วิธีเอาตัวรอดบนเครื่องบิน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่ควรรู้เบื้องต้น

23 ส.ค. 67

เปิดข้อมูลเบื้องต้นที่ควรรู้ กับ วิธีการเอาตัวรอดบนเครื่องบิน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หากอันตรายเกิดขึ้น ควรต้องรับมือแบบใด?

วิธีเอาตัวรอดบนเครื่องบิน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน นับเป็นหนึ่งในเรื่องที่หลายคนคำนึงถึงตลอดการเดินทางบนเครื่องบิน ไม่ว่าการเดินทางครั้งนั้นจะใกล้หรือไกล เพราะอุบัติเหตุทางอากาศเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะหนักหรือเบา หากแต่เมื่อเกิดเหตุจริง ๆ การรับมือที่ดีที่สุดคือการมีสติ พร้อมทั้งรับฟังประกาศอย่างตั้งใจ แต่การเรียนรู้วิธีรับมือเบื้องต้นด้วยตนเอง ถือเป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ

เหตุการณ์สลดอย่างเครื่องบินตก ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบัน ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้น ทั้งกับลำเล็กหรือใหญ่ แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อุบัติเหตุทางการบิน หรือเหตุการณ์เครื่องบินตก ย่อมเป็นการโดยสารที่มีความปลอดภัยมากกว่าการใช้รถยนต์อย่างแน่นอน

ข้อมูลจากเว็บไซต์ BUSINESS INSIDER ได้ระบุไว้ว่า "อุบัติเหตุเครื่องบินตกเกิดขึ้นได้ยากมาก โอกาสเสียชีวิตบนเครื่องบินมีประมาณ 1 ใน 205,552"

แต่ทว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้น ล้วนเป็นการสร้างความรู้สึกหวาดกลัวจากความเสียหายที่รายงานข่าว พร้อมทั้งผลการรายงานว่าไม่พบผู้เสียชีวิต ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า "เมื่อต้องโดยสารเครื่องบินจริง ๆ ต้องนั่งต้องไหนถึงจะปลอดภัยที่สุด หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างการเดินทาง"

 

ที่นั่งที่มีโอกาสรอดหากเกิดเหตุบนเครื่องบิน คือที่นั่งแถวที่อยู่กลางเครื่อง ค่อนไปทางด้านหลัง 
เว็บไซต์ BUSINESS INSIDER อ้างอิงการวิเคราะห์ข้อมูลของ Doug Drury ศาสตราจารย์และหัวหน้าฝ่ายการบินที่มหาวิทยาลัยซีคิวแห่งออสเตรเลีย ประกอบว่า "มีผลงานวิจัยบางฉบับชี้ว่า ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตก ที่นั่งที่ปลอดภัยที่สุดคือที่นั่งแถวที่อยู่กลางเครื่อง ค่อนไปทางด้านหลัง เพราะตามสถิติแล้ว ผู้โดยสารที่อยู่ในที่นั่งเหล่านี้ คือผู้ที่มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ"

Doug Drury ได้ให้เหตุผลประกอบว่า "นั่งตรงกลางติดทางออก อาจทำให้มีโอกาสออกจากเครื่องบินเร็วที่สุดก็จริง แต่ต้องไม่มีไฟไหม้ในจุดดังกล่าว เพราะส่วนปีกของเครื่องบินคือที่เก็บเชื้อเพลิง การเลือกที่นั่งบริเวณนั้นจึงเท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ขณะเดียวกันหากระหว่างการเดินทางเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดแรงกระแทกขึ้นกับเครื่องบิน กลุ่มผู้โดยสารที่นั่งอยู่ใกล้กับส่วนหัวของเครื่องบิน อาจทำให้ได้รับอันตรายเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเทียบกับผู้โดยสารที่อยู่ท้ายเครื่อง"

pic2

 

ข้อมูลดังกล่าวเคยถูกวิเคราะห์บนนิตยสาร TIME ในปี 2558 โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก 17 ลำ ที่เมื่อนำผังที่นั่งมาวิเคราะห์ โดยเป็นการคำนวนการเสียชีวิต เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับที่นั่งของผู้โดยสารจุดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนของผู้โดยสารทั้งหมด ปรากฏว่าที่นั่งที่อยู่ตรงกลางหรือด้านหลังของเครื่องบินมีผู้โดยสารเสียชีวิตน้อยที่สุดคือ 28% โดยได้ผลสรุปดังนี้

  • ที่นั่งตรงกลางลำแถวที่ติดทางเดิน มีผู้เสียชีวิตสูงสุดที่ 44%
  • ที่นั่งแถวกลางตรงกลางลำ มีผู้เสียชีวิตสูงสุดที่ (39%)
  • ชที่นั่งแถวหน้า ใกล้กับส่วนหัวของเครื่องบิน มีผู้เสียชีวิตสูงสุดที่ (38%)

ถึงแม้ข้อมูลจะดูอันตรายและน่ากลัว แต่ Doug Drury ก็ได้ชี้ว่า "ไม่ควรกังวลมากเกินไปเมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน เพราะตามสถิติแล้ว โอกาสการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินนั้น น้อยกว่าอุบัติเหตุทางรถยนต์ถึง 2,000 เท่า แต่ถ้าเพื่อความอุ่นใจ จะจองที่นั่งแถวกลางตรงท้ายเครื่องไว้ก่อนก็ย่อมได้ อีกทั้งนักบินทุกคนได้รับการฝึกฝน เพื่อหาจุดลงจอดฉุกเฉินที่ดีที่สุด ในมุมที่ปลอดภัยที่สุดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบนบกหรือในน้ำ"

pic1

 

วิธีเอาตัวรอดบนเครื่องบิน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

  • ก้มศีรษะลงต่ำกว่าเบาะหน้า เพื่อป้องกันวัตถุที่อาจกระเด็นมาโดน
  • เมื่อไฟดับให้หมอบต่ำ เคลื่อนที่ไปยังทางออกที่ใกล้ที่สุด ตามเส้นสะท้อนแสง
  • กรณีมีควันไฟภายในเครื่องบิน ให้ก้มตัวต่ำกว่าปกติ ใช้ผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันการสูดดมกลิ่นควัน
  • ทิ้งสัมภาระทันที เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อป้องกันอันตราย เพิ่มความคล่องตัว ไม่รบกวนคนรอบข้าง
  • มีสติและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขณะอยู่บนเครื่อง

นอกจากวิธีการเอาตัวรอดบนเครื่องบิน ที่เป็นขั้นตอนฉุกเฉินแล้ว การมีสติระหว่างการเดินทางเป็นเรื่องที่สำคัญ หมั่นฟังประกาศเสมอ พร้อมทั้งคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาและคอยเช็กสัญญาณไฟเตือนเสมอ อีกทั้งก่อนการเดินทางทุกครั้ง ควรตั้งใจฟังการสาธิตการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยและการแจ้งประตูทางออกฉุกเฉิน เพราะเรื่องเหล่านี้ที่คุณรู้สึกว่าเสียเวลา อาจช่วยให้คุณปลอดภัยได้เมื่อเกิดอันตรายขึ้นจริง ๆ

 

ที่มา : BUSINESS ISIDER (businessinsider.com) / อสมท. MCOT (mcot.net)

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด