Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
รู้จักธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในเครือ OR
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

รู้จักธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในเครือ OR

16 มิ.ย. 65
18:55 น.
|
6.5K
แชร์

รู้จัก 'OR' ทำธุรกิจอะไรบ้าง  

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)(OR) หรือ 'โออาร์' เป็นบริษัทในเครือ ปตท. ที่ทำธุรกิจสถานีบริการเติมน้ำมัน และธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่นๆที่ไม่ใช่ธุรกิจน้ำมัน (Non Oil) ทั้งในและต่างประเทศ โดยภายหลังจากโออาร์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือน ก.พ. 2564  เริ่มเห็นการขยับรุกหนักขยายไปลงทุนในธุรกิจ Non Oil มากขึ้น 

 

ปัจจุบันเปลี่ยนนิยามใหม่มาเป็น Lifestyle ซึ่งมีธุรกิจอย่างเช่น ธุรกิจกาแฟ ร้านอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ ร้านสะดวกซื้อ และการบริหารจัดการพื้นที่ ส่วนกลุ่ม Oil เดิมก็เปลี่ยนนิยามใหม่มาเป็น Mobility เพราะต้องการขยายธุรกิจออกไปจากกรอบเดิมที่เคยทำ  เช่น กลุ่มธุรกิจ Innovation ด้านอาหาร, ธุรกิจสตาร์อัพ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์อีวี เป็นต้น

 

โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา โออาร์ได้เปิดดำเนินการศูนย์กระจายสินค้าสำหรับธุรกิจค้าปลีกโรงงานผลิตผงผสมเครื่องดื่ม และโรงงานผลิตเบเกอรี่ Cafe Amazon ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และลงทุนเพื่อต่อยอดและสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Mobility & Lifestyle สะท้อนว่ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ถือเป็นธุรกิจที่กำลังมุ่งที่สร้างการเติบโตต่อไปในอนาคต
โดย OR เริ่มหันมาให้ความสำคัญในธุรกิจกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึง Innovation เพิ่มมากขึ้นซึ่งในระยะหลัง

 

เนื่องจากจะเห็นได้ว่า ได้จัดตั้งกองทุน “ออร์ซอน เวนเจอร์ส” (ORZON Ventures, L.P.) โดยร่วมกับกองทุน 500 TukTuks เพื่อแสวงหาและสนับสนุนสตาร์ทอัพใหม่ในระดับซีรีย์ A-B ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเน้นทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ โออาร์ และธุรกิจใหม่ภายใต้กรอบ Mobility & Lifestyle เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจและสร้างความเติบโตระยะยาว

 

แผน 5 ปี ทุ่มงบกว่า 9 หมื่นล้านบาท ลุยลงทุนเน้นกลุ่มธุรกิจ Lifestyle

life

 

OR ประกาศงบลงทุน 5 ปี ระหว่าง 2565-2569 วงเงิน 93,500 ล้านบาท เพื่อสร้างการเติบโตในธุรกิจต่าง ๆ ประกอบด้วย ธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมัน 36.3% ธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน ธุรกิจด้านไลฟ์สไตล์ 21.8% การลงทุนด้านนวัตกรรม 20.4% ธุรกิจต่างประเทศ 14.2% และระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและอื่น ๆ อีก 7.3% แสดงให้เห็นว่าตาม 5 ปีของ OR จะแบ่งใช้เงินลงทุนมากกว่าสัดส่วน 50% ของงบทั้งก้อนที่ตั้งไว้นำมาใช้ลงทุนในธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน

 

ขณะที่ 'พิจินต์ อภิวันทนาพร' รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารการเงิน บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก(OR) ให้ข้อมูลกับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า แผนธุรกิจช่วง 5 ปีช่วงระหว่างปี 2565-2569 ต่อโดยบริษัทยังเน้นสัดส่วนการขยายการลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน(Non Oil) โดยปัจจุบันบริษัทให้นิยามว่าเป็นธุรกิจกลุ่ม Lifestyle ซึ่งรวมถึงแบรนด์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) และอื่นๆ เพราะต้องการขยายขอบเขตการลงทุนให้กว้างขึ้น  

 

เนื่องจากกลุ่มธุรกิจ  Lifestyle มีเทรนด์การเติบโตที่ค่อนข้างดี รวมถึงมีอัตรากำไรที่สูง โดยมีอัตรากำไรก่อนภาษี, ค่าเสื่อม และดอกเบี้ยจ่าย(EBITDA Margin)เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25%  สูงกว่าของธุรกิจธุรกิจกลุ่มน้ำมัน(Oil)  ซึ่งปัจจุบันบริษัทให้นิยามใหม่ว่าเป็น  Mobility เพราะมีการขยายธุรกิจออกไปในกลุ่มใหม่ๆ เพิ่มด้วย อาทิ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ EV ที่มี EBITDA Margin เฉลี่ยเพียง 3-5%

 

ผู้บริหาร OR อธิบายต่อว่า แม้ในอนาคตจะเน้นการให้ความสำคัญในการขยายธุรกิจในกลุ่ม Lifestyle เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ภาพรวมอัตรากำไรเฉลี่ยในอนาคตของ OR ดีขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจกลุ่ม Mobility จะมีอัตราการเติบโตที่ลดลง โดยธุรกิจกลุ่มนี้ยังสามารถเติบโตได้อยู่ตามแผนธุรกิจ เพียงแต่จะเห็นสัดส่วนพอร์ตธุรกิจ Lifestyle ขยายใหญ่ขึ้นเพราะปัจจุบันยังมีสัดส่วนที่ยังไม่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับทั้งพอร์ตรวมธุรกิจของ OR

 

โดยหากทำได้สำเร็จตามแผนการลงทุนช่วง 5 ปี 0tส่งผลให้บริษัทจะมีสัดส่วนกำไร(EBITDA) เปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันดังนี้

  • เป้าหมายสัดส่วน EBITDA จากกลุ่มธุรกิจ Lifestyle เพิ่มเป็น 35% จากปัจจุบันที่ 20%
  • เป้าหมายสัดส่วน EBITDA จากกลุ่มธุรกิจ Mobility ลดลงเป็น 45-50% จากปัจจุบันที่ 75%
  • เป้าหมายสัดส่วน EBITDA จากกลุ่มธุรกิจ Global เพิ่มเป็น 10-15% จากปัจจุบันที่ 5 %


แต่เมื่อไล่เรียงดูข้อมูลย้อนหลังในช่วง 1-2 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า OR รุกหนักลงทุนในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม(F&B) โดยทุ่มงบลงทุนมากกว่า 2,000 ล้านบาท เพื่อเข้าไปซื้อหุ้นแบรนด์ F&B ใหม่ๆ มาเติมในพอร์ต ได้แก่ Peaberry, Pacamara, โอกะจู๋, Kouen, Kamu Tea รวมธุรกิจ Innovation อย่าง Freshket ตลาดสดออนไลน์ที่ขายอาหารสด และยังไม่นับรวมธุรกิจใหม่ๆ อีกจำนวนหลายดีลที่ OR เร่งลงทุนต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา 

 

ลองมส่องกลุ่มแบรนด์ F&B ทีมงาน SPOTLIGHT จะพาไปเปิดพอร์ตของ OR ว่าถึงตอนนี้มีแบรนด์อะไรบ้าง

405498

 

 

บุกเปิดร้านกาแฟสด Cafe Amazon

 

348476

ร้านกาแฟ Cafe Amazon กำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2545 จากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นถึงโอกาสในการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จึงได้วางแนวคิดให้เป็นธุรกิจหนึ่งในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่สร้างรายได้ให้กับสถานีฯ และตอบสนองต่อไลฟ์สไตร์ของผู้บริโภคและคนเดินทางได้มากขึ้น ปัจจุบันมี 3,685 สาขา 

 

ปั้นร้านชานมไข่มุก PEARLY TEA

pt

 

เริ่มสร้างแบรนด์ PEARLY TEA ในปี 2555  โดยอาศัยจุดแข็งจากการมีพื้นที่ปั๊มปตท. ในช่วงนั้นที่มีกว่า 1,400 แห่ง ในการเข้าไปบุกตลาด สู้กับคู่แข่งส่วนใหญ่ก็อาศัยทำเลในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก โดยใช้โมเดลขายขายแฟรนไชส์ ทางเลือกให้กับผู้บริโภค เจาะกลุ่ทคนไม่ดื่มกาแฟ ปัจจุบันมี 169 สาขา
            

ร้านไก่ทอดTexas Chicken

316628

ปี 2558 เข้าซื้อสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนด์ไซส์แบรนด์ Texas Chicken เพื่อนำเข้าและเปิดให้บริการร้าน Texas Chicken ร้านแบรนด์ “ไก่ทอดรสชาติใหม่” สัญชาติสหรัฐ  ปัจจุบันมี 95 สาขา 

 

ลงทุนธุรกิจกาแฟครบวงจร Pacamara

746750

 

 ปี 2563 ทุ่มเงิน 172 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นสัดส่วน 65% ในบริษัท พีเบอร์รี่ ไทย จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม กาแฟครบวงจรในประเทศไทย โดยเป็นทั้งผู้จัดหา ผลิต และจัดจำหน่ายเมล็ดกาแฟ และอุปกรณ์ส้าหรับการเปิดร้าน กาแฟ รวมถึงให้บริการดูแลรักษาเครื่องชงกาแฟให้กับผู้ประกอบการทังในและต่างประเทศ รวมทั้งประกอบธุรกิจร้านกาแฟประเภท Specialty coffee ภายใต้แบรนด์ Pacamara ปัจจุบันมี  17 สาขา

 

รุกธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพแบรนด์ “โอ้กะจู๋”

368446

 

ต้นปี 2564  ประกาศเข้าซื้อหุ้นสัดส่วนไม่เกิน 20% ใน บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด มูลค่าไม่เกิน 500 ล้านบาท ซึ่งดำเนินกิจการร้านอาหารเพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ “โอ้กะจู๋” มีจุดเด่นในเรื่องความสดใหม่ของผักที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ และส่งตรงจากฟาร์มผักขนาดใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่ บริษัทได้ตั้งเป้าขยายสาขาร้านโอ้กะจู๋เพิ่มเติมในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station รวมถึงการจำหน่ายอาหารแบบ Grab & Go ผ่านร้าน Café Amazon ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และภาคเหนือ ปัจจุบันมี 21 สาขา

 ลุยธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น

349482

 

เดือน ต.ค.2564 ประกาศเข้าซื้อหุ้นสัดส่วนของบริษัท อิ่มทรัพย์ โกลบอล คูซีน(ISGC) ด้วยเงินลงทุนไม่เกิน 192 ล้านบาท เป็นผู้ดำเนินธุรกิจร้าน Kouen Sushi Bar แบรนด์ Ono sushi  โดยการลงทุนครั้งนี้เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เสริมสร้างศักยภาพในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของ OR รวมทั้งสร้างโอกาสในการเติบโตร่วมกันทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันมี 3 สาขาใน พีทีที สเตชั่น 

ซื้อแบรนด์ “คามุ ที” 

kamu

ปลายปี 2564 ประกาศทุ่มงบอีก 480 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 25% ใน บริษัท คามุ คามุ จำกัด เจ้าของแบรนด์ “คามุ ที” แบรนด์เครื่องร้านชานมไข่มุกของคนไทย มีความหลากหลายของเครื่องดื่ม ต่อยอดธุรกิจตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ชื่นชอบดื่มชาและเครื่องดื่มไลฟ์สไตล์ เป็นไปตามกลยุทธ์ในการพัฒนา พีทีที สเตชั่น เป็น Living Community  เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมี 5 สาขาใน พีทีที สเตชั่น 

 

เข้าลงทุน Freshket เติมพอร์ต Innovation

604019

 


ล่าสุดในเดือน พ.ค. 2565 ประกาศใช้เงิน 14.5 ล้านดอลลาร์ หรือ 500 ล้านบาท เข้าลงทุน freshket แพลตฟอร์มเทคโนโลยีจำหน่ายวัตถุดิบอาหารออนไลน์ หรือ 'ตลาดสดอออนไลน์'  แหล่งรวมวัตถุดิบออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทย ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2560 เพื่อเป็นศูนย์รวมสินค้าเกษตรและวัตถุดิบคุณภาพจากทั้งเกษตรกรและซัพพลายเออร์ พร้อมคัดวัตถุดิบคุณภาพส่งตรงถึงมือลูกค้ามากกว่า 4,000 รายการ ทั้งกลุ่มร้านอาหาร โรงแรม และครัวเรือน 

 

*หมายเหตุ จำนวนสาขาของ “คามุ ที” กับ  Ono sushi ที่แสดงในข้อมูลข้างต้นนับเฉพาะส่วนที่มี Synergy กับ OR โดย เข้ามาเปิดสาขาใน พีทีที สเตชั่น เท่านั้น เนื่องจาก OR ถือหุ้นสัดส่วน 25% ในทั้ง 2 บริษัทซึ่งเจ้าของเดิมยังมีอำนาจในการบริหารจัดการเป็นหลัก

 

แชร์
รู้จักธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในเครือ OR