รู้จัก ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา เอเลี่ยนผู้รุกรานแหล่งน้ำไทย

5 ก.ค. 67

รู้จัก ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา เอเลี่ยนในแหล่งน้ำไทย เพชฌฆาตสัตว์ต่างถิ่น ผู้ทำลายระบบนิเวศทางน้ำ

จากกรณีที่ประเทศไทยพบการระบาดของ ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา ในหลายพื้นที่ จนสร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกร และกระทบต่อระบบนเวศทางน้ำ ซึ่งปลาหมอคางดำถือเป็นสัตว์ต่างถิ่น เอเลียนสปีชีส์ ที่ต้องเฝ้าระวัง

• ถิ่นกำเนิดของ ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา

ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา Blackchin tilapia จะเห็นได้ว่าปลาชนิดนี้มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับปลาหมอเทศ โดยเฉพาะในปลาระยะวัยอ่อน เมื่อโตเต็มวัยจะสังเกตได้ชัดขึ้น ปลาหมอคางดําจัดอยู่ในครอบครัว Cichlidae เช่นเดียวกับปลาหมอเทศ ปลาชนิดนี้มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา พบแพร่กระจายตลอดแนวชายฝั่งจนถึงแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ แพร่กระจายในบริเวณชายฝั่งตลอดแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น ไนจีเรีย คาเมรูน เซเนกัล ไอวอรี่โคสต์ กินี ไลบีเรีย โตโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เบนิน แกมเบีย กินี บิสเซา สาธารณรัฐคองโกมอริเตเนีย กานา และเซียร์ราลีโอน เป็นต้น ปัจจุบันมีการนําเข้าพันธุ์ปลาหมอคางดําในหลายประเทศ ทั้งอเมริกา ยุโรป เอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทย มีรายงานการนําเข้ามาตั้งแต่ ปี 2553

ปลาหมอคางดํา ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ป่าชายเลน สามารถทนความเค็มได้สูงและทนต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มในช่วงกว้าง นอกจากนี้ยังพบปลาชนิดนี้ในพื้นที่น้ำจืด แม่น้ำและทะเลสาบน้ําจืด ในบริเวณที่มีกระแสน้ำไม่ไหลแรง จากการทดสอบเบื้องต้น พบว่าลูกปลาหมอสีคางดําขนาด 1.5 – 2.5 เซนติเมตร สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มฉับพลันจากน้ำจืด 0 ppt จนถึงความเค็ม 30 ppt และสามารถปรับตัวและเริ่มกินอาหารได้ใน 1 ชั่วโมง

177385

• ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา ผสมพันธุ์อย่างไร มีขาดเท่าไหร่

ปลาหมอคางดําเมื่อมีขนาดโตเต็มวัย อาจมีขนาดลําตัวยาวถึง 8 นิ้ว หรือมากกว้า การจําแนกเพศของปลาหมอคางดําจากภายนอกไม่ชัดเจน เมื่อโตเต็มวัย ปลาหมอคางดําเพศผู้จะมีสีดําบริเวณหัวและบริเวณแผ่นปิดเหงือกมากกว่าเพศเมีย เมื่อถึงระยะช่วงระยะเวลาจับคู่ผสมพันธุ์ จะเข้ามาในเขตน้ำตื้น ปลาเพศเมียทําหน้าที่ขุดหลุมสร้างรัง เพศผู้ทําหน้าที่กระตุ้นให้เมียการเพศเมียไข่ และผสมกับน้ำเชื้อภายนอก ปลาหมอคางดําสมบูรณ์เพศและวางไข่ได้รวดเร็ว แม่ปลา 1 ตัว สามารถให้ไข่ได้ประมาณ 150 – 300 ฟอง การฟักไข่ และดูแลตัวอ่อนในปากโดยปลาเพศผู้ โดยไข่จะใช้เวลาฟักประมาณ 4- 6 วัน และพ่อปลาจะดูแลลูกปลา โดยการอมไว้ในปากนาน ประมาณ 2-3 สัปดาห์

• ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา กินอะไรเป็นอาหาร

ปลาหมอคางดํา เป็นปลาที่กินทั้งพืช และสัตว์ แพลงก์ตอน ลูกปลา ลูกหอยสองฝา รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้จากการสอบถามและทดลองในห้องปฏิบัติของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 2 (สมุทรสาคร) พบว่าปลาหมอคางดํา ชอบกินกุ้งทะเล โดยเฉพาะกุ้งกุลาดํา กุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งแชบ๊วย รวมถึงลูกปลาวัยอ่อน จากการตรวจสอบความยาวของลําไส้ปลา พบว่ามีความยาวมากกว่า 4 เท่าของความยาวลําตัวปลา โดยมีระบบการย่อยอาหารที่ดี สามารถย่อยกุ้งได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 นาที ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ปลาหมอคางดํา มีความต้องการอาหารอยู่แทบตลอดเวลา ประกอบกับนิสัยของปลาที่ค่อนข้างดุร้าย เมื่อเทียบกับปลาหมอเทศ

817437

311889

• ผลกระทบจากการระบาดของปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา

ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา ถือเป็นปลาต่างถิ่นที่เป็นเอเลียนสปีชีส์ ที่เมื่อถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว จะเข้าไปรุกรานทำลายสัตว์น้ำในระบบนิเวศธรรมชาติ เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ปลาบางชนิดเสี่ยงสูญพันธุ์ และทำให้เสียสมดุลระบบนิเวศใต้น้ำด้วย

• วิธีการกำจัด และการป้องกันการแพร่กระจายของปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา

1. การเตรียมบ่อ ตากบ่อให้แห้งสนิท
2. กรองน้ำด้วยถุงกรองหรือใช้คลอรีน เพื่อทําลายไข่ของปลา และลูกปลา
3. ใช้กากชาเพื่อฆ่าปลาในบ่อ ก่อนการเลี้ยงสัตว์น้ำ
4. เลี้ยงปลากะพงขาวทดแทน การเลี้ยงกุ้งทะเล 1 – 3 รอบ หรือจนกว่าไม่มีการแพร่กระจายของปลาหมอสีคางดําในพื้นที่หรือในบ่อ โดยปล่อยปลากะพงขาวขนาด 2-4 นิ้ว กรณีปลากะพงขาวมีขนาดเล็ก ให้อนุบาลให้มีขนาด 3-4 นิ้ว ในกะชัง ก่อนปล่อยปลาสู่ในบ่อ ควรอนุบาลลูกปลากะพงขาวด้วยปลาหมอคางดําสดสับ เพื่อให้ปลากะพงขาวคุ้นเคยกับการกินเนื้อปลาหมอคางดํา เพื่อให้ปลากะพงขาวกินลูกปลาหมอสีคางดําวัยอ่อน โดยปลากะพงขาวสามารถกินปลาหมอสีคางดําที่มีขนาดเล็กกว่าปากปลากะพงได้ ช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลากะพงขาว ปลากะพงขาวสามารถกินเหยื่อหรือปลาหมอสีคางดํา ที่มีขนาดเล็กกว่าความกว้างของปาก

449702137_8062581163793760_89

อย่างไรก็ตาม การปล่อยปลากินเนื้อ เช่น ปลากะพงขาว ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรทําด้วยความระมัดระวังเพราะปลากะพงขาว อาจเลือกกินสัตว์น้ำหรือปลาชนิดอื่นๆ ที่จับกินได้ง่าย จากในแหล่งน้ำธรรมชาติก่อนที่จะเลือกจับกินปลาหมอสีคางดํา และปลาหมอสีคางดําวัยอ่อนก็หลบอยู่ในปากของพ่อปลา ทําให้ยากที่ปลากะพงขาวจะจับกินได้โดยง่าย ซึ่งแตกต่างจากหมอสีคางดําที่พบในบ่อ ที่มักจะพบปลาหมอคางดําจํานวนมาก เมื่อปล่อยปลากะพงขาวลงไปปล่อยในบ่อ ปลากะพงขาวจึงจําเป็นที่จะต้องกินปลาหมอสีคางดํา เพราะไม่มีปลาเหยื่อหรือสัตว์น้ำชนิดอื่นให้กิน ดังนั้นการปล่อยปลากะพงขาวลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติต้องมีการตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่าแหล่งน้ำนั้นถูกปลาหมอสีคางดําบุกรุกจนแทบไม่มีสัตว์น้ำชนิดอื่นอยู่เลย จึงเหมาะสมที่จะปล่อยปลากะพงขาวลงไปเพื่อควบคุมปริมาณปลาหมอสีคางดํา

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม