อุตหกรรมการท่องเที่ยว ถือได้ว่าเป็นหนึ่งอุตสหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด โดยนับตั้งแต่ก้าวขาออกจากบ้านนั่งรถยนต์ไปที่สนามบิน นั่งเครื่องบินไปท่องเที่ยว และหากเรายิ่งทำกิจกรรมระหว่างทริปเยอะ เราก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มภาวะโลกร้อนมากขึ้นเท่านั้น
ภาวะโลกร้อน กลายเป็นปัญหาระดับนานชาติ ที่หลายประเทศ และองค์กรต่างๆพยายามช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่นเดียวกันกับด้านการท่องเที่ยว ที่เรามักได้ยิน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon หรือการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
SPOTLIGHT ได้รวบรวมสาระสำคัญจากการเสวนาภายใต้เรื่อง “เที่ยววิถี Low Carbon ก็ชิลได้ เที่ยวสนุก...โลกยั่งยืน” ของคุณอคิร วงษ์เซ็ง ‘ว่านไฉ’ เจ้าของรายการท่องเที่ยว ’อาสาพาไปหลง’ จากงาน SUSTAINABILITY EXPO SX 2023 ที่จะทำให้ทุกคนรู้ว่า เราสามารถสนุกไปกับการท่องเที่ยวโดยที่ยังรักษ์โลกได้จริง
คุณว่านไฉ เล่าว่า ตนทำรายการท่องเที่ยว ‘อาสาพาไปหลง’ เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว โดยเริ่มจากการเจาะกลุ่มการท่องเที่ยวต่างประเทศในแนวเน้นความสะดวกสบาย ‘ถูกและดี’ หลังจากนั้นพยายามนำเสนอการท่องเที่ยวเบบ GO GREEN เที่ยวแบบ Low Carbon เที่ยวแบบดีต่อสิ่งแวดล้อม ในช่วงเข้าสู่ปีที่ 3 ของการทำรายการ
ความนิยมของ เพจ ‘อาสาพาไปหลง’ คุณว่านไฉ นิยามตัวเองว่า เป็นสื่อออนไลน์การท่องเที่ยว ไปแล้ว เพราะปัจจุบันมีผู้ติดตามในเฟชบุ๊คกว่า 2.3 ล้านคน และในแพลตฟอร์มยูทูปกว่า 7 แสนคน แผนในอนาคตอยากผลักดันให้’อาสาพาไปหลง’เป็นเหมือนตัวกลางนำเสนอการท่องเที่ยวมิติใหม่ เที่ยวแบบ Low Carbon ที่ยังสามารถสร้างความสนุกได้
การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon ต้องมีการสนับสนุนจากหลากหลายฝ่าย ทั้งรัฐบาล ประชาชน และนักท่องเที่ยว ที่สำคัญคือต้องเข้าไปในจิตสำนึกของประชาชน เปรียบเสมือน DNA ที่ทุกคนปฏิบัติแบบปกติ
คุณว่านไฉ ได้เล่าว่า ตนมีโอกาสได้ไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นอยู่หลายครั้ง แต่จังหวัดที่ตนประทับใจมากที่สุด นั้นก็คือ โอกินาวะ
คุณว่านไฉ ได้เล่าว่า ตนมีโอกาสได้ไปเที่ยวเกาะพระทองมา การใช้ชีวิตอยู่บนเกาะเหมือนได้ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติจริงๆ เพราะบนเกาะยังไม่ค่อยมีไฟฟ้า ชาวบ้านต้องใช้โซลาเซลล์ นอกจากนี้ยังมีการเข้มงวดเรื่องการทิ้งขยะบนเกาะ และมีการรณรงค์ไม่ใช่พลาสติก
เกาะพระทอง ได้รับการคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้เป็น “Unseen Thailand” ในปี พ.ศ. 2546
เกิดจากโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของภาครัฐที่ส่งเสริมให้แต่ละชุมชน OTOP เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ตามต้องการ
โดยมีการขายสินค้าที่มีอยู่ในชุมชน พร้อมใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ นำมาพัฒนาต่อยอดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้มาทำกิจกรรมและจับจ่ายซื้อของจากชุมชน โดยรายได้ก็จะกระจายสู่ชุมชน สร้างความสุขและความเข้มแข็งให้กับชุมชน
บ้านไร่ไออรุณ ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จในฐานะการท่องเที่ยวเมืองรอง ที่สามารถดึงดูนักท่องเที่ยวได้ โดยบ้านไร่อรุณฟาร์มสเตย์มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติทั้งหมด และสร้างกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน