บทความนี้ ทีม SPOTLIGHT ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณโกวิทย์ ผดุงเรืองกิจ บรรณาธิการบริหาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย และ 3 ผู้ชนะแห่งการประกวดรางวัลภายถ่ายสารคดี 10 ภาพเล่าเรื่อง 2024 “Follow the River” กับมุมมอง เล่าเรื่องความยั่งยืน ผ่านเลนซ์กล้อง
คุณโกวิทย์ ผดุงเรืองกิจ บรรณาธิการบริหาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย ได้เล่าว่า ความเป็น National Geographic มันคือนิตยสารที่ขับเคลื่อนด้วยภาพถ่าย ช่างภาพของเรา ไม่ใช่แค่ช่างภาพ แต่เค้าคือนักเล่าเรื่อง story telling ถ้าพูดให้ตรงเลยคือ visual story tellers เป็นคนเล่าเรื่องโดยภาพ และนี่คือจุดแข็งของ National Geographic มาตลอด
คุณโกวิทย์มองว่า “ภาพถ่าย คือ การบันทึกความเป็นจริง ในแต่ละวันไม่เหมือนกัน อนาคตเราไม่มีทางรู้เลยว่า สิ่งนั้นจะยังอยู่หรือเปล่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เราไม่สามารถรู้เลยว่าวิถีชีวิต ชาวประมงในแม่น้ำโขงต่อไปจะเป็นอย่างไร นี่แหละ คือ บทบาทที่ช่างภาพ จึงต้องบันทึกสิ่งเหล่านี้ไว้”
สำหรับเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย นิตยสารและสื่อออนไลน์ที่บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จากัด(มหาชน) ได้ลิขสิทธิ์จาก National Geographic Society ประกาศผลรางวัลการจัดประกวดภาพถ่ายสารคดี 10 ภาพเล่าเรื่อง 2024 Photography Contest 2024 Season 9
ในการแข่งขันในครั้งนี้ มาในโจทย์ “Follow the River” สะท้อนภาพของแม่น้ำแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปรียบดั่งเส้นเลือดของแผ่นดินที่เชื่อมสายน้าย่อยสู่ทะเล เป็นระบบนิเวศสาคัญที่เราอาจรู้เรื่องราวน้อยกว่าที่คิด ผ่านมุมมองของช่างภาพที่มีคุณสมบัติความเป็นสารคดี
คุณโกวิทย์ เล่าว่า “ ทุกคนรู้ความสำคัญของแม่น้ำ แม่น้ำ คือ ชีวิต ถ้าไม่มีน้ำก็ไม่มีชีวิต แล้วในแง่ของการเล่าเรื่อง แม่น้ำมันกว้างพอ พอให้เรานึกถึงประเด็นในการเล่าเรื่องได้ง่าย วิถีชีวิตบางอันในอนาคตมันอาจจะไม่อยู่แล้ว ถ้าเค้าไม่บันทึกไว้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตอนนี้มันคุกคามมากๆ เราไม่รู้เลยว่าวิถีชีวิต ชาวประมง ในแม่น้ำโขงต่อไปจะเป็นอย่างไร นี่แหละคือ บทบาทที่ช่างภาพ จำเป็นต้องทำ ต้องบันทึกสิ่งเหล่านี้ไว้ เพราะฉะนั้น แม่น้ำ คือ ชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ เศรษฐกิจ สังคมของสังคมไทย”
คุณพิมพ์ลภัส ได้เล่าว่า “พอได้โจทย์ Follow the River มา เราก็กลับมาคิดว่าอาชีพไหนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสายน้ำ แล้วก็มาพบว่ามีอาชีพนักประดาน้ำหาสมบัติอยู่ ซึ่งอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีมาตั้งแต่โบราณ เลยอยากเล่าเรื่องอาชีพนี้ผ่านภาพถ่าย ส่วนแรงบันดาลใจ ในการถ่ายภาพเซ็ทนี้ คือ ความกลัว กลัวว่าอาชีพนี้จะหายไปเพราะสภาพปัจจุบัน แม่น้ำมันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว รายได้เริ่มไม่คุ้มกับความเสี่ยง จนในที่สุด อาชีพนี้อาจจะหายไป เพราะความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม สภาพแม่น้ำ เราอยากจะเป็นจุดประกายเล็กๆ ทำอย่างไรเราถึงสามารถรักษาสภาพแม่น้ำ ลำคลอง ให้สะอาดปลอดภัย และคนที่ประกอบอาชีพใช้ชีวิตอยู่ตามแม่น้ำลำคลองยังอยู่ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเขามากหนัก”
คุณพิมพ์ลภัส เล่าว่า โจทย์หลักของ การเล่าเรื่องโดยภาพ คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้รูปภาพของเรา impact คนเข้าใจเรื่องราวได้ โดยไม่มีตัวหนังสือเลย สำหรับช่างถ่ายภาพอิสระ เราไม่ได้ถ่ายภาพ เพื่อความสวยงามอย่างเดียว เราต้องการใช้ภาพถ่ายของเราให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสังคม ต่อชุมชน ใช้ภาพถ่ายเป็นเครื่องมือถ่ายทอด บันทึกเหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้น เพราะท้ายที่สุด เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นความยั่งยืน หมายถึง การที่เราปรับตัวให้อยู่กับความเปลี่ยนแปลงได้ อยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข
คุณกฤตนันท์ ได้เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการเล่าเรื่อง The Mekong an Edible Civilization เริ่มต้นจากความชื่นชอบ กินอาหารอร่อย และชอบไปเสาะแสวงหาของอร่อยในหลากหลายพื้นที่ และแน่นอนว่า แม่น้ำ = อาหาร
แม่น้ำโขง เป็นแหล่งน้ำที่มีความหลากหลายของอาหาร เป็นแหล่งรวมของปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทำให้เป็นระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง แต่ปัจจุบัน ความหลากหลายลดลง เนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
คุณกฤตนันท์ มองว่า ภาพถ่าย มันสามารถสะท้อนได้ว่า พื้นที่เหล่านั้น มันเคยมึความอุดมสมบูรณ์ขนาดไหน เราอยากที่จะรักษามันเอาไว้ไหม เพื่อให้มันยังคงมีภาพเหล่านี้อยู่ ผมคิดว่า ถ้าเกิดภาพมันสวย แล้วคนรู้สึกว่าพื้นที่ตรวนั้นมันสวยงาม น่าอนุรักษ์ คนเราจะอนุรักษ์มันเอง
ภาพถ่ายมีพลังในการเข้าถึงผู้คนได้ง่าย อย่างปกติแล้วมนุษย์เรา เสพคอนเทนต์ในโลกออนไลน์อย่าง Facebook Instagram เราก็ดูผ่านภาพก่อน แล้วถ้าภาพมัน Impact มันก็จะทำให้เรารู้สึกเริ่มสนใจเรื่องราวเหล่านั้นขึ้นมา
คุณปิติวัฒน์ ได้เล่าว่า แรงบันดาลใจของรูปภาพ ชาวจีนข้ามทะเล Overseas Chinese เกิดขึ้นจากประสบการณ์โดยตรงของครอบครัวตัวเอง เนื่องจากอากงของตน ได้นั่งเรือมาจากจีน เมื่อ 80 ปีที่แล้ว ก็ทำความสงสัย และความสนใจอยากเข้าใจถึงที่มา ว่าคนจีนสมัยก่อนเดินทางมายังประเทศไทยได้อย่างไร
คุณปิติวัฒน์ มองว่า ภาพถ่าย สะท้อนให้เราถึงความยั่งยืนของชุมชน เพราะชุมชนจะไปต่อได้มันต้องมีคน
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน จากการลงพื้นที่ไปเก็บภาพ คือ ความหลากหลายทางเชื้อชาติ “การที่ผมลงไปในพื้นที่ผมได้เจอแต่คนจีน คนไทย ผมยังเจอคนชาติอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบัน คนหลากหลายเชื้อชาติ ก็สามารถอยู่ได้กัน เรียกได้ว่าเหมือน Multicultural (พหุวรรณธรรม) ที่คนอาศัยอยู่ร่วมกัน ใช้พื้นที่ แชร์พื้นที่ร่วมกัน วัฒนธรรมเองก็มีการคาบเกี่ยว แลกเปลี่ยนกันระหว่างกัน และมองว่าที่คือความสนใจของประเทศไทยเรา”