ตั้งแต่ต้นเดือน พฤษภาคม ราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้น 2 บาทจาก 29.94 บาท/ลิตร เป็น 31.94 บาทต่อลิตร แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านและเรียกร้องจากภาคขนส่ง แต่ในส่วนของภาครัฐเอง ไม่สามารถแบกรับภาระการอุดหนุนได้ไหว จึงจำเป็นต้องตัดสินขยับราคาดีเซลให้ทะลุ 30 บาทต่อลิตร
สถานะของกองทุนน้ำมัน ล่าสุด 1 พ.ค. 2565 พบว่า ติดลบอยู่ถึง 60,993 ล้านบาท เป็นการติดลบจากการอุดหนุน LPG 32,776 ล้านบาท และ ติดลบจากราคาน้ำมัน 28,217 ล้านบาท และหากดูโครงสร้างของราคาน้ำมัน จะเห็นว่า แม้ราคาน้ำมันดีเซลจกถูกขยับขึ้นมาแล้วถึง 2 บาท แต่กองทุนน้ำมันนยังอุดหนุนสูงที่สุดในกลุ่มน้ำมันทุกประเภท โดยอุดหนุนดีเซล 10.95 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันประเภทอื่นมีเพียงแก๊สโซฮอลล์ E85 เท่านั้นที่กองทุนน้ำมันอุดหนุนอยู่ 3.53 บาท/ลิตร ส่วนแก๊ศโซฮอลล์ 91,95 และ E20 ถูกเก็บเงินเข้ากองทุนอยู่ 1.02 บาท/ลิตร ขณะที่ก๊าซ LPG อุดหนุนสูงถึง 17.79 บาท/กิโลกรัม
"จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงพอจะคาดการณ์ได้ว่า หากราคาพลังงานในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับสูงแบบนี้ คือราคาน้ำมันดิบอยู่เหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และเงินบาทอ่อนค่าทะลุ 34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการนำเข้าพลังงานของไทยเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ดังนั้นแนวโน้มที่คนไทยจะได้ใช้ราคาน้ำมันที่แพงกว่านี้ จึงมีความเป็นไปได้สูง"
เพียงแค่6แรกของเดือนพฤษภาคม ราคาน้ำมันในดีเซลขยับ 1 ครั้ง 2 บาทต่อลิตร แต่กลุ่มเบนซินขยับขึ้นมาแล้ว ถึง2.20 บาทลิตร และหากนับจากต้นปี คือประมาณ 4 เดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินขึ้นมากว่า 10 บาท ดังนี้
ประเภทราคาน้ำมัน 5 ม.ค.2565 7 พ.ค.2565 ปรับขึ้น
ดีเซล 29.04 31.94 2.90
แก๊สโซฮอลล์ 91 31.48 41.85 10.37
แก๊สโซฮอลล์ 95 31.75 41.85 10.10
แก๊สโซฮอลล์ 20 30.24 40.74 10.50
แก๊สโซฮอลล์ E85 24.14 34.74 10.60
ที่มา https://www.pttor.com/th/oil_price
หากนับรวมมาจากปี 2564 ราคาน้ำมันขึ้นมามากกว่า 14 บาทต่อลิตรแล้วในกลุ่มของแก๊สโซฮอลล์ ผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนจะเห็นได้ชัดเจนผ่านราคาสินค้าอื่นๆที่แห่กันปรับราคาขึ้นตามไปด้วย จึงมีเสียงเรียกร้องให้รัฐใช้วิธีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลงมาอีกได้หรือไม่ เพื่อประคองให้ราคาน้ำมันไม่ขึ้นสุดโหดไปกว่านี้ ทั้งนี้จากโครงสร้างราคาน้ำมัน พบว่า ปัจจุบันรัฐใช้มาตรการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลลงมาแล้วจากเดิมเก็บอยู่ 7 บาท เหลือ 5.99 บาท และลดลงมาอีกในปัจจุบันเหลือ 3.20 บาทต่อลิตร ส่วนของกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลล์ยังไม่เคนมีการปรับลดลง โดยน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮออล์ E10 ถูกเก็บภาษีสรรพสามิตอยู่ 5.85 บาทต่อลิตร E20 ถูกเก็บภาษีสรรพสามิตอยู่ 5.20 บาทต่อลิตร แต่หากรัฐฯใช้วิธีการลดการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง ก็แปลว่า จะสูญเสียรายได้ไปมากเช่นกันเนื่องจาก รายได้หลักของภาษีสรรพสามิตมาจากน้ำมัน
ทางเลือกในภาวะน้ำมันแพงสุดโหดแบบนี้ สำหรับประเทศไทยดูเหมือนจะมีไม่มากนัก ซึ่งภาครัฐฯคงต้องชั่งน้ำหนักถึงผลดี ผลเสีย อย่างถี่ถ้วน เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่คนไทยมีสถานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนัก รายรับถูกกระทบจากโควิดยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงมาก ภาวะเช่นนี้คือความยากลำบากซ้ำไปอีกเมื่อต้องเจอกับภาวะค่าครองชีพที่พุ่งไม่หยุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วิกฤตของแพง ! เงินเฟ้อเดือนเม.ย.พุ่ง 4.65% เหตุราคาน้ำมัน
คาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ยปลายปีนี้ แนะรัฐยกเลิกภาษีสรรพสามิตน้ำมัน