ความยั่งยืน

เจาะ 3 มุมมอง สูตรลับพลิกวิกฤต สู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน

6 ต.ค. 67
เจาะ 3 มุมมอง สูตรลับพลิกวิกฤต สู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน

 

amol9134

บทความนี้ SPOTLIGHT ได้สรุปสาระสำคัญจากการเสวนา Economic Sustainability เปิดสูตรลับพลิกวิกฤต สู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน โดยคุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ประกาศข่าว และ พิธีกร และ คุณพีรพล เหมศิริรัตน์ Co-Founder of Environman จากงาน Sustainability Expo 2024

กลุ่มเปราะบาง คือ กลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบ

คุณวราวุธ มองว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทุกวันนี้ ทำให้เราคนมีความมั่งคั่งน้อยลง ในฐานะที่ตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีภารกิจดูแลกลุ่มเปราะบาง คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส

ตัวอย่างเช่น เวลาเกิดปัญหาน้ำท่วม คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่โดนก่อน ต่างจากคนกลุ่มบน ซึ่งเวลาเกิดปัญหาหากอากาศร้อน คนกลุ่มบนสามารถเปิดแอร์ได้ตลอดเวลา เช่น เมื่ออากาศร้อนก็จะสามารถเปิดแอร์ได้ ฉะนั้นการเข้าไปสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชน ให้หันมาใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม อย่างเช่นกรณีน้ำท่วมในภาคเหนือของประเทศไทย

amol9119

ทุกคนล้วนมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงโลก

ดร.วิทย์ มองว่า หากพูดถึงเรื่องความยั่งยืน สมัยก่อนตนไม่เคยสนใจ ไม่เคยเชื่อถึงภาวะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อปืที่ผ่านมาช่วงเดือนเม.ย. อากาศร้อนร้อนจัด ตอนนี้ภาคเหนือของประเทศไทยก็เจอน้ำท่วมหนัก ทำให้เราอาจต้องมาตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา

ดร.วิทย์ ได้กล่าวเสริมว่า นิสัยของคนไทย คือ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นมักจะโทษคนอื่น โทษรัฐ แต่อยากให้มองกลับมาที่ตนเองว่าพฤติกรรมเราเป็นอย่างไร เช่น

  • คนไทยเจ้าแฟชั่น ทุกวันนี้เรามีเสื้อผ้า รองเท้าเยอะมากแค่ไหนในตู้ ได้ใช้หมดหรือยัง ?
  • คนไทยติดนิสัย “กินอะไร สั่งไปก่อน” ทุกวันนี้สั่งอาหารกิน กินหมดหรือเปล่า เคยคิดว่าหากเรากินไม่หมดเป็น food waste ไหม
  • เปิดไฟเปิดทีวีทิ้งไว้ตอนกลางคืน เพราะเรากลัวผี
  • ทุกวันนี้เคยแยกขยะไหม

amol9237_1

GDP อาจเป็นดัชนีวัดความสำเร็จของเศรษฐกิจ แล้วสิ่งแวดล้อมต้องใช้ตัวชี้วัดอะไร ?

คุณพีรพล มองว่า ขณะนี้ เรื่องของ climate change กับ ความยั่งยืน ความเชื่อมโยงอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะคนที่ทำอาจจะไม่ได้รับผลกระทบเท่าคนที่ไม่ได้ทำ แต่ของเรื่องวิทยาศาสตร์ Climate Change มันเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายให้คนเข้าใจ และคุณพีรพล ได้ตั้งคำถามว่า GDP อาจวัดความสำเร็จของเศรษฐกิจประเทศนั้นๆ แต่ในเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องใช้ดัชนี้อะไร ?

amol9281

ประเทศไทย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ถึง 1% ของโลก แต่เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบ TOP 10

นายวราวุธ เล่าว่า ประเทศไทยเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ถึง 1% ของโลก แต่เวลาเกิดผลกระทบเรากลับมีผลกระทบที่สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก การเปลี่ยนแปลงก้าวเข้าสู่ความยั่งยืน ไม่ใช่เรื่องของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มันเป็นเรื่องของคนไทย 66 ล้านคน ทุกคนต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้

คุณวราวุธ ได้กล่าวเสริมว่า ทุกวันนี้คนเราจะยอมเปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเอง มี 3 อย่างคือ

  1. เรื่องเงิน เช่นคาร์บอนเครดิต ถ้าทำแล้วจะได้เงิน

  2. เรื่องกฎหมาย เช่น ถ้าทำผิดจะโดนลงโทษ

  3. ความตาย

เช่น เมื่อ 5-6 ปีก่อน มี PM2.5 เริ่มเข้ามา รัฐบาลเตือนให้ทุกคนใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน แต่ไม่ค่อยมีใครให้ความร่วมมือ แต่พอ โควิด-19 เข้ามา ทุกคนหันมาสวมหน้ากากอนามัย เพราะทุกคนนั้นกลัวตาย

amol9144

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT