการส่งออกเดือนก.ย. ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และสกุลเงินเอเชีย รวมถึงถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ย. รายงาน Beige Book ของเฟด และดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนต.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 3,863 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 263 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 19,000 ราย สู่ระดับ 241,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 3 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 262,000 ราย นอกจากนี้ตัวเลขค้าปลีกออกมาสูงกว่าคาด รวมทั้งเงินดอลลาร์ได้รับปัจจัยบวกจากที่เมื่อวานนี้ ธนาคารกลางยุโรป ECB มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ สาเหตุเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของยูโรโซน และอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัว
โดย ECB ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับ 3.25% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 3.65% ส่วนอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ระดับ 3.40%
อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เนื่องจากเงินบาทได้รับปัจจัยหนุน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก อย่างต่อเนื่อง โดยทะยานแตะที่ระดับ 2,695 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เข้าใกล้ระดับ 2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งขณะนี้เกิดปัญหาความขัดแย้งและการสู้รบกันในหลายภูมิภาค
ปัจจัยที่ต้องติดตามต่อไป ได้แก่ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พ.ย. นี้ และการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 6-7 พ.ย.นี้
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,560 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 2,107 ล้านบาท
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักโดยได้ปัจจัยหนุนจากคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไม่มากนักในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ รวมทั้งการคาดการณ์ว่าโดนัลด์ ทรัมป์จะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขณะที่สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงก่อนการประชุมของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งตลาดคาดว่า ECB จะปรับลดดอกเบี้ย ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2567 คณะกรรมการ กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง “ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ลง 0.25% จาก 2.50% มาสู่ 2.25%
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,439 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 4,202 ล้านบาท
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก สอดคล้องกับการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมเรื่องดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ในบ่ายวันนี้ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐในการประชุมครั้งต่อไป
นอกจากนี้ ยังคงต้องติดตามการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพรุ่งนี้ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมรอบนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ หลังความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลงเร็วกว่าที่คาดไว้
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,300 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,458 ล้านบาท
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ขณะที่นักลงทุนยังคงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่คาดการณ์ว่าจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากในการประชุมที่เหลือของปีนี้ ซึ่งมุมมองดังกล่าวช่วยหนุนแรงซื้อดอลลาร์ นอกจากนี้ ตลาดยังรอดูถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย
กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงเกินคาด ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ประจำเดือนก.ย.ในวันศุกร์ ทั้งนี้ ดัชนี PPI ทั่วไป (Headline PPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 1.8% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.6% หลังจากปรับตัวขึ้น 1.9% ในเดือนส.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PPI ทั่วไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรืออยู่ที่ 0.0% ในเดือนก.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าปรับตัวขึ้น 0.1% หลังจากปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค.
ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.8% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.7% หลังจากปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือนส.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PPI พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย. สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค.
สัปดาห์นี้จับตาการประชุม กนง. โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ในการประชุมวันที่ 16 ต.ค. และจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในไตรมาสแรกของปี 2568 และการประชุมธนาคารกลางยุโรป ในวันพฤหัสบดีนี้(17 ต.ค.) ซึ่งคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ หลังเจ้าหน้าที่ ECB เปิดเผยว่า ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลงเร็วกว่าที่คาดไว้
กรอบค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีการเคลื่อนไหวที่ 33.10-33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,219 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,165 ล้านบาท
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนและอ่อนค่าไปทดสอบที่ระดับ 33.60 เมื่อวานนี้ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับดังกล่าว อย่างไรก็ตามหลังรับรู้ตัวเลข CPI ของและตัวเลขว่างงานของสหรัฐที่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ค่าเงินดอลลาร์ก็เริ่มกลับมาอ่อนค่าสวนทางกับราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.3% จากระดับ 2.5% ในเดือนส.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.1% จากระดับ 0.2% ในเดือนส.ค.
ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.2% จากระดับ 3.2% ในเดือนส.ค.
