ความยั่งยืน

เก็บภาษีรถติด ช่วยแก้รถติดได้จริง? ส่องความสำเร็จ 4 เมืองในต่างประเทศ

27 ต.ค. 67
เก็บภาษีรถติด ช่วยแก้รถติดได้จริง?  ส่องความสำเร็จ 4 เมืองในต่างประเทศ

afp__20200525__1s91wr__v1__hi

'รถติดปัญหาที่อยู่คู่กับคนกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ที่เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่เราเห็นจนชินตาทุกๆวัน แม้ว่าทางภาครัฐจะมีการแก้ปัญหา รณรงค์ให้ผู้คนใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง และหันไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถเมย์ รถไฟฟ้า แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าขนส่งสาธารณะของไทยยังมีไม่ครอบคลุมทั่วทั้งเมือง แถมราคาก็แพง

ทำให้นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ได้มีการสั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันศึกษาหาแนวทางผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกสี เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนใช้บริการสาธารณะและลดมลพิษ

หนึ่งในแนวทางที่ถูกพูดถึง คือ การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้า ให้ภาครัฐสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกลงและเป็นธรรม ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ก็เป็นหนึ่งในแหล่งทุนของกองทุนนี้ด้วย

บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนมารู้จัก ค่าธรรมเนียมรถติด คืออะไร และพาไปรู้จักกับโมเดลนี้ในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ

afp__20240429__34qh32f__v5__h

ค่าธรรมเนียมรถติด คืออะไร

ค่าธรรมเนียมรถติด หรือ ภาษีรถติด (Congestion Charge) คือ การเก็บภาษีเพื่อแก้ไขการจราจรที่ติดขัด ซึ่งเก็บเมื่อผู้ใช้รถ ขับเข้าไปใจกลางเมือง เพื่อลดการจราจรที่คับคั่ง นอกเหนือจากการช่วยกระตุ้นให้ประชานชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแล้ว ยังช่วยลดมลภาวะทางอากาศ ลดปัญหา PM 2.5 ของกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ในระยะยาว 

ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ถนนที่คาดว่าจะมีการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมรถติด ในพื้นที่ที่มีปริมาณจราจรหนาแน่น พบว่า มีปริมาณจราจรรวมกันประมาณ 700,000 คัน/วัน และหากถ้ารัฐบาลมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมคันละ 50 บาท เบื้องต้นจะมีรายได้ราว 35 ล้านบาท/วัน หรือ 12,000 ล้านบาท/ปี หลังจากนั้นกระทรวงฯ จะนำรายได้เข้ากองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure fund เพื่อซื้อคืนรถไฟฟ้าจากเอกชน และปรับราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้เหลือ 20 บาทตลอดสาย ลดค่าครองชีพในการเดินทางให้ประชาชน

6 เส้นทาง ที่คาดว่าจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

1.ทางแยก เพชรบุรี-ทองหล่อ 

  • ช่วงถนนเพชรบุรีและ ทองหล่อ 
  • มีปริมาณจราจร 60,112 คัน/วัน

2.ทางแยก สีลม-นคราธิวาส 

  • ช่วงถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และ ถนนสีสม 
  • มีปริมาณจราจร62,453 คัน/วัน

3.ทางแยก สาทร-นราธิวาส 

  • ช่วงถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และ ถนนสาธร 
  • มีปริมาณจราจร83,368 คัน/วัน 

4.ทางแยก ปทุมวัน 

  • ช่วงถนนพญาไท และถนนพระรามที่ 1  
  • มีปริมาณจราจร 62,453 คัน/วัน

5.ทางแยก ราชประสงค์ 

  • ช่วงถนนราชดำริถนนพระราม 1 และ ถนนเพลินจิต
  • มีปริมาณจราจร56,235 คัน/วัน

6.ทางแยกประตูน้ำ  

  • ช่วงถนนราชดำริถนนราชปรารถ และถนนเพชรบุรี
  • มีปริมาณจราจร68,473 คัน/วัน 

ทั้งนี้ ตัวเลขปริมาณจราจรดังกล่าว เป็นการเก็บสถิติการจราจร ในปี 2566 ซึ่งเก็บสถิติ ช่วงเวลา 07.00-19.00 น. โดยหากมีการจัดเก็บ Congestion charge คาดว่าปริมาณจราจรที่เข้าสู่ถนนดังกล่าว จะลดลงไปจากตัวเลขที่มีการสำรวจ 

afp__20231003__33xd48j__v1__h

ส่องความสำเร็จ โมเดลเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในต่างประเทศ 4 เมือง

สิงคโปร์

สิงคโปร์ เป็นประเทศแรกที่เก็บภาษีรถติด โดยมีเก็บมาตั้งแต่ปี 1975 หรือเมื่อ 49 ปีที่ผ่านมา รถที่เข้าไปในพื้นที่เขตใจกลางเมืองในเวลาเร่งด่วน หรือพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น

วิธีการเก็บเงิน : ซื้อตั๋วตามจุดที่กั้นการเข้าเมือง

ราคา : ราคา 1 - 6 ดอลลาร์สิงคโปร์/วัน หรือราว 25 -152 บาท/วัน โดยราคาแพงขึ้นในช่วงเวลาเร่งด่วน คือ 7 โมง ถึง 9 โมงเช้า

โดยแรกเริ่มหลังจากที่มีการเก็บค่าธรรมเนียม สามารถปรับลดปริมาณจราจรในพื้นที่ได้ 15% และกลายมาเป็น 45% ในเวลาปัจจุบัน

ลอนดอน, สหราชอาณาจักร

ในปี  1993 สหราชอาณาจักร ได้มีการทดลองใช้เก็บค่าธรรมเนียมรถติดในเมืองเคมบริดจ์ แต่เตอนแรกยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้ทางรัฐบาลกลางได้ลองปรับแนวทางและมีการเก็บภาษีรถติดแบบจริงจังที่ กรุงลอนดอน ในปี 2003

วิธีการเก็บเงิน : มีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์กว่า 230 ตัว หากรถผ่านจะมีการถ่ายป้ายทะเบียนรถยนต์ทุกคันที่เข้าเขตจราจรหนาแน่น โดยซอฟต์แวร์จะส่งเลขทะเบียนป้ายไปยังศูนย์ใหญ่เพื่อลงบัญชีคิดเงินจากผู้ใช้รถ

ราคา : ราคา 15 ปอนด์/วัน หรือราว 655 บาท/วัน แต่หากรถคันนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ไฟฟ้า จะสามารถจ่ายได้ในราคา 12.50ปอนด์/วัน หรือราว 545 บาท/วัน

โดยมีการกำหนดช่วงเวลาการเก็บเงินในวันจันทร์-ศุกร์ 07.00-18.00 วันเสาร์-อาทิตย์ 12.00 – 18.00 ยกเว้นวันหยุดธนาคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ อย่างไรก็ตามหากมีรถคันใดฝ่าฝืนไม่จ่ายภาษีรถติดจะถูกปรับ 160 ปอนด์ หรือราว 6,976 บาท

หลังจากที่ลอนดอนได้มีการเก็บภาษีรถติด พบว่า

  • สามารถจำกัดการจราจรเข้าสู่โซนหนาแน่ ได้ถึง 18 % ในวันธรรมดา

  • สามารถลดความแออัดลง 30 %

  • ช่วยเปลี่ยนวิถีการเดินทางของชาวลอนดอน โดยเพิ่มการเดินทางโดยบัสได้ถึง 33%, เพิ่มการเดินทางโดยการเดิน ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะอื่นๆได้ถึง 10%

  • อากาศดีขึ้น 12%

นอกจากนี้กรุงลอนดอน ยังมีรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมกว่า 352 ล้านปอนด์/ปี หรือราว 5,347ล้านบาท/ปี ซึ่งสามารถนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้ครอบคลุมและดีมากยิ่งขึ้น

สตอกโฮล์ม, สวีเดน

สตอกโฮล์ม ได้มีการทดลองเก็บค่าธรรมเนียมรถติด ในตั้งแต่ปี 2006 และเริ่มมีการใช้จริงในปี 2007 โดยได้รับแนวคิดมาจากความสำเร็จของลอนดอน, สหราชอาณาจักร

วิธีการเก็บเงิน :

  • รถที่ติด EPASS24 (คล้ายคลึงกับ Easy Pass ในประเทศไทย) จะถูกตัดเงินทันที หากรถคันนั้นขับผ่านจุดควบคุมบนทางขึ้นสะพาน

  • รถที่ไม่ได้ติด EPASS24 และ รถที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หากรถคันนั้นขับผ่านจุดที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรถติด จะมีกล้องบันทึกทะเบียนรถไว้ และทางสำนักงานขนส่งแห่งสวีเดนจะมีการส่งใบแจ้งหนี้ และ สลิปการชำระเงินไปยังที่พักของเจ้าของรถ

ราคา : ราคาจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและฤดูกาล โดยมีราคาอยู่ที่ 11-45 SEK / ครั้ง หรือราว 34-142 บาท/ครั้ง

โดยมีการกำหนดช่วงเวลาการเก็บเงินในวันจันทร์-ศุกร์ 6.00-18.29 ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อย่างไรก็ตามหากมีรถคันใดฝ่าฝืนไม่จ่ายภาษีรถติดจะถูกปรับ 500 SEK หรือราว 1,584 บาท

หลังจากที่สตอกโฮล์มได้มีการเก็บภาษีรถติด พบว่า

  • การขนส่งสาธารณะมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 5%

  • ลดปริมาณรถบนท้องถนนได้ 20-25%

  • การจราจรลในช่วงเวลาเร่งด่วนลดลง 50%

  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 14-18%

มิลาน, อิตาลี

มิลานเริ่มใช้ระบบเก็บค่าธรรมเนียมรถติด ในปี 2012 เพื่อแก้ไขปัญหารถติด โดยเฉพาะพื้นที่ Area C โดยพื้นที่ C จะเป็นเขตเก็บค่าผ่านทางบนถนนในเมือง และเขตปล่อยมลพิษต่ำ ซึ่งทางรัฐได้มีการกำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องชำระค่าการจราจรติดขัด พื้นที่ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมความแออัดเรียกว่า Cerchia dei Bastioni

วิธีการเก็บเงิน : ผู้ที่เข้ามาใน Area C ต้องมีการซื้อตั๋ว ก่อนทุกครั้ง

  • สามารถซื้อผ่านระบบออนไลน์ และสามารถเปิดตั๋วใช้งานได้ทันที

  • สามารถซื้อผ่านตู้ ATM (Milan Transport Company, ATMs of Intensa Sanpaolo) แล้วโทร / ส่ง SMS มาที่เบอร์ +39 339 994 0437 / +39 02 486 84001 เพื่อทำการเปิดตั๋วใบนั้นเพื่อใช้งาน

ราคา :  Area C มีการจำกัดการจราจรใจกลางเมือง ในช่วงวันจันทร์, อังคาร, พุทธ, ศุกร์ 7.30 – 19.30 น.

พฤห้สบดี 7.30 – 18.00 น.

  • รถยนต์น้ำมันเบนซิน ดีเซล LPG CNG ราคา 50 ยูโร/ครั้ง หรือราว 272 บาท/ครั้ง

  • สำหรับรถยนต์สำหรับผู้อยู่อาศัย ใน Area C : ราคา 3 ยูโร/ครั้ง หรือราว 109 บาท/ครั้ง (รถ 50 คันแรกที่ลงทะเบียนเข้าฟรี ไม่ต้องเสียเงิน)

  • สำหรับรถยนต์บริการ เช่น Taxi Uber : 4.50 ยูโร/ครั้ง หรือราว 163 บาท / ครั้ง

อย่างไรก็ตาม รถยนต์บางประเทสามารถเข้า Area C โดยไม่ต้องซื้อตั๋ว หรือ ต้องจ่ายเงิน เช่น

  • รถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก และรถจักรยานยนต์ (รถจักรยานยนต์ รถสามล้อ และ รถสี่ล้อ)

  • รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลที่มีความคล่องตัวลดลง (ซึ่งต้องมีตราสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง)

  • รถยนต์ ไฮบริด

หลังจากที่มิลานได้มีการเก็บภาษีรถติด พบว่า

  • ช่วยลดการจราจรในเขตเมือง ได้ 30%

  • สามารถลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เช่น รถชน ได้มากกว่า 21.3%

  • ลด PM 10 (ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก) ได้ถึง 18%

  • ลด คาร์บอนไดออกไซด์ 35%

นอกจากนี้ยังสามารถ ลดความแออัด การจราจรหนาแน่น มลพิษทางเสียง และเพิ่มพื้ที่ให้แก่คนเดินและปั่นจักรยานมากขึ้นอีกด้วย

อ้างอิง : Transport of London

Visit London

Transportstyrelsen

Transportportal

Urban access regulations

Urban access regulations

Parclick

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT