การเงิน

ถอดบทเรียนโควิด19 บุกธุรกิจประกันอ่วม

16 พ.ย. 64
ถอดบทเรียนโควิด19 บุกธุรกิจประกันอ่วม


• Covid-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ ที่กระทบรุนแรงต่อสุขภาพ ดังนั้นคนไทยแห่ทำประกันโควิดตั้งแต่ปี2563 พุ่งทะลุ40ล้านกรมธรรม์ เช่นเดียวกับบริษัทประกัน ที่แห่กันขายประกันโควิดกันอย่างบ้าระห่ำ แต่ไม่มีใครรู้อนาคตได้ว่า จากปี 2563 มาจนถึงปัจจุบัน จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด19ในประเทศไทยจะทะลุ 2 ล้านราย!ไปแล้ว
• อนาคตบริษัทประกันโควิดยังมีความไม่แน่นอนสูง เพราะสถานการณ์โควิด19ยังไม่จบ จำนวนผู้ติดเชื้อยังอยู่ในหลัก 5 พันคน/วัน และยังมีผู้ถือกรมธรรม์โควิดไว้จำนวนอีกจำนวนมาก ส่วนคำสั่งคปภ.ล่าสุดคือ ห้ามบริษัทประกันภัยยกเลิกประกันโควิดแบบเจอจ่ายจบ สั่นสะเทือนอนาคตธุรกิจประกันภัยโควิดพอสมควร

”เบี้ยหลักร้อย คุ้มครองหลักล้าน” “ตรวจเจอปุ๊ปจ่ายปั๊บ “นี่เป็นแคมเปญการตลาดของบริษัทประกันภัยโควิด19 ในปี2563 ในสมัยที่ covid-19 ระลอกแรกเพิ่งเข้ามา บริษัทประกันที่เงียบเหงาอยู่ ต่างได้จังหวะเวลาออกแคมเปญประกันภัยโควิด19 แข่งขันกันอย่างดุเดือด โดยพบว่า บริษัทที่รับทำประกันภัยวิด19 มากกว่า 10 บริษัท

.

 

 

 

ขณะที่รูปแบบความคุ้มครอง ยอดฮิตคือ เจอ จ่าย จบ นั่นก็คือ เมื่อตรวจเจอว่าติดเชื้อโควิด19 บริษัทประกันจ่ายทันที วงเงินคุ้มครองเคยมีสูงถึง 200,000 บาท ขณะที่เบี้ยรับแค่หลักร้อย หรือพันต้นๆ เท่านั้น /รูปแบบต่อมาคือ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล อาการโคม่า ความคุ้มครองหลักหมื่น ถึงหลักล้าน แต่เบี้ยอยู่ที่หลักร้อยถึงหลักพันเช่นกัน สุดท้ายคือ มีการชดเชยรายได้ในขณะเป็นโควิด19 ต่อวันมีสูงถึง 5000 พันบาท

.

 

 

 

ความกังวลและการระบาดที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทำให้คนไทยแห่ทำประกันภัยโควิดสูงมาก จากต้นปี 2563 ถึงประมาณ มีนาคม 2564 มีจำนวนกรมธรรม์สูงถึง 10 ล้านฉบับ คนไทยจำนวนมากซื้อกรมธรรม์ประกันภัยโควิด19 มากกว่า 1 กรมธรรม์ บางคนมีถึง 4-5 กรมธรรม์ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทกลุ่มประกันเติบโต กำไร กันเป็นส่วนใหญ่

.

 

 

 

ไม่มีใครคาดคิดว่า หลังสงกรานต์ เมษายน 2564 เป็นต้นมา โควิด19 ระลอกใหม่บุกไทยอย่างหนัก เพราะมาพร้อมสายพันธุ์เดลต้า ทำให้จำนวนกรมธรรม์ประกันภัยโควิด19 ก็พุ่งขึ้นไปเช่นกัน จาก10 ล้านกรมธรรม์ ราวมีนาคม 2564 พุ่งไปถึง 39.86 ล้านฉบับ ในเดือนสิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ติดเชื้อใหม่ในประเทศทะลุ 1 หมื่นคนนั้นเอง

.

 

 

 

สิ่งที่ตามมา คือ ยอดการเคลมประกันโควิด19 ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเริ่มมีการร้องเรียนจากประชาชน จะยกเลิกประกันโควิด19 แบบ เจอจ่ายจบบ้าง หรือ การขอเปลี่ยนรูปแบบเงื่อนไขประกันบ้าง และ ข่าวที่บางบริษัทประกันประสบปัญหาสภาพคล่อง จากยอดเคลมที่สูงแบบไม่คาดคิด โดยตัวเลขจากคปภ.ล่าสุด ระบุว่า จำนวนยอดเคลมประกันโควิด19 ณ กลางพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 25,000 ล้านบาท

.

 

 

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า บริษัทประกันที่เราถือกรมธรรม์อยู่ยังแข็งแรงหรือไม่?
นอกเหนือจากดูผลประกบอการของบริษัทประกันว่าขาดทุนกำไรแล้ว เราสามารถตรวจสอบได้จาก อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน Capital Adequacy Ratio หรือเรียกย่อๆ ว่า CAR Ratio ซึ่งคปภ.กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของ CAR คือ 120% (ประกาศบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 64 และในปี 65 จะปรับเป็น 140%) ค่า CAR สูงกว่าเกณฑ์เท่าไหร่หมายถึงมูลค่าเงินกองทุนที่มีอยู่มากกว่าที่กฎหมายกำหนด เช็คค่า ได้ที่ https://www.tgia.org/upload/carratio/2/insure_2113.pdf

.

 

 

 

 

และหากเข้าไปตรวจสอบดูแล้ว ก็จะพบว่า กรณีของเอเชียประกันภัย 1950 มีระดับ Car ต่ำกว่า 100 ในปี 2562 และใกล้ 120 บางช่วงในปี 2563 แต่ปัจจัยจากการถูกบอกเลิกรมธรรม์ อาจจะไม่ได้ใช้ car ratio ตัดสินอย่างเดียวสภาพเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่า กรณี สินมั่นคง ก็ยังมี Car ratio ที่สูง ส่วนเดอะวัน ระดับ Car ratio ก็ลดลงมาต่ำเช่นกัน จึงทำให้ที่ผ่านมา คปภ. ต้องออกมาตรการมาช่วยเหลือ บริษัทประกัน ที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากจ่ายค่าสินไหมโควิด19

.

 

 

 

นอกจากเอเชียประกันภัย 1950 ที่ปัจจุบันถูกเพิกถอนใบอนุญาติประกอบธุรกิจไปแล้ว และอยู่ระหว่างการชำระบัญชี อนาคตจะยังมีบริษัทประกันอื่นตกอยู่ในสภาพเดียวกันเอเชียประกันภัย 1950 หรือไม่ จุดชี้ชะตาสำคัญ จึงอยู่ที่สถานการณ์โควิด19 หลังการเปิดประเทศว่าจะเป็นอย่างไร ส่วนเปอเซนต์การฉีดวัคซีนไม่ได้ช่วยให้ลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้ แต่ลดระดับความรุนแรงลงเท่านั้น สุดท้ายคือ ผู้กำกับดูแลอย่าง คปภ.ที่ออกมายืนยัน อยู่เคียงข่างผู้บริโภค สั่งห้ามบริษัทประกันยกเลิกกรมธรรม์โควิด19 แบบเจอจ่ายจบ

บทเรียนของโควิด19 กับธุรกิจประกันจึงเป็นสิ่งที่ยังต้องติดตามกันต่อไป ...สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร


#Spotlight
#ประกันโควิด19

advertisement

SPOTLIGHT