Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เกมการเมืองเกาหลีใต้ เดือด นิติสงคราม ชิงความได้เปรียบ รัฐบาล-ฝ่ายค้าน
โดย : พลวัฒน์ รินทะมาตย์

เกมการเมืองเกาหลีใต้ เดือด นิติสงคราม ชิงความได้เปรียบ รัฐบาล-ฝ่ายค้าน

17 ม.ค. 68
16:59 น.
|
28
แชร์

Highlight

ไฮไลต์

เกมการเมืองเกาหลีใต้ ยังคงดุเดือด "รัฐบาล-ฝ่ายค้าน" เล่นเกมนิติสงคราม ชิงความได้เปรียบในทางการเมือง ประธานธิบดียุน ซอกยอล เลือกยอมให้จับกุม เพราะได้เปรียบเรื่องข้อกฏหมายและต้องการให้เรื่องนี้อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ทว่าฝ่ายค้านกลับพยายามให้ดำเนินการผ่านสำงานสอบสวนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูง (CIO) เพื่อให้มีความผิดทางอาญาต่อไป


เกมการเมืองเกาหลีใต้ เดือด! เกมนิติสงคราม ชิงความได้เปรียบ รัฐบาล-ฝ่ายค้าน ในเกาหลีใต้

ภายหลังประธานาธิบดี ยุน ซอกยอล ประกาศกฏอัยการศึก เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 หลังจากยุนประกาศกฎอัยการศึกระยะสั้นเขาก็ถูกระงับปฏิบัติหน้าที่ จนนำมาสู่การถูกถอดถอนจากสภานิติบัญญัติของเกาหลีใต้ลงมติเห็นชอบถอดถอนประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ออกจากตำแหน่ง ด้วยคะแนนเสียง 204 เสียง ต่อคะแนนเสียงไม่เห็นชอบ 85 เสียงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 ปธน.ยุน กักตัวเองอยู่ในบ้านพักประธานาธิบดี พร้อมได้รับการคุ้มครองจากทีมรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ขัดขวางการจับกุมปธน.ช่วงต้นเดือน มกราคม 2568 ที่ผ่านมา

จนกระทั่งปธน.ยุน เข้ายอมรับการสอบสวนอ้างว่าเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงหลังมีตำรวจกว่า 3,000 นาย มาประจำการที่หน้าบ้านเพื่อจับกุมเขาตั้งแต่ช่วงเช้าวันพุธ (15 ม.ค.)

ดร.ไพบูลย์ ปีตะเสน ผู้เชี่ยวชาญเกาหลีศึกษา และอดีตประธานศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับ SPOTLIGHT WORLD ว่า ประเด็นสำคัญที่หน้าจับตามองคือ

“เราอาจจะต้องพูดคุยกันในประเด็นที่ว่า 

ทำไมครั้งนี้ ประธานาธิบดียุน ซอกยอล ถึงยอมถูกจับกุม?

หากย้อนกลับไปตั้งคำถามแบบนี้ก่อน อาจช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ถ้ายอมถูกจับในที่สุด ทำไมจึงไม่ยอมตั้งแต่ครั้งแรกที่มีหมายศาลออกมา

เพราะประธานาธิบดียุน ซอกยอล เคยเป็นอัยการมาก่อน และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย การจัดการครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งยุน ซอกยอล ต้องการให้เรื่องนี้เข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการถอดถอน ซึ่งต้องใช้เวลานาน และเขาอาจมั่นใจในความสัมพันธ์กับตุลาการในศาลรัฐธรรมนูญว่าการกล่าวโทษเขาจะไม่สำเร็จ

ในขณะนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีตุลาการ 6 คน โดยสภาต้องแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 3 คน แต่ยังไม่มีการแต่งตั้งคนใหม่เข้าไป ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบัน ยุน ซอกยอล อาจมั่นใจว่าแนวทางที่จะนำคดีเข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญนั้นปลอดภัยกว่า และหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าเขาไม่ได้เข้าข่ายกบฏ ก็จะถือว่าเขาปฏิบัติหน้าที่ภายใต้อำนาจที่ชอบธรรม”

ดร.ไพบูลย์ กล่าว

ดร.ไพบูลย์ กล่าวต่อว่า “ปัญหาสำคัญคือ ฝ่ายค้านพยายามใช้ข้อได้เปรียบด้วยการดำเนินการผ่านสำนักงานสอบสวนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูง หรือ CIO ซึ่งมีอำนาจตรวจสอบเจ้าหน้าที่ระดับสูง เช่น ผู้พิพากษา รัฐมนตรี และแม้กระทั่งประธานาธิบดี ให้มีความผิดทางอาญา”

การวิเคราะห์เหตุผลที่ยอมรับหมายศาล

ครั้งนี้ ทีมที่ปรึกษาและทนายความของยุน ซอกยอล อาจประเมินแล้วว่าการขัดขืนต่อไปจะส่งผลเสียมากกว่า จึงเลือกที่จะให้ความร่วมมือ โดยยุน ซอกยอล ได้เผยแพร่วิดีโอผ่านสื่อออนไลน์ก่อนถูกจับกุม โดยระบุว่าเขาต้องการหลีกเลี่ยงความรุนแรงและให้เรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ

วิเคราะห์บทบาทของ CIO

CIO เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2021 มีอำนาจทั้งด้านการสืบสวนและสั่งฟ้องศาลโดยตรง เพื่อถ่วงดุลอำนาจของอัยการและตำรวจในระบบปกติ ซึ่งอาจถูกแทรกแซงโดยผู้มีอำนาจ

อนาคตการเมืองและประชาธิปไตยในเกาหลีใต้

การจับกุมยุน ซอกยอล ส่งผลให้คะแนนนิยมของเขาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาจเนื่องมาจากประชาชนบางส่วนรู้สึกเห็นใจ และเชื่อว่าเขาถูกบีบจากฝ่ายค้าน ประธานาธิบดียุน ซอกยอล จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะผู้นำที่ตัดสินใจใช้กฎอัยการศึกเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมือง แม้จะสร้างความขัดแย้ง แต่ก็เป็นประเด็นสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ทางอำนาจในระบบการปกครองของเกาหลีใต้


แชร์
เกมการเมืองเกาหลีใต้ เดือด นิติสงคราม ชิงความได้เปรียบ รัฐบาล-ฝ่ายค้าน