Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ตลาดคาร์บอนไทย 9 เดือน พุ่ง 17% TGO - KBank คาดโตต่อเนื่อง หนุนให้ความรู้ - เงินทุน
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ตลาดคาร์บอนไทย 9 เดือน พุ่ง 17% TGO - KBank คาดโตต่อเนื่อง หนุนให้ความรู้ - เงินทุน

23 ก.ค. 67
17:21 น.
|
636
แชร์

Highlight

ไฮไลต์

  • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำงานวิจัย The 2024 Thailand’s Voluntary Carbon Market
  • ผลการวิจัยพบว่าผู้เล่นหน้าใหม่ต้องการความรู้เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต และการพัฒนามาตรฐานคาร์บอนเครดิตให้เทียบเท่าระดับสากล ด้านกลุ่ม SMEs ต้องการทั้งความรู้และเงินทุน

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย อัปเดตสถานการณ์ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของไทย พร้อมแนวโน้มตลาดในอนาคต ผ่านงานวิจัย “The 2024 Thailand’s Voluntary Carbon Market”

ผลวิจัยเผยให้เห็นว่า ผู้เล่นหน้าใหม่ต้องการความรู้เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต และการพัฒนามาตรฐานคาร์บอนเครดิตให้เทียบเท่าระดับสากล ส่วนกลุ่ม SMEs ต้องการทั้งความรู้และเงินทุน ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยที่ได้จะนำไปประกอบการพิจารณา เสนอแนะนโยบายส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของประเทศไทยต่อไป

ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก รักษาการผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER เริ่มต้นขึ้นในปี 2557 และจนถึงปัจจุบัน มีการขึ้นทะเบียนโครงการจำนวนรวมทั้งสิ้น 438 โครงการ แบ่งเป็น Standard T-VER จำนวน 434 โครงการ และแบบ Premium T-VER จำนวน 4 โครงการ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีโครงการที่ได้รับรองคาร์บอนเครดิต จำนวน 169 โครงการ ซึ่งล้วนเป็นแบบ Standard T-VER ส่งผลทำให้มีปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองแล้ว 19.53 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (MtCO2eq)

ในส่วนของการซื้อขายคาร์บอนเครดิต TVERs เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2567) มีปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเกิดขึ้นในตลาดแรกและตลาดรอง จำนวนกว่า 3.42 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (MtCO2eq) คิดเป็นมูลค่าซื้อขายรวมกว่า 299 ล้านบาท ทำให้มูลค่าตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของไทยในระยะ 9 เดือนของปีงบประมาณ 2567 เติบโตขึ้นกว่า 17% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า รวมถึงโอกาสที่ตลาดจะขยายตัวจากแรงกระตุ้นของร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... ที่จะปรับใช้ในอนาคตอีกด้วย

ทางด้าน นายพิพิธ เอนกนิธิ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในประเทศไทยปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.77% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยทั้งหมด โดยอุปสรรคสำคัญหนึ่งคือ “ต้นทุน” ในการดำเนินการ เช่น ต้นทุนค่าประเมินและรับรองคาร์บอนเครดิต ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มผู้พัฒนาโครงการรายเล็กที่ขาดแคลนเงินทุน

1245292_0
ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก รักษาการผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (ซ้าย) นายพิพิธ เอนกนิธิ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย (ขวา)

ผลการสำรวจสถานการณ์ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของไทยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ เผยให้เห็นว่า คาร์บอนเครดิตที่มีการซื้อขายนั้นมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการลดก๊าซเรือนกระจก โดยผู้พัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิตมีแผนจะนำคาร์บอนเครดิตประเภทพลังงานทดแทนออกขายในตลาด ขณะเดียวกันคาร์บอนเครดิตประเภทป่าไม้ที่มีราคาสูงจะมีออกขายในตลาดน้อย เนื่องจากผู้พัฒนามีแนวโน้มจะนำเครดิตไปใช้สำหรับชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองมากกว่า และในมิติด้านราคาพบว่า ผู้พัฒนาโครงการหรือผู้ขายคาร์บอนเครดิตยินดีที่จะขายมีแนวโน้มสูงกว่าราคาที่ผู้ซื้อยินดีที่จะซื้อในทุกกลุ่มประเภทโครงการ

สำหรับด้านมาตรการสนับสนุนนั้น พบว่าควรมุ่งเน้นไปที่ 2 ส่วน ได้แก่ การสนับสนุนผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาด ซึ่งต้องการความรู้เกี่ยวกับแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาโครงการ การขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิต และกระบวนการซื้อขาย และส่วนที่ 2 คือการพัฒนามาตรฐานคาร์บอนเครดิตในประเทศให้เทียบเท่า และได้รับการยอมรับในระดับสากล

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดที่เป็นกลุ่ม SMEs ยังต้องการให้มีนโยบายสนับสนุนด้านความรู้และความช่วยเหลือทางการเงิน รวมถึงการสร้างแรงจูงใจ โดยการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขอรับรองคาร์บอนเครดิตสำหรับผู้พัฒนาโครงการ และมีกลไกอุดหนุนราคาคาร์บอนเครดิตเพื่อให้ธุรกิจ SMEs เข้าร่วมในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจมากขึ้น

แชร์
ตลาดคาร์บอนไทย 9 เดือน พุ่ง 17% TGO - KBank คาดโตต่อเนื่อง หนุนให้ความรู้ - เงินทุน