Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ถอดคดีมหาเศรษฐีนีเวียดนามโคตรโกง ทำไมรัฐยอมให้คืนเงินลดโทษประหาร
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

ถอดคดีมหาเศรษฐีนีเวียดนามโคตรโกง ทำไมรัฐยอมให้คืนเงินลดโทษประหาร

4 ธ.ค. 67
11:00 น.
|
523
แชร์

คดีฉ้อโกงของมหาเศรษฐีนีชาวเวียดนาม เจือง เหม ลาน  นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเวียดนามที่ถูกตัดสินโทษประหารชีวิต สะท้อนถึงการส่งสัญญาณสำคัญของรัฐบาลเวียดนามในการปราบปรามคอร์รัปชัน ซึ่งเริ่มจากแคมเปญเตาไฟระอุ หรือ Blazing Furnace ของพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 2016

Nguyen Hong Hai อาจารย์อาวุโสจากมหาวิทยาลัย VinUniversity ให้สัมภาษณ์กับ VOA  ว่า รัฐบาลต้องการส่งข้อความถึงประชาชนว่า รัฐบาลต้องการเก็บกวาดสังคมและต่อต้านทุจริตอย่างจริงจัง ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการธนาคารในเวียดนามคนหนึ่งมองว่า คำพิพากษาดังกล่าวเรียกศรัทธาในสถาบันการเงินกลับมา

ซาชารี อาบูซา ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศาสตราจารย์วิทยาลัยสงครามแห่งชาติในวอชิงตันดีซีชี้ว่า คอร์รัปชันยังคงเป็นปัญหาแพร่หลายในระบบธนาคารของเวียดนาม โดยถึงแม้จะมีการตัดสินบทลงโทษ แต่เจ้าหน้าที่ระดับล่างเท่านั้นที่ออกมารับผิดชอบ ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับสูงมักลอยนวลไปได้   

นอกจากนี้ ระหว่างการพิจารณาคดีของเจืองครั้งนี้ ยังมีผู้เกี่ยวข้องอีก 85 รายถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกลงโทษหนักเบาต่างกัน ตั้งแต่ภาคทัณฑ์ไปจนถึงจำคุกตลอดชีวิต เช่น Do Thi Nhan หัวหน้าผู้ตรวจการธนาคารรัฐแห่งเวียดนาม ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตจากการรับสินบนมูลค่า 5.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อปกปิดความผิดของธนาคารไซ่ง่อนพาณิชย์ และคาดการณ์ด้วยว่า น่าจะมีเจ้าหน้าที่พัวพันในคดีนี้อีกหลายคน

เงินเดือนข้าราชการน้อยคือต้นเหตุของการทุจริต

Nguyen Khac Giang ผู้เชี่ยวชาญจาก ISEAS-Yusof Ishak Institute กล่าวว่า รายได้ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่น้อยมาก เป็นต้นเหตุของปัญหาคอรัปชัน โดยระบุว่า ผู้เริ่มต้นทำงานในภาครัฐมีรายได้เพียง 150 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 5,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ เช่น ฮานอยหรือโฮจิมินห์ซิตี้ ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับกลาง เงินเดือนอยู่ที่ประมาณ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน และแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงก็เงินเดือนอยู่ราว 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนเท่านั้น

รัฐบาลเวียดนามมีแผนเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ 30% ในเดือนกรกฎาคมนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญยังแสดงความกังวลว่าอาจไม่เพียงพอในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืน

โทษประหารอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ?

แม้ว่าโทษประหารชีวิตของเจืองจะสะท้อนถึงท่าทีที่จริงจังของรัฐบาลเวียดนามต่อการทุจริต แต่มีความเป็นไปได้ว่าเธอน่าจะไม่ถูกประหารชีวิตจริง

Ha Huy Son ผู้อำนวยการบริษัทกฎหมาย Ha Son ในฮานอย เคยให้สัมภาษณ์กับ VOA ว่า โทษประหารชีวิตนี้เป็นการส่งข้อความว่า เจ้าหน้าที่จะไม่ยอมผ่อนปรนกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง และศาลเวียดนามได้กำหนดเป็นบรรทัดฐานเอาไว้แล้วว่า หากผู้ต้องหาคดีทุจริตสามารถชดเชยเงินคืนมากกว่าสามในสี่ของความเสียหายได้ โทษจะถูกลดลง

นอกจากนี้ อาจใช้เวลานานถึง 20 ปีกว่ารัฐจะดำเนินการประหารชีวิตเจืองจริง แต่ในตอนนี้ Lan อายุเกือบ 70 ปีแล้ว

Le Quoc Quan นักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์ว่า เจืองจะไม่ถูกประหารชีวิต แต่จำเป็นต้องประกาศโทษประหารชีวิตออกมา เพื่อระงับความรู้สึกของประชาชนที่โกรธแค้นจากการทุจริต ขณะเดียวกัน มันก็อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบีบให้เจืองชดใช้เงินคืน เพราะเจืองที่มีชีวิตจะช่วยกู้คืนทรัพย์สินที่ถูกยักยอกได้ แต่ถ้าเธอตายไป ทุกอย่างก็เปล่าประโยชน์

VOA

แชร์
ถอดคดีมหาเศรษฐีนีเวียดนามโคตรโกง ทำไมรัฐยอมให้คืนเงินลดโทษประหาร