ปีหน้ากำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันแล้ว เชื่อว่าหลายคนน่าจะมีแผนในการจับจ่ายใช้สอย ในช่วงเทศกาลปีใหม่ แน่นอนว่า ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ทำให้หลายคนระมัดระวังในการใช้เงิน ดังนั้นก่อนใช้ต้องรู้จักวางแผน และเก็บเงินให้ได้ก่อน ซึ่ง “การเก็บเงิน” ดูเหมือนจะเป็นปัญหา ของใครหลายคน วันนี้ทีมงาน Spotlight รวบรวมข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่แนะนำวิธีการเก็บเงินแบบง่ายๆ มาฝากกัน 5 วิธี ซึ่งหลายคนอาจจะเก็บเงินสำเร็จด้วยวิธีเหล่านี้มาแล้วก็ได้
วิธีที่ 1 เก็บแบงค์ 50 / เก็บเหรียญ 2 บาท
แบงค์ 50 บาท หรือเหรียญ 2 บาท อาจจะไม่ได้ใช้กันบ่อย เท่าเหรียญบาท เหรียญ10 หรือแบงค์ 20 บาท ดังนั้นเคยเห็นเพื่อนบางคน เมื่อได้ 50บาทมา จะไม่ใช่เลย หรือไม่ใช่ เหรียญ 2 บาท เลย วิธีนี้ก็ทำให้เราเก็บเงินได้ไม่น้อยเหมือนกัน
วิธีที่ 2 เก็บแบงค์เลขสวย หรือ เลขเรียงกัน
ถ้าไม่เคยสังเกตเลขบนธนบัตรเลย ก็ลองทำดู ตำแหน่งด้านบนของธนบัตร จะมีเลข และตัวอักษร 1 ตัว ต่อด้วยเลขเรียงกันอีก 7 ตัว ลองตั้งใจกันดูว่า ถ้าเราเจอเลขสวย เลขไหนเรียงกันแล้วจะเก็บธนบัตรใบนั้นไว้ ก็เป็นวิธีเก็บเงินง่ายๆอีกวิธี
วิธีที่ 3 เก็บเงินทอน หรือ เก็บเงินที่เหลือในกระเป๋า
วิธีนี้ อาจจะไม่ได้ผลกับคนที่เตรียมเงินมาจ่ายค่าสินค้าแบบพอดี แต่จำไว้ว่า เมื่อไหร่ได้เงินทอนมา เอาเป็นว่า เก็บแยกเลยไว้เป็นเงินเก็บได้เหมือนกัน แบบนี้ทอนเยอะเก็บเยอะสินะ
วิธีที่ 4 เก็บเงินตามจำนวน เลขท้าย 3 ตัวทุกวันที่ล็อตเตอรี่ออก
วิธีนี้ คิดเสียว่าแก้เคล็ดคนไม่ถูกรางวัลแล้วกัน บางคนซื้อล็อตเตอรี่งวดเดียวเป็นพัน เป็นหมื่น ลองเปลี่ยนมาเก็บเงิน โดยดูจากเลข 3 ตัวท้ายของล็อตเตอรี่ ซึ่งเท่ากับ หลักร้อยบาทต่องวดเท่านั้น แต่ซื้อทุกงวด เก็บหลักร้อยทุกงวด ไม่นานก็น่าจะได้หลักพัน หลักหมื่น เผลอๆ เก็บไปเก็บมา มีสิทธิ์ได้มากกว่า ถูกรางวัลก็เป็นได้ เพราะจริงๆแล้วโอกาสการถูกรางวัลน้อยมากเหลือเกิน
วิธีที่ 5 เก็บเงินเท่ากับ ค่ากาแฟ /น้ำหวาน ที่ซื้อไป
บางคนอาจะไม่รู้ตัวเลยว่า ค่า ชา กาแฟ ที่เราซื้อดื่มทุกวัน หรือ วันละหลายแก้ว รวมๆกันต่อเดือนหลายพันบาททีเดียว ถ้าอย่างนั้น ลอง เก็บเงิน ตามจำนวนค่าชากาแฟ ที่ซื้อไปทุกๆวันดูสิ แล้วคุณจะรู้ว่า มันมากแค่ไหน
5 วิธีง่ายๆ ที่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเก็บเงินสำหรับปี 2565 เก็บเงินแล้ว อย่าลืมต่อยอดให้เงินเก็บนี้งอกเงย ด้วยการศึกษาหาวิธีการลงทุนตามความเสี่ยงที่เรารับได้ ที่สำคัญหาความรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนลงทุน แล้วเงินเก็บของคุณจะงอกเงยในอนาคต
ข้อมูลจาก
เฟสบุค ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย