ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้สนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานระบบการเงินดิจิทัล เพิ่มตัวเลือกให้แก่คนไทย โดยการมีพัฒนาผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ๆออกมาด้วยเทคโนโลยี เช่น Virtual Bank หรือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา
Lightnet Group บริษัทฟินเทคชั้นนำของคนไทย ได้ประกาศจับมือ WeLab ผู้นำด้าน Virtual Bank ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) จากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมุ่งนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เทคโนโลยีการเงิน พร้อมโซลูชั่นชั้นนำที่สร้างความสำเร็จมาแล้วทั่วโลกมาสู่ประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะรับทราบผลการพิจารณาภายในช่วงกลางปี 2568
บริษัทฟินเทคของไทยที่กลายเป็นบริษัทฟินเทคชั้นนำของโลก ให้บริการใน 150 ประเทศทั่วโลก สามารถเข้าถึงฐานลูกค้า Unserved และ Underserved ในประเทศไทยกว่า 46 ล้านรายจาก Ecosystem ที่ครอบคลุมในหลายภาคธุรกิจ อีกทั้ง สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าผ่านจุดให้บริการกว่า 150,000 แห่งทั่วประเทศ
Virtual Bank ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 65 ล้านรายในเอเชียแปซิฟิก และอนุมัติสินเชื่อดิจิทัลแล้วกว่า 5 แสนล้านบาท ทางบริษัทฯ ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบงก์กิ้งที่ครอบคลุม ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กร และโซลูชันทางเทคโนโลยีสำหรับลูกค้าสถาบัน ทั้งนี้ WeLab ประสบความสำเร็จในการบริหาร Virtual Bank ในฮ่องกงภายใต้แบรนด์ WeLab Bank และในอินโดนีเซียภายใต้แบรนด์ Bank Saqu
จุดแข็งที่โดดเด่นของกลุ่มบริษัท คือการขับเคลื่อนระบบนิเวศ (Ecosystem) ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานไทยกว่า 46 ล้านราย ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อสร้าง AI-driven Virtual Bank ในประเทศไทย
และต้องการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับลูกค้าในกลุ่ม Unserved และ Underserved ทั้งในกลุ่มรายย่อย และกลุ่ม MSME ที่มีความต้องการเข้าถึงสินเชื่อรวมกว่า 1.4 ล้านล้านบาท
นายหิรัญกฤษฎิ์ (ตฤบดี) อรุณานนท์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Lightnet Group ได้กล่าวว่า “ธนาคารเป็นธุรกิจที่ไม่ควรผูกขาด แต่ควรจะ support ใครก็ได้ นั้นก็เลยเป็นที่มาของ Virtual Bank ที่ต้องการให้ธนาคารเป็น everyday every moment เหมือนมีโค้ชการเงินบนมือถือ สร้างอิสรภาพทางการเงิน สามารถวางแผนทางการเงินในอนาคตได้ดี และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน ให้กลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น”
โดยวัตถุประสงค์สำคัญของการยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้ง Virtual Bank ในประเทศไทย เพราะทางกลุ่มต้องการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับลูกค้าในกลุ่ม Unserved และ Underserved ทั้งในกลุ่มรายย่อย และกลุ่ม MSME ที่มีความต้องการเข้าถึงสินเชื่อรวมกว่า 1.4 ล้านล้านบาท โดยวางกลยุทธ์ Credit-led Strategy เพื่อสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบในทันที ผ่านเครื่องมือ AI จากนั้นจึงนำเสนอผลิตภัณฑ์การเงินที่ช่วยเพิ่มรายได้ แล้วจึงนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ที่เทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันอาจยังตอบโจทย์ได้ไม่เต็มที่
Virtual bank หรือธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา คือ ธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ที่ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลักโดยไม่มีสาขา เครื่องถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) หรือเครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ (CDM) เป็นของตนเอง แต่ยังสามารถให้บริการทางการเงินได้อย่างครบวงจร
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บริการลูกค้าที่ยังต้องการใช้เงินสด หรือให้บริการที่ยังไม่สามารถทำผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ virtual bank อาจแต่งตั้งตัวแทนรับฝาก/ถอนเงิน หรือให้บริการผ่านเครือข่าย ATM ของธนาคารพาณิชย์อื่น ทั้งนี้ สำหรับในประเทศไทย ธปท. คาดหวังไว้ว่า virtual bank จะเข้ามายกระดับการให้บริการกับกลุ่มลูกค้ารายย่อยและธุรกิจ SMEs เป็นหลัก
การไม่มีสาขาจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานให้ virtual bank โดยเฉพาะค่าสถานที่ และค่าจ้างพนักงานประจำสาขา หลุดออกจากกรอบของธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิมที่ยังพึ่งพาเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในหลายกระบวนการ หรือดำเนินงานบนโครงสร้างระบบเทคโนโลยีเดิมที่อาจไม่ค่อยคล่องตัว ทำให้มีข้อจำกัดในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ
ธปท. จึงคาดหวังว่า virtual bank จะเข้ามามีบทบาทในการออกแบบกระบวนการทำงานและการให้บริการใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ยืดหยุ่นคล่องตัว พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีและเร็วขึ้น
virtual bank ที่จะเปิดให้บริการจะต้องนำข้อมูลทางเลือกที่หลากหลายมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อประกอบการนำเสนอบริการทางการเงิน ที่เหมาะกับความต้องการและความเสี่ยงของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งมิติด้านคุณภาพและราคา