จากงาน SX รวมพลังความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำด้านความยั่งยืนของไทยและระดับนานาชาติ สำหรับเวทีเสวนารวม เรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรม ออกแบบแฟชั่นเพื่อผลักดัน SOFT POWER ไทยสู่สากล ที่มุ่งเน้นไปที่การนำเสนอเอกลักษณ์และเสน่ห์ของไทยในรูปแบบที่ทันสมัยและเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น โดยในปีนี้ได้ เชิญเหล่าวิทยาการด้านการออกแบบแฟชั่นมาอาทิ
คุณภัทรนิดา เฉลียวปัญญา ตัวแทนจากทีม Overtone ในโครงการ Youth Power ขับเคลื่อน Soft Power ปีที่ 2 ของ Youth In Charge, คุณจิรัชญา ชัยยาศักดิ์ เจ้าของแบรนด์ "JIIRA" เครื่องประดับจากเครื่องเงินกะเหรี่ยงและไข่มุกน้ำจืด,คุณอภิญานันท์ จงภักดี Drag Queen และเจ้าของทอไหมสตูดิโอ,คุณประอรนุช ประนุช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ และ คุณเอริกา เมษินทรีย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิน เดอะ ลีด (วิสาหกิจเพื่อชุมชน) จำกัด ผู้ร่วมก่อตั้งแลตฟอร์ม Youth in Charge ที่จะมาบอกเล่าและให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมให้แฟชั่นไทยเป็น soft power ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ในมุมมอง อภิญานันท์ จงภักดี (ทอไหม) แฟชั่นไทยมีเอกลักษณ์และโดดเด่นไม่เหมือนใคร มีความเป็นแฟนตาซีเยอะ สามารถผสมผสานความงามของวัฒนธรรมไทยเข้ากับเทรนด์แฟชั่นสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้คนไทยยังสามารถ นำเสนอ ความไม่สมบูรณ์ ให้สวยงามได้ สิ่งนี้ทำให้แฟชั่นไทยสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้คนทั่วโลกได้อย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยดูทันสมัยและน่าดึงดูดยิ่งขึ้น นอกจากนี้เสน่ห์ของความเป็นไทยก็สามรถต่อยอดไปสู่สากลได้ เพราะ ในสายตาของ ทอไหม คิดว่า เสน่ห์ของความเป็นไทยมีหลากหลายโดยเฉพาะ ผ้าไหมไทยเป็นผ้าที่ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามและคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีหลากหลายชนิดไม่จะเป็นสิ่งของอื่นๆก็สามารถต่อยอดได้ไม่รู้จบ เพราะการผสมผสานความงามของวัฒนธรรมไทยเข้ากับเทรนด์แฟชั่นสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว เพื่อสร้างผลงานที่ทันสมัยและน่าดึงดูด เพื่อให้เป็นจุดสนใจของสายตาชาวโลกนั้นเอง
คุณจิรัชญา ชัยยาศักดิ์ (หญิง) เจ้าของแบรนด์ "JIIRA" ได้ให้ความเห็นว่า วัตถุดิบไทยมีคุณภาพไม่เเพ้ชาติใดในโลก อย่าง เครื่องเงินกระเหรี่ยงและไข่มุกน้ำจืด ที่สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สำหรับเครื่องเงินกระเหรี่ยงเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานในชนเผ่ากระเหรี่ยง เป็นเครื่องเงินที่มีลวดลายและเทคนิคการทำแบบดั้งเดิมที่สวยงามและโดดเด่น ไข่มุกน้ำจืดเป็นอัญมณีที่มีคุณค่าทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของประเทศไทย ไข่มุกน้ำจืดที่นำมาใช้ในการทำเครื่องประดับ สามารถเล่นแสงให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น
จิรัชญาเชื่อว่าวัสดุพื้นบ้านเหล่านี้เป็นตัวแทนของเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นและสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของไทย นอกจากนี้ จิระยังมองว่าเครื่องเงินกระเหรี่ยงและไข่มุกน้ำจืดเป็นวัสดุที่มีความสวยงามและทันสมัย ต่อยอดให้มีความทันสมัยโดนใจทั้งคนยุคเก่าและใหม่ ถูกใจชาวต่างชาติ จึงผสมผสานวัสดุเหล่านี้เข้ากับเทรนด์แฟชั่นสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว
คุณภัทรนิดา เฉลียวปัญญา เชื่อว่าความเป็นไทยสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยได้อย่างลงตัว และสามารถผสมผสานเครื่องประดับที่มีลวดลายและความหมายที่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ทุกวัน โดยเธอเล่าต่อว่า สำหรับโครงการ "ออริสไทย" เป็นโครงการที่ได้ร่วมทำกับเพื่อนๆ โดยนำเอาวัฒนธรรมไทยมาออกแบบเป็นเครื่องประดับสมัยใหม่ที่สามารถสวมใส่ได้ทุกวัน โครงการนี้เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่อยากเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น เราเริ่มต้นจากการศึกษาวัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆ ทั้งดนตรีไทย ศิลปะไทย และภูมิปัญญาไทย จากนั้นจึงนำเอาองค์ประกอบเหล่านี้มาสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับที่มีความเป็นไทยและมีความโมเดิร์นอยู่ในตัว
เช่น เครื่องประดับคอลเลคชั่น "ดนตรีไทย" ที่นำเอาเครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาด ฆ้อง และซอ มาออกแบบเป็นต่างหู สร้อยคอ และกำไล เครื่องประดับคอลเลคชั่น "ศิลปะไทย" ที่นำเอาลายไทยมาออกแบบเป็นต่างหู สร้อยคอ และแหวน และเครื่องประดับคอลเลคชั่น "ภูมิปัญญาไทย" ที่นำเอาวัสดุจากภูมิปัญญาไทย เช่น ผ้าไหม ผ้าทอ และไม้สัก มาออกแบบเป็นต่างหู สร้อยคอ และกำไล
คุณประอรนุช ประนุช (ผ.อ. ป๊อป) ได้แสดงความเห็นว่า จากประสบการณ์กว่า 20 ปีทำให้เราได้ช่วยน้องๆ ดีไซน์เนอร์ไทยเป็นจำนวนมากจากโครงการ Designers' Room Talent Thai เป็นโครงการที่ส่งเสริมนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพให้มีโอกาสนำเสนอผลงานสู่เวทีระดับโลก โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 1,000 คน และผลงานของนักออกแบบไทยได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าและนิทรรศการต่างๆ ทั่วโลก
ด้านโครงการ DEmark เป็นโครงการที่คัดเลือกสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยสินค้าที่ได้รับรางวัล DEmark ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
ส่วนโครงการ Creative Design for Export เป็นโครงการที่ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้นำแนวคิดการออกแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มมาประยุกต์ใช้กับสินค้าและบริการเพื่อการค้า โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยผู้ประกอบการไทยได้รับความรู้และคำแนะนำด้านการออกแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า นำไปสู่การปรับปรุงสินค้าและบริการให้มีการออกแบบที่ดี มีคุณภาพ และแข่งขันได้ในตลาดโลก
เพื่อส่งเสริมให้แฟชั่นไทยเป็น soft power ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รัฐบาลควรสนับสนุนให้ดีไซเนอร์ไทยรุ่นใหม่สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและมีความโดดเด่น และต้องสร้างโอกาสให้พวกเขาได้แสดงฝีมือและเผยแพร่ผลงานออกสู่สายตาชาวโลก นอกจากนี้ ภาครัฐควรส่งเสริมให้เยาวชนไทยหันมาสนใจแฟชั่นและศิลปะมากขึ้น และช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้ดูทันสมัยและน่าดึงดูดยิ่งขึ้น ควรสนับสนุนให้ดีไซเนอร์ไทยรุ่นใหม่สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและมีความโดดเด่น ส่งเสริมให้เยาวชนไทยหันมาสนใจแฟชั่นและศิลปะมากขึ้น เพื่อให้แฟชั่นไทยสามารถเป็น soft power ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น