ช่วงนี้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายตัวทำสถิติกันถ้วนหน้า เงินเฟ้อมิถุนายน 7.66% มากที่สุดในรอบ 13 ปี ขณะที่เงินบาทก็อ่่อนค่ามากที่สุดในรอบ 8 ปี ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัย ล้วนมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งสิ้น แม้ไม่ได้เหนือความคาดหมายจากหลายฝ่ายที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ แต่นี่คือความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปี 2565
เงินบาทอ่อนค่ามากสุดในรอบ 8 ปี ทะลุ 36 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
การอ่อนค่าคงเงินบาท ยังเกาะกลุ่มไปกับค่าเงินในเอเชียที่อ่อนค่าเช่นกัน หากดูจากต้นปีถึงปัจจุบันค่าเงินเยนของญ๊่ปุ่นอ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาค
- เยน ญี่ปุ่น อ่อนค่า 14.98%
- วอน เกาหลีใต้ อ่อนค่า 8.95%
- เปโซ ฟิลิปปินส์ อ่อนค่า 8.25%
- บาท ไทย อ่อนค่า 7.21%
- ดอลลาร์ ไต้หวัน อ่อนค่า 7.16%
- รูปี อินเดีย อ่อนค่า 6.22%
- ริงกิต มาเลเซีย อ่อนค่า 5.85%
- หยวน จีน อ่อ่นค่า 5.20%
- รูเปียห์ อินโดนีเซีย อ่อนค่า 5.12%
- ดอลลาร์ สิงคโปร์ อ่อนค่า 3.90%
สาเหตุของการอ่อนค่าของเงินบาท
- ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐ
เงินบาทไทยไต่ระดับของการอ่อนค่าลงมาเรื่อยๆจากต้นปี และอ่อนค่ามากขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 0.75% มาอยู่ที่ 1.50 - 1.75% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ที่ 0.50% เมื่อดอกเบี้ยไทยต่ำกว่ามาก เกิดภาวะเงินไหลออก และยิ่งในอนาคตเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงขึ้น ก็จะยิ่งส่งผลให่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปอีก
สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ประเมินว่่า ในช่วงไตรมาส 3 เงินเฟ้อของสหรัฐน่าจะผ่านจุดสูงสุดและเฟดจะลดความร้อนแรงของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในรอบเดือนกันยายน และขึ้นอีก 0.25% ในสองรอบการประชุมในไตรมาส 4 ดังนั้นช่วงปลายปีนี้น่าเห็นดอกเบี้ยสหรัฐที่ 3.5%
- เงินบาทอ่อนค่าถึงเมื่อไหร่ ?
หากธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดความแรงของการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐน่าเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และกลับมาลงทุนในไทย เงินบาทมีโอกาสพลิกกลับมาแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 4 โดยเฉพาะหลังจากที่ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากขึ้น เงินบาทน่าจะแตะระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐปลายปีนี้
CIMBT คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะขยับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นทุกรอบการประชุม คือในเดือนสิงหาคม กันยายนและพฤศจิกายน ที่น่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในช่วงปลายปีนี้ขยับจาก 0.5% ไปสู่ระดับ 1.25% เป็นอย่างน้อยและยังคงเพิ่มต่อเนื่องในปีหน้าเพื่อสกัดเงินเฟ้อให้ลดลง ซึ่งการเร่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยน่าจะเพิ่มความน่าสนใจของสินทรัพย์ในรูปเงินบาทและส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีหลัง
ใครได้ ใครเสีย เมื่อเงินบาทอ่อนค่า
แน่นอนว่าการอ่อนค่าของเงินบาทมีทั้งผลดี ผลเสีย หน่วยงานกำกับดูแลคงกำลังประเมินผลรวมต่อเศรษฐกิจ มาดูกันว่าใครได้ใครเสียกันบ้าง
ประโยชน์จากเงินบาทอ่อน
- บาทอ่่อนเพิ่มความสามารถในการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน
- สินค้าใช้วัตถุดิบในประเทศ และเงินบาทอ่อนค่ากว่าคู่แข่ง เช่น ยางพารา ถุงมือยาง
ผลเสียต่องเงินบาทอ่อนค่า
- ผลกระทบหลักคือ การนำเข้าสินค้ามีราคาแพงขึ้น และประเทศไทยนำเข้าพลังงานในสัดส่วนที่สูง ดังนั้น บาทอ่อนยิ่งทำให้ราคาพลังงานที่แพงขึ้นอยู่แล้ว มีราคาแพงขึ้นไปอีก
วีดีโอปัญหาเงินเฟ้อรับมืออย่างไร