ในด้านความเป็นไปได้ของการลดดอกเบี้ยของ FED ผลสำรวจของ FED WATCH TOOL ที่คาดว่า FED จะลดดอกเบี้ยอีกครั้งละ 0.25% ในการประชุมอีก 2 รอบที่เหลือของปีนี้(เดิมคาดลดดอกเบี้ย -0.5% ใน พ.ย. และ -0.25% ใน ธ.ค.) สะท้อนการลดดอกเบี้ยที่ไม่รุนแรง มีมุมมองเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น หนุน DOLLAR ชะลอการแข็งค่า
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.40-33.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 392 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,604 ล้านบาท
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.55 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.45 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนได้คลายความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ หลังการปรับตัวลงของราคาน้ำมัน จากการที่มีแนวโน้มว่าอิสราเอลอาจบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในเลบานอน
นอกจากนี้ การรายงานการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 17-18 ก.ย.ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่สนับสนุนการลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึง 0.50% อย่างไรก็ตาม กรรมการเฟดมีความเห็นตรงกันว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในที่ผ่านมาจะไม่ผูกมัดเฟดให้ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอัตราใดเป็นพิเศษในอนาคต
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
ปัจจัยที่ต้องติดตามในช่วงนี้ ได้แก่สถานการณ์ในตะวันออกกลาง กระแสเงินทุนจากต่างประเทศ และการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนในวันเสาร์
เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 851 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,064 ล้านบาท
ค่าเงินบาทเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนและอ่อนค่าตามการเคลื่อนไหวตามค่าเงินภูมิภาค รวมถึงราคาทองคำ โดยเงินบาทพยายามขึ้นไปทดสอบที่ระดับ 33.60 เมื่อวานนี้แต่ยังไม่ผ่านก่อนที่จะแข็งค่าลงมาช่วงปิดตลาด
ค่าเงินดอลลาร์เทียบกับสกุลหลักเองก็มีการปรับตัวขึ้นเนื่องจากยังคงมีความต้องการถือครองเงินดอลลาร์ของนักลงทุนท่ามกลางปัจจัย Geopolitical risk ที่ตึงเครียดมากขึ้น ในขณะที่ตลาดจีนเปิดทำการหลังหลังเทศกาล Golden week แต่ก็สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนที่ทางการจีนไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมกดดันให้เงินหยวนอ่อนค่าลงเช่นกัน
ส่วนความเป็นไปได้ของการลดดอกเบี้ยของ Fed ด้วยอัตราเร่งในปีนี้ ล่าสุดมีน้าหนักเหลือเพียงแค่ 10% เท่านั้น ที่เชื่อว่าภายในช่วงที่เหลือของปีนี้ Fed จะมีการลดดอกเบี้ยรวมกัน 0.75 % จากระดับปัจจุบัน ทั้งๆที่สัปดาห์ก่อนนํ้าหนักดังกล่าวยังอยู่สูงถึง 60%
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.40-33.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,987 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 343 ล้านบาท
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.48 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อยจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.46 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก นักลงทุนเริ่มหันมาให้น้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ย. หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือนก.ย.ในวันพฤหัสบดีนี้ โดยผลการสำรวจนักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี หลังจากปรับตัวขึ้น 2.5% ในเดือนส.ค.
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 5939 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,163 ล้านบาท
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.48 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อยจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.46 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก นักลงทุนเริ่มหันมาให้น้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ย. หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือนก.ย.ในวันพฤหัสบดีนี้ โดยผลการสำรวจนักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี หลังจากปรับตัวขึ้น 2.5% ในเดือนส.ค.
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 5939 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,163 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.30 - 33.60
*แนะนำ ซื้อ 33.30/ ขาย 33.60
EUR/THB 36.50- 37.00
* แนะนำ ซื้อ 36.50 / ขาย 37.00
JPY/THB 0.2230- 0.2280
* แนะนำ ซื้อ 0.2230/ ขาย 0.2280
GBP/THB 43.50- 44.00
AUD/THB 22.40- 22.90
ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังจากตัวเลขการจ้างงานเดือนก.ย. ของสหรัฐฯ แข็งแกร่งเกินคาด ทำให้นักลงทุนปรับลดคาดการณ์ว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ในการประชุมครั้งถัดไป นอกจากนี้ดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในตะวันออกกลาง
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนก.ย. ของไทย ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และทิศทางเงินทุนต่างชาติ
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคและผู้ผลิตเดือนก.ย. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,159 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 2,855 ล้านบาท
ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนพากันถือครองดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลาง
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 6,000 ราย สู่ระดับ 225,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 221,000 ราย
จับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันพรุ่งนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้น 144,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 142,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานอยู่ที่ระดับ 4.2% ในเดือนก.ย. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนส.ค.
นอกจากนี้ ตลาดคาดการณ์ว่า เงินเฟ้ออาจทรงตัวในระดับสูงในปีหน้า ซึ่งจะเป็นอุปสรรคทำให้เฟดไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้มากเท่ากับที่นักลงทุนและกรรมการเฟดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ สำหรับการประชุมครั้งต่อไปของเฟดในวันที่ 6-7 พ.ย.นั้น คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25% ในการประชุมดังกล่าว หากอัตราว่างงานและเงินเฟ้อยังคงมีเสถียรภาพ
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,767 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 3,595 ล้านบาท
ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังการประกาศตัวเลขการจ้างงานสหรัฐออกมาแข็งแกร่ง
โดยตัวเลขการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 143,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 128,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 103,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค.
ตลาดรอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ในวันศุกร์นี้
โดยคาดว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐจะเพิ่มขึ้น 144,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 142,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ขณะที่คาดว่าอัตราว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 4.2% ในเดือนก.ย. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนส.ค.
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 5,361.17 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 3,435 ล้านบาท
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ปรับตัวลง และราคาทองคำที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อพันธบัตรและทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลาง
เมื่อวานนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.38 - 32.61 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาคและตลาดโลก หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ส่งสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะนัดหารือกับผู้ว่า ธปท. เชื่อว่าคงไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามได้แก่ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่จะประกาศในคืนวันศุกร์นี้
เมื่อวานนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.38 - 32.61 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาคและตลาดโลก หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ส่งสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะนัดหารือกับผู้ว่า ธปท. เชื่อว่าคงไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามได้แก่ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่จะประกาศในคืนวันศุกร์นี้
เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 3,038 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,715 ล้านบาท
ที่มา TTB