SPOTLIGHT รวบรวม ตัวอย่างกฎหมายอากาศสะอาดจาก 4 ภูมิภาคหลักของโลก ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมคุณภาพอากาศ เพื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายอากาศสะอาดของประเทศไทยที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาวาระ 2 และ 3 ต่อไป
ต้องยอมรับว่ามลพิษทางอากาศและ PM 2.5 ถือเป็นอีกฤดูกาลหนึ่งของประเทศไทยไปเสียแล้ว เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก สำหรับกรุงเทพฯ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าเพียง 1 เดือน PM 2.5 ได้ก่อให้เกิดมูลความเสียหายกว่า 3,000 ล้านบาท นี่จึงทำให้แนวทางการแก้ปัญหาเรื่องอากาศต้องมีการกำหนดออกมาเป็นกฏหมาย
ทั้งนี้ในหลายประเทศมีการจัดทำ พระราชบัญญัติอากาศสะอาด (Clean Air Act) หรือกฎหมายที่คล้ายกันเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรม ยานพาหนะ และแหล่งกำเนิดอื่น ๆ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบจากการใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งกฏหมายอากาศสะอาดของแต่ละประเทศมีกลไกการดำเนินงานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และบริบททางสังคม
SPOTLIGHT รวบรวม ตัวอย่างกฎหมายอากาศสะอาดจาก 4 ภูมิภาคหลักของโลก ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมคุณภาพอากาศ เพื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายอากาศสะอาดของประเทศไทยที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาวาระ 2 และ 3 ต่อไป
พระราชบัญญัติอากาศสะอาดของสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก มีการแก้ไขหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ที่น่าเป็นห่วงคือ การชนะการเลือกตั้งของ โดนัลด์ ทรัมป์ ในปี 2024 มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อ พระราชบัญญัติอากาศสะอาด (Clean Air Act) ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งปธน.สหรัฐอย่างเป็นทางการ ลุยพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล ถอนสหรัฐฯ ออกจากความตกลงปารีส อีกด้วย
สหภาพยุโรป (EU) มีนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ เพื่อปกป้องสุขภาพประชาชนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จีนเป็นประเทศที่เผชิญปัญหามลพิษทางอากาศรุนแรงจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ดำเนินมาตรการที่เข้มงวดเพื่อแก้ไขปัญหานี้
แม้คุณภาพอากาศในเมืองใหญ่จะดีขึ้น แต่ พื้นที่ชนบทและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ยังมีปัญหามลพิษที่ต้องได้รับการจัดการต่อไป
อินเดียเผชิญปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 และ PM10 อย่างหนัก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น นิวเดลี
แม้ว่าหลายประเทศจะออกกฎหมายอากาศสะอาดและมีมาตรการลดมลพิษที่เข้มงวด แต่ยังคงเผชิญกับความท้าทาย เช่น การบังคับใช้กฎหมาย ที่อาจไม่ทั่วถึง ค่าใช้จ่ายสูง สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด การประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน
อย่างไรก็ตาม การพัฒนากฎหมายอากาศสะอาดถือเป็นก้าวสำคัญสู่ "อากาศสะอาดเพื่อทุกคน"
แล้ว พ.ร.บ. อากาศสะอาดของประเทศไทย ไปถึงไหน?
สำหรับความคืบหน้าของ พ.ร.บ.อากาศสะอาดของไทย ณ วันที่ 31 มกราคม 2568 ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... ของประเทศไทยมีความคืบหน้าดังนี้:
มกราคม 2567 สภาผู้แทนราษฎรได้รับร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด จำนวน 7 ฉบับ จากคณะรัฐมนตรี พรรคการเมือง และภาคประชาชน เพื่อพิจารณา
17 มกราคม 2567 สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 7 ฉบับในวาระที่ 1 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณารวมร่างกฎหมายเหล่านี้เป็นร่างเดียว
มกราคม - ตุลาคม 2567 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ประชุมทั้งหมด 114 ครั้ง เพื่อแปรญัตติและปรับปรุงเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.
30 ตุลาคม 2567 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ แถลงความคืบหน้าว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. คืบหน้าไปประมาณ 85% และเตรียมเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสภาผู้แทนราษฎรในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2567
24 มกราคม 2568 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เปิดเผยว่าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ใกล้เสร็จสมบูรณ์ และคาดว่าจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ. เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 และ 3 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
หากร่าง พ.ร.บ. นี้ได้รับการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2568
สารสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …
มีเป้าหมายสำคัญในการ กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิในการหายใจเอาอากาศสะอาด กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการควบคุมและจัดการแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ประชาชนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศ กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ ส่งเสริมพลังงานสะอาด สร้างกลไกบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพและเศรษฐกิจอีกด้วย