Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สถิติคนไทยฆ่าตัวตายสูงสุดในรอบ 5 ปี  ปัญหาสุขภาพจิตคนไทยยังน่าห่วง 
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

สถิติคนไทยฆ่าตัวตายสูงสุดในรอบ 5 ปี  ปัญหาสุขภาพจิตคนไทยยังน่าห่วง 

5 ธ.ค. 66
08:00 น.
|
2.7K
แชร์

ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยในในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 นี้แม้จะจำนวนภาพรวมที่ลดลงจากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่สถิติการฆ่าตัวตายของคนไทย ตั้งแต่ช่วงโควิด ในปี 2563 - 2565 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 ปีโดยเฉพาะการฆ่าตัวตายในกลุ่มนักศึกษาและวัยทำงาน

ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือ สภาพัฒน์ฯ รายงานภาวะสังคมไทย ในไตรมาส 3 ปีนี้ พบว่า สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของคนไทยดีขึ้น จากข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตของคนไทย (Mental Health Check In : MHCI) พบว่า  ผู้มีปัญหาความเครียด เสี่ยงซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย และมีภาวะ หมดไฟ มีสัดส่วนร้อยละ 21.48 จากผู้เข้ารับการประเมิน 1.9 แสนคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีสัดส่วน ร้อยละ 27.92 

โดยมีจำนวนผู้มีปัญหาสุขภาพจิตนี้พบว่า ผู้ที่ปัญหาเสี่ยงซึมเศร้ามีจำนวนสูงสุด รองลงมามีความเครียดสูง เสี่ยงฆ่าตัวตาย และมีภาวะหมดไฟในการทำงานและการใช้ชีวิต 

แม้จำนวนผู้มีปัญหาสุขภาพจิตที่มาทำแบบประเมินผ่าน  MHCI จะลดลงไปแต่ข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคจิตเวชที่มารับบริการต่อวันในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิตในปี 2563 – 2565 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วย ด้วยโรคซึมเศร้าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565)  พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 359,737 คน จาก 353,267 คน ในปี 2564 

ที่น่าเป็นป่วงคือ อัตราการฆ่าตัวตายในปี 2565 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 7.97 รายต่อประชากรแสนคน ซึ่งถือว่ามีอัตราเพิ่มสูงที่สุด ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2560 – 2565) 

สถิติการฆ่าตัวตายของคนไทยสูงขึ้น

ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ทำให้ผู้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบ บ้างตกงาน บ้างเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว  จึงทำให้ในปี  2541 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยขึ้นไปแตะ 8 คนต่อประชากร1 แสนคน และขึ้นไปสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 8.59 คนต่อประชากร 1 แสนคน  ส่วนในปี 2543 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยก็ลดลงเพียงเล็กน้อย อยู่ที่ 8.40 คนต่อประชากร 1 แสนคน 

จาก ปี 2543 เป็นต้นมา อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยมีค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณ 5-6 คนต่อประชากร  1แสน จนกระทั่งโควิด 19 มาเยือน พบว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายของคนไทยเริ่มกลับมาอยู่ในระดับสูงกว่า 7 คนต่อ ประชากร 1 แสนคน 

ทั้งนี้กลุ่มอายุที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 20 – 49 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาและวัยทำงาน ข้อมูลจากสภาพัฒน์ฯ ระบุว่า สาเหตุการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัว รองลงมาเป็นปัญหาภาวะป่วยกายหรือใจเรื้อรัง และภาวะเครียดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ 

ดังนั้น ครอบครัวและคนใกล้ชิดต้องเข้ามามีบทบาทในการมาสอดส่องดูแลสมาชิกในครอบครัวของตน และนำเข้าสู่กระบวนการรักษา โดยเบื้องต้นสามารถทดสอบตรวจสอบสุขภาพจิตได้จากช่องทางเว็บไซต์  MENTAL HEALTH GHECK-IN ของกรมสุขภาพจิต  

แชร์
สถิติคนไทยฆ่าตัวตายสูงสุดในรอบ 5 ปี  ปัญหาสุขภาพจิตคนไทยยังน่าห่วง