การเงิน

ธปท. เลื่อนเก็บค่า DCC 1% ไปอีก3 เดือน เริ่ม 1 ก.ค.67 เร่งสื่อสารสร้างความเข้าใจ

1 เม.ย. 67
ธปท. เลื่อนเก็บค่า DCC 1% ไปอีก3 เดือน เริ่ม 1 ก.ค.67 เร่งสื่อสารสร้างความเข้าใจ
ไฮไลท์ Highlight
“เราได้คุยกับทาง ผู้ให้บริการบัตรเครดิต และชมรมบัตรเครดิต ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวไปก่อนในช่วงต้น อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้ผู้ให้บริการสื่อสารกับผู้โภคให้เข้าใจมากขึ้น และให้มีเวลาปรับตัวเพิ่มขึ้น"

istock-1462913117

ธปท. เลื่อนเก็บค่าธรรมเนียม DCC 1% เริ่ม 1 ก.ค.67

หลังจากมีกรณีผู้ให้บริการบัตรเครดิตจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแปลงเงินตราต่างประเทศ หรือ Dynamic Currency Conversion fee (DCC fee) 1% ที่จะเริ่มเก็บเมื่อวันที่ 1 พ.ค.2567 เป็นต้นไป ทำให้ผู้ใช้บัตรเครดิตหากว่าซื้อสินค้าต่างประเทศ รวมถึงร้านออนไลน์ที่จดทะเบียนต่างประเทศ ต้องเสียค่าธรรมเนียมโดยรวมแพงขึ้น

ล่าสุดหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้หารือกับผู้ให้บริการบัตรเครดิต และชมรมบัตรเครดิต ทางคุณชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และ โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงเกี่ยวกับการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม DCC fee ในอัตรา 1%ว่า เนื่องจากประเด็นด้านการสื่อสาร ในการเก็บค่าธรรมเนียมอาจยังไม่ชัดเจน ทำให้ที่ผ่านมาลูกค้าอาจเข้าใจผิดได้ ทั้งกรณีการเอาบัตรเครดิตไปใช้จ่ายในต่างประเทศ หรือกรณีการจ่ายออนไลน์ที่ร้านค้าต่างประเทศ ที่ผู้เลือกใช้บริการอาจไม่ได้มีทางเลือกมากนัก 

โดย ธปท.ขอเลื่อนการเก็บค่าธรรมเนียมรูดบัตรเครดิต 1%  ออกไปก่อนอย่างน้อย 3เดือน จนถึงสิ้นเดือน ก.ค. 2567 เพื่อใช้ชมรมบัตรเครดิต หรือผู้ให้บริการ มีการสื่อสารกับผู้บริโภค ให้เข้าใจ และครบถ้วนมากขึ้น และมีเวลาเพื่อผู้บริโภคมีเวลาปรับตัวขึ้น 

“เราได้คุยกับทาง ผู้ให้บริการบัตรเครดิต และชมรมบัตรเครดิต ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวไปก่อนในช่วงต้น อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้ผู้ให้บริการสื่อสารกับผู้โภคให้เข้าใจมากขึ้น และให้มีเวลาปรับตัวเพิ่มขึ้น"

อย่างไรก็ตาม ธปท. จะมีการหารือและทบทวนร่วมกับผู้ให้บริการอีกครั้ง ก่อนดำเนินทบทวนการเก็บค่าธรรมเนียมการรูดบัตรเครดิตอีกครั้งในระยะข้างหน้า 

istock-1172101452

ค่า DCC Fee คืออะไร?

DCC fee คือ ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท หรือ Dynamic Currency Conversion fee (DCC fee) โดยที่จะเรียกเก็บสำหรับ รายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในการซื้อสินค้า บริการ และ/หรือ การกดเงินสดที่เป็นสกุลเงินบาท ที่ร้านค้าต่างประเทศ (รวมถึงร้านออนไลน์ที่จดทะเบียนต่างประเทศ) ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น

  • จองโรงแรมที่เป็นโรงแรมในต่างประเทศกับ booking.com โดยชำระเป็นเงินบาท จำนวน 3,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียม 1% ของยอด 3,000 บาท หรือ เสียค่าธรรมเนียม DCC fee  จำนวน 30 บาท หรือ 30,000 บาท ก็จะเสียค่าธรรมเนียม 300 บาท

  • ค่าบริการเติมเงินซื้อเกมร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศผ่าน app store จำนวน 100 บาท จะมีค่าบริการ DCC fee 1% ของยอด 100 บาท คือ 1 บาท

ทำไมต้องมีการเรียกเก็บค่า DCC fee?
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติของธุรกิจบัตรเครดิต การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ร้านค้าต่างประเทศ รวมถึงร้านออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศจะมีค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท

โดยที่ผ่านมาหลายๆแบงค์ต้องจ่าย 1% แทนลูกค้า และมีการขาดทุนมาตลอด ตอนนี้ปริมาณการใช้จ่ายสูงมาก โดยเฉพาะการช้อปออนไลน์กับร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศค่อนข้างมาก

istock-1456694473

วิธีการคำนวณค่า Fee ของ VISA, Mastercard? 
สำหรับ VISA และ Mastercard คิด 1 % ของยอดใช้จ่าย ยกเว้น JCB ยังไม่มีการเรียกเก็บ (หากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบภายหลัง)

ค่า DCC fee มีผลวันไหน ?

รายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตตั้งวันที่ 1 ก.ค.67เป็นต้นไป และจะถูกเรียกเก็บ ณ วันที่มีการบันทึกรายการ

อ้างอิง : ธนาคารเเห่งประเทศไทย 

advertisement

SPOTLIGHT