วัยเกษียณควรระวัง!! หูตึง เสี่ยงสมองเสื่อมมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า

9 ต.ค. 66

ปัจจุบันสถานการณ์ทั่วโลกมีประชากรผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ( มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ) และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุปัจจุบันสถานการณ์ทั่วโลกมีประชากรผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ( มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ) และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

(1)
ระดับสุดยอดในปี พ.ศ.2574โดยปัญหาการได้ยินและการทรงตัว เป็นปัญหาหลัก1ใน3ของผู้สูงอายุทั่วโลก โดยเฉพาะวัยเกษียณอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อีกทั้งปัญหาการได้ยินยังเป็นสัญญาณความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม เนื่องจากเมื่อการได้ยินลดลง ส่งผลให้การกระตุ้นสมองลดลงตามไปด้วย เมื่อสมองขาดการกระตุ้นเป็นเวลานาน  5 - 10 ปี ล้วนส่งผลให้สมองเสื่อมถอย และฝ่อเร็วขึ้น ทั้งนี้ยังพบว่าปัญหาการได้ยินเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อม สูงสุดถึง 2 เท่า

2
อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร แพทย์เฉพาะทางด้านโสตประสาทวิทยา ศูนย์การได้ยิน การสื่อสารและการทรงตัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ความรู้ในหัวข้อปัญหาการได้ยินกับความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม พร้อมทั้งเผยว่า ในบรรดาคนไข้ภาวะสมองเสื่อมจากจำนวน 2 ใน 5 คน ปัญหาด้านการ ได้ยินซึ่งเป็นความเสี่ยงสูงสุดที่สามารถป้องกันได้ หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยการกระตุ้นการได้ยิน และกระตุ้นสมองก็สามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันและ อยู่ร่วมกับสังคมได้ตามปกติ และสำหรับนิทรรศการสื่อผสม “เสียงนั้น เธอได้ยินไหม” ถูกทำขึ้นมาในรูปแบบบ้านนกสีเหลืองสดใส ของนก 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ นกเร็น, นกเดินดง, นกเดินดงสีดำ, นกคัคคู และนกเขา ซึ่งเมื่อกดปุ่ม นกในบ้านแต่ละหลังจะส่งเสียงร้องออกมา เพื่อให้ผู้เข้าชมประเมินตนเองว่า สามารถได้ยินเสียงนกร้องหรือไม่

3
‘ซุ้มโดมบ้านนก’ นิทรรศการศูนย์การได้ยิน การสื่อสารและการทรงตัว‘ซุ้มโดมบ้านนก’ เป็นนิทรรศการที่ออกแบบและจัดโดยศูนย์การได้ยิน การสื่อสารและการทรงตัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, British Council, กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ผ่านโครงการ Thai-UK World-class university consortium catalyst grant, University College London, หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนา


สถาบัน อุดมศึกษาการวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.)   สำหรับตรวจวัดระดับการได้ยินของตนเองผ่านเสียงนก ซึ่งนกแต่ละกรงจะปล่อยเสียงแต่ละความถี่เพื่อทดสอบ การได้ยินและความสามารถในการรับเสียงสัญญาณทุกย่านความถี่ของผู้เข้ารับ


การทดสอบ

● บ้านที่ 1 นกเร็น (Wren) ความถี่ 4000-8000 Hz เสียงแหลมมาก

● บ้านที่ 2 นกเดินดง (Song thrush) ความถี่ 3000-4000 Hz เสียงแหลม

● บ้านที่ 3 นกเดินดงสีดำ (Blackbird) ความถี่ 1000-2000 Hz เสียงกลาง

● บ้านที่ 4 นกคัคคู (Cuckoo bird) ความถี่ 350-750 Hz เสียงกลางค่อนข้างทุ้ม

● บ้านที่ 5 นกเขา (Collared bird dove) ความถี่ 250-350 Hz เสียงทุ้ม


เสียงของนกแต่ละชนิดจะแทนย่านความถี่ที่แตกต่างกันซึ่งตามปกติความถดถอยด้านการรับเสียงของมนุษย์จะสูญเสียความ  สามารถในการรับเสียงแหลมหรือเสียงที่สูง และตามมาด้วยอาการสื่อสารไม่เข้าใจเนื่องจากการสูญเสียการได้ยินเสียงที่ทุ้มต่ำลงมาตามลำดับ เมื่อตรวจพบว่าหูไม่สามารถรับเสียงได้ตามปกติผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษา และกระตุ้นการได้ยิน เพื่อให้สามารถกลับมาได้ยินชัดเจนอีกครั้งซึ่งเสียง ที่ได้ยินจะกลับเข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และสมองต่อไป


สำหรับผู้ที่สนใจติดตามข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการได้ยิน สามารถติดตาม ข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook ของทางศูนย์การได้ยิน การสื่อสารและการทรงตัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ https://www.facebook.com/ChulaHearingBalance หรือติดต่อขอนิทรรศการสื่อผสม “ซุ้มโดมบ้านนก” เพื่อนำไปแสดง ได้ที่email: info.loylombon@gmail.com

4
ตรวจการได้ยินด้วยตนเองง่ายๆได้ฟรี!  ด้วยแอปพลิเคชันแรกในไทย EarTest by Eartone
สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่สนใจตรวจการได้ยินด้วยตนเองผ่าน Smart Phone หรือ Tablet โดยไม่มีค่าใช้จ่ายสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน EarTest by Eartone ตรวจการได้ยินเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบระดับการได้ยิน และป้องกัน ภาวะสมองเสื่อมซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าว เป็นความสำเร็จที่ร่วมพัฒนาโดย เอียร์โทน จากห้องปฏิบัติการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงลอนดอน University College London ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมวิศวกรรมแห่งประเทศอังกฤษ Royal Academy of Engineering, British Council, กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ผ่านโครงการ Thai-UK World-class University Consortium catalyst grant, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข) และบริษัท เอียร์โทน (ประเทศไทย) จำกัด


คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลก มีปณิธานที่จะสร้างคน สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม สร้างเสริมสังคมไทยให้ก้าวไกลในสังคมโลก โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์ มีวิสัยทัศน์มุ่งเป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรมและสร้างมาตรฐาน ระดับนานาชาติ สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ตลอดจน ให้บริการทางการแพทย์และวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงวิชาการของชาติและนานาชาติและชี้นำสังคม ซึ่งความร่วมมือในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุและทุนวิจัย ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุด้านการได้ยินและทรงตัว ซึ่งนับเป็นความสำเร็จอย่างแท้จริง เพราะนอกจากจะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ของคณะแพทยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาการวิจัยและร่วมมือ หลักสูตรเพื่อนำไปสู่การเป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่เป็นผู้นำในระดับชาติและนานาชาติแล้วยังสามารถต่อยอดงานวิจัยให้กลายเป็นงานให้บริการกับบุคคลโดยทั่วไปได้ อย่างแท้จริง

advertisement

สุขภาพและความงาม คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด