ทราบผลกันเป็นที่เรียบร้อยกับการประกาศรางวัลเก่าแก่ประจำที่ทรงอิทธิพลที่สุดของวงการภาพยนต์ นั่นก็คือ รางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ (Academy Awards) หรือที่ทั่วโลกรู้จักในชื่อ รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 96 (Oscar 2024)
งานประกาศผลต้นแบบรางวัลตุ๊กตาทองที่ได้มอบให้แก่บุคคลในวงการทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการชั้นนำ ที่มีทั้งความเผ็ดร้อนดราม่า ดาวเด่นแย่งซีน หรือแม้แต่เหตุการณ์โมเมนต์พลิกโผ ที่ทำให้คนดูอย่างเราต้องช็อคกันไปตามๆกัน
แต่นอกเหนือจากผลรางวัลOscar 2024 บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนมารู้จักกับงานประกาศรางวัลที่ทรงอิทธิพลที่ กับ 8 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับรางวัลOscar
8 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับรางวัล Oscar
1.จุดเริ่มต้นของรางวัล Oscar
จุดเริ่มต้นของรางวัลOscar เกิดขึ้นจากเมื่อปี 1929 เมื่อสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์ภาพยนตร์ ในสหรัฐอเมริกา (The Academy of Motion Picture Arts and Sciences) อยากจัดงานมอบรางวัล อะคาเดมี อวอร์ดส์ (Academy Awards) เพื่อเป็นเกียรติแก่นักแสดง ผู้กำกับและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกา หลังจากสถาบันก่อตั้งมาได้ 2 ปี
2.ตุ๊กตาทองที่มีการชุบทองคำแท้
ตุ๊กตาทองมีที่มาจาก ชายนักออกแบบที่มีชื่อว่า Cedric Gibbons ซึ่งเป็นผู้กำกับศิลป์ของ MGM และเป็นหนึ่งในสมาชิกเก่าแก่สถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์ภาพยนตร์ โดยร่างแรกที่ได้รับออกแบบคือรูปปั้นอัศวินยืนสง่างามอยู่บนม้วนแผ่นฟิลม์ ที่ได้ต้นแบบรูปมาจาก นักแสดงชาวเม็กซิโกที่ชื่อ Emilio Fernández
หลังจากนั้นจึงส่งไม้ต่อ เข้าสู่การผลิตให้แก่ George Stanley ช่างประติมากรจากลอสแอนเจลิส มาเป็นผู้หล่อรูปปั้น โดยมีการตั้งชื่อว่า ‘The Academy Award of Merit’ (รางวัลสถาบันสำหรับคุณงามความดี)
สำหรับรูปปั้นในเริ่มแรกนั้นมีส่วนผสมของดีบุก 92.5% ทองแดง 7.5% และจบขั้นตอนด้วยการชุบทองคำแท้ ๆ แต่ในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกของเราต้องเจอกับภาวะขาดแคลนโลหะ ทำให้รางวัลตุ๊กตาทองต้องเปลี่ยนส่วนประกอบจากดีบุกผสม ไปใช้ปูนปลาสเตอร์อยู่นานหลายปี
3.ประกาศรางวัลครั้งที่ 1 ใช้เวลาแค่ 15 นาที กับแขก 270 คน
งานประกาศผลและมอบรางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 ถูกจัดเป็นงานกาลาดินเนอร์มีผู้เข้าร่วมงานเพียงแค่ 270 กับการใช้เวลาประกาศผลเพียงแค่ 15 นาที ที่โรงแรมฮอลลีวูด รูสเวลต์ (Hollywood Roosevelt Hotel) บนถนน ฮอลลีวูดบูเลวาร์ด เมืองลอสแอนเจลีส รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งถือว่าเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์งานออสการ์ที่ไม่มีการถ่ายทอดผ่านสื่อใดๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ หรือแม้แต่ โทรทัศน์
ซึ่งภาพยนต์ยอดเยี่ยมเรื่องแรก นั่นก็คือ Wings ที่ได้เล่าเรื่องเรื่องราวความรักหนุ่มสาวที่เกิดขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 จากผลงานกำกับของ William A. Wellman โดย Wings ถือว่าเป็นภาพยนตร์เงียบ เนื่องจากมีพียงแค่เสียงดนตรีประกอบและไม่มีเสียงตัวละครสนทนา
4.ค่ำคืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีของวงการฮอลลีวูด
รางวัลออสการ์ได้เปิดโอกาสให้ ผู้ที่ชื่นชอบภาพยนต์ หรือ Movie lovers ได้ชื่นชมผลที่ดีที่สุดแห่งปีของวงการหนัง และสำหรับคนที่ชื่นชอบแฟชั่น ก็จะได้เห็นดารานักแสดงชื่อดังแต่งตัวในชุดที่สุดแสนตระการตา และได้ฟังสุนทรพจน์ที่สุดแสนกินใจ เช่นเดียวกันกับได้เป็นพยานในช่วงเวลาที่ไม่คาดคิดมาก่อนที่อาจเกิดขึ้นบนเวทีแห่งนี้
5.ซองจดหมายปิดผนึก ที่มีเรื่องราว
หากเราดูการประกาศรางวัลออสการ์ในแต่ละปี เราจะสังเกตุว่ารายชื่อผู้ชนะจะอยู่ในซองจดหมายปิดผนึก เนื่องจากเมื่อปี 1940 เคยเกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหล เมื่อหนังสือพิมพ์ The LA Times ได้ตีพิมพ์รายชื่อผู้ชนะทั้งหมดของปีนั้น และหนังสือพิมพ์ถูกวางแผงในค่ำคืนนั้นก่อนหน้าที่พิธีมอบรางวัลจะเริ่มขึ้น จนกลายเป็นว่าแขกที่เข้ามาร่วมพิธีมอบรางวัลต่างรู้อยู่แล้ววว่าใครจะเป็นผู้ชนะในแต่ละรางวัล
6.ดราม่าเวที ที่มีแต่คนขาว #OscarsSoWhite
ย้อนกลับไปบนเวทีประกาศรางวัลออสการ์ ประจำปี 2015 ผู้ชมจำนวนมากเล็งเห็นว่ารายชื่อผู้เข้าชิงในปีนั้นคับคั่งไปด้วยนักแสดงฮอลลีวู้ดผิวขาวจนขาดแคลนความหลากหลาย ซึ่งสะท้อนถึงภาวะความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นกับนักแสดงผิวดำจึงเกิดเป็นกระแส #OscarsSoWhite ขึ้นในโลกออนไลน์
7.ดราม่า เพศหญิงที่ถูกลืม
ในงานประกาศรางวัลออสการ์ ประจำปี 2017 ได้เกิดกระแสการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องจากผลสำรวจพบว่าสถิติผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในปี 2017มีรายชื่อของผู้หญิงเข้าชิงแค่เพียงไม่ถึง 20 %
และในเวลานั้นยังมีการออกมาเปิดเผยถึงรายได้ค่าตัวของนักแสดงฮอลลีวู้ดและอาชีพในวงการบันเทิงระดับโลกว่า “ผู้หญิงจะได้ค่าตัวเฉลี่ยที่น้อยกว่าผู้ชายเสมอ” จุดประกายให้เหล่าผู้ชมรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้เวทีประกาศรางวัลหลายเวทีเปลี่ยนคณะกรรมการพิจารณาใหม่ให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
8.ปรับเกณฑ์การตัดสิน เพิ่มความเท่าเทียม
งานประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 96 หรือออสการ์ 2024 ได้มีการปรับเกณฑ์เพื้อกำหนดมาตรฐานว่า “หนังที่จะเข้าชิงรางวัลภาพยนต์ยอดเยี่ยมต้องส่งเสริมให้เกิดหลากหลายและความเท่าเทียม ทั้งในจอและนอกจอ ครอบคลุมในทุกมิติตั้งแต่ รสนิยมทางเพศ เพศสภาพ ร่างกาย ชาติพันธุ์ หรือสีผิว”
ซึ่งหนังที่จะเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมต้องเข้าหลักเกณฑ์ 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้
- ต้องมีนักแสดงหลักอย่างน้อย1 คน หรือนักแสดงสมทบอย่างน้อย 30% ของทั้งหมดเป็นตัวแทนของกลุ่มที่หลากหลาย หรือมีเส้นเรื่องและธีมหลักของหนังที่พูดถึงประเด็นดังกล่าว
- ความหลากหลายต้องเริ่มตั้งแต่ในกองถ่าย โดยกำหนดว่า สำหรับตำแหน่งหัวหน้าในด้านต่างๆ ต้องมีอย่างน้อย 2 คน ที่เป็นตัวแทนสะท้อนถึงความหลากหลายและเท่าเทียม รวมถึงทีมงานอย่างน้อย 30% ของกองถ่าย ต้องสะท้อนถึงประเด็นดังกล่าวเช่นกัน
- กลุ่มเด็กฝึกงาน หรือคนในกองถ่ายต้องงมีความหลากหลาย
- การโฆษณาหรือการตลาดต้องสะท้อนถึงความหลากหลายและเท่าเทียม
สรุปผลรางวัลออสการ์ 2024
-
รางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยม (Best Actor)
ได้แก่ คิลเลียน เมอร์ฟีย์ จาก Oppenheimer
-
รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress)
ได้แก่ เอ็มมา สโตน จาก Poor Things
-
รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (Best Supporting Actor)
ได้แก่ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ จากภาพยนตร์เรื่อง Oppenheimer
-
รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Supporting Actress)
ได้แก่ เดไวน์ จอย แรนดอล์ฟ จาก The Holdovers
-
รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture)
ได้แก่ Oppenheimer
-
รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Director)
ได้แก่ คริสโตเฟอร์ โนแลน จาก Oppenheimer
-
รางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Screenplay)
ได้แก่ Anatomy of a Fall โดย จัสตีน ตรีเย
-
รางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adapted Screenplay)
ได้แก่ American Fiction โดย คอร์ด เจฟเฟอร์สัน
-
รางวัลตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Film Editing)
ได้แก่ Oppenheimer
-
รางวัลออกแบบเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound)
ได้แก่ The Zone of Interest : Tarn willers and johnnie burn
-
รางวัลภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม (Best Animated Feature)
ได้แก่ The Boy and the Heron
-
รางวัลภาพยนตร์แอนิเมชั่นขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Animated Short)
ได้แก่ War Is Over! Inspired by the Music of John & Yoko
-
รางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Feature)
ได้แก่ 20 Days in Mariupol
-
รางวัลภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Documentary Short)
ได้แก่ The Last Repair Shop
-
รางวัลภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best International Feature)
ได้แก่ The Zone of Interest (สหราชอาณาจักร)
-
รางวัลการออกแบบโปรดักชั่นยอดเยี่ยม (Best Production Design)
ได้แก่ Poor Things
-
รางวัลการถ่ายภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography)
ได้แก่ Oppenheimer
-
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume Design)
ได้แก่ Poor Things
-
รางวัลการแต่งหน้า-ออกแบบทรงผมยอดเยี่ยม (Best Makeup and Hairstyling)
ได้แก่ Poor Things
-
รางวัลเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม (Best Visual Effects)
ได้แก่ Godzilla Minus One
-
รางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Song)
ได้แก่ เพลง “What Was I Made For?” จาก Barbie
-
รางวัลเพลงบรรเลงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Score)
ได้แก่ Oppenheimer
อ้างอิง