Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
อาจเสี่ยงเป็น "ฝีดาษลิง" ผื่นขึ้นตามตัว.. อย่ามองข้าม!
โดย : แพทย์ประจำศูนย์ผิวหนังและความงาม โรงพยาบาลเวชธานี

อาจเสี่ยงเป็น "ฝีดาษลิง" ผื่นขึ้นตามตัว.. อย่ามองข้าม!

19 ส.ค. 65
19:56 น.
|
6.3K
แชร์

โรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากไวรัสชื่อ Poxviridae กำลังระบาดในประเทศในแอฟริกา และในประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยยืนยันแล้วอย่างน้อย 4 ราย ตามข้อมูลเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565

 

สัตว์ที่เป็นต้นเหตุของโรค เชื่อว่าเกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะสัตว์กัดแทะ เช่นลิง กระรอก กระต่าย และหนู ซึ่งการติดต่อเกิดได้จากทั้งสัตว์สู่คน โดยสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือรับประทานสัตว์ที่ปรุงไม่สุก และจากคนสู่คน ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านการสัมผัสบริเวณผื่นและแผลของผู้ป่วย

 

ระยะฟักตัวของโรคอยู่ที่ 7-21 วัน ดังนั้น หากมีประวัติเสี่ยงในการสัมผัสโรค และมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรแยกตัวเองจากบุคคลอื่นและมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

  • มีไข้ 38 องศาเซลเซียส หรือมีไข้ร่วมกับอาการ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต
  • มีผื่นและตุ่มตามผิวหนัง พบกระจายตามใบหน้า ลำตัว แขน ขา อวัยวะเพศ รอบทวารหนัก ลักษณะของผื่นจะพบเป็นระยะเดียวกันหมด คือ อาจจะเป็น ตุ่มแดงนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด

 

การตรวจยืนยัน ทำได้โดยการตรวจสารพันธุกรรม RT-PCR จากตุ่มแผล ลำคอ หรือจากเลือด ซึ่งการรักษาโรคฝีดาษลิงขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แต่ส่วนใหญ่จะหายเองได้ จึงให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ให้สารน้ำ ลดการไม่สบายจากแผลและตุ่มน้ำ ป้องกันการติดเชื้อบริเวณแผล ขณะที่ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรง สามารถให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัส นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ small pox และ monkey pox มีการศึกษาว่าหากได้รับวัคซีนภายใน 4 วันหลังสัมผัสโรค อาจป้องกันการติดเชื้อได้ และหากให้หลังจาก 4 วันแต่ไม่เกิน 14 วัน อาจช่วยลดความรุนแรงจากโรคได้

 

319998

พญ.ชนิกา กุลภัทราภา

แพทย์ประจำศูนย์ผิวหนังและความงาม โรงพยาบาลเวชธานี

อ่านประวัติเพิ่มเติม คลิก

Advertisement

แชร์
อาจเสี่ยงเป็น "ฝีดาษลิง" ผื่นขึ้นตามตัว.. อย่ามองข้าม!