เปิดรายชื่อ 8 สัตว์น้ำ เอเลี่ยนสปีชีส์ พันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานร้ายแรงในประเทศไทย

8 ก.ค. 67

เปิดรายชื่อ 8 สัตว์น้ำ เอเลี่ยนสปีชีส์ พันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานร้ายแรงในประเทศไทย ทำสัตว์น้ำท้องถิ่นอยู่ยาก ลำบากเรื่องระบบนิเวศ

จากกรณีเกษตรกรและประชาชนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำ จนหลายพื้นที่ต้องสั่งจับตาย เนื่องจากเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ พันธุ์ต่างถิ่นชนิดรุกราน มีการเจริญเติบโต ตั้งรกราก สืบพันธุ์และแพร่กระจายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี จนเข้าไปแทนที่และส่งผลให้พันธุ์พื้นเมืองสูญพันธุ์ไปโดยสิ้นเชิง และส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และเศรษฐกิจของประเทศได้

1720424127292

• ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เอเลี่ยนสปีชีส์ (alien species) คืออะไร

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เอเลี่ยนสปีชีส์ (alien species) หมายถึง ชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฏในถิ่นชีวภูมิศาสตร์หนึ่งมาก่อนแต่ได้ถูกนำเข้ามาหรือเข้ามาโดยวิธีใด ๆ จากถิ่นอื่น ซึ่งอาจดำรงชีวิตอยู่ และสามารถสืบพันธุ์ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปัจจัยสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของชนิดพันธุ์นั้น ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่นำเข้าโดยชนิดพันธุ์เหล่านี้เมื่อนำเข้ามาในพื้นที่ใหม่แล้วสามารถมีชีวิตรอดและสืบพันธุ์เพื่อขยายประชากรได้

• เอเลี่ยนสปีชีส์ (alien species) มีกี่ประเภท

เอเลี่ยนสปีชีส์ (alien species) จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท

1. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่รุกราน หมายถึง เอเลี่ยนสปีชีส์ที่เมื่อนำเข้ามาแล้วไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพโดยตรงหรือชัดเจนนัก มีการดำรงชีวิตแบบไม่แข่งขันหรือขัดต่อการดำรงชีพของสัตว์น้ำท้องถิ่น และสมดุลของนิเวศ ตัวอย่างเช่น ปลานิล ปลาไน และปลาจีน รวมถึง ปลาเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีการปล่อยลงแหล่งน้ำ

2. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน หมายถึง ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่เข้ามาแล้วมีการแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว สามารถปรับตัวแข่งขันแทนที่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองได้ดี มีการตั้งถิ่นฐานและแพร่กระจายได้ในธรรมชาติจนกลายเป็นชนิดพันธุ์เด่นในสิ่งแวดล้อมใหม่ ที่อาจทำให้ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นหรือชนิดพันธุ์พื้นเมืองสูญพันธุ์ได้ รวมทั้งยังมีการดำรงชีวิตที่ขัดขวางหรือกระทบต่อสมดุลนิเวศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบของชนิดพื้นเมือง รวมไปถึงส่งผลคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพและก่อให้เกิดความสูญเสียทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขอนามัยได้ นอกจากนี้ยังอาจถือเป็นศัตรูต่อผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้อีกด้วย เช่น ปลาซัคเกอร์หรือปลาเทศบาล ปลาดุกแอฟริกัน (ปลาดุกรัสเซีย) และ หอยเชอรี่

1200px-liposarcus_multiradiat

• ประเทศไทย นำเข้าเอเลี่ยนสปีชีส์ (alien species) มากี่ชนิด

สำหรับประเทศไทยพบว่ามีสัตว์น้ำต่างถิ่นได้ถูกนำเข้ามากกว่า 1,100 ชนิด พันธุ์ปลาประมาณ 1,000 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกประมาณ 50 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานประมาณ 50 ชนิด หอย 3 ชนิด กุ้ง และปู 8 ชนิด โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนำเข้าเพื่อเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามและเพื่อเลี้ยงบริโภค

เมื่อพิจารณาถึงสถิติการนำเข้าสัตว์น้ำต่างถิ่นมีชีวิตในประเทศไทยพบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยนำเข้าสัตว์น้ำต่างถิ่นปริมาณ 38.9 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปลาสวยงามมีจำนวนมากถึง 595 ชนิด กลุ่มสัตว์น้ำสวยงามอื่น ๆ จำนวน 25 ชนิด และกลุ่มสัตว์น้ำต่างถิ่นที่นำเข้ามาเพื่อเป็นอาหารจำนวนทั้งสิ้น 81 ชนิด โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มกุ้งและปู จำนวน 29 ชนิด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มปลา และกลุ่มสัตว์น้ำอื่น ๆ จำนวน 28 และ 17 ชนิด ตามลำดับ ซึ่งยังพบการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดใหม่ตลอดเวลา ทั้งแบบจงใจและไม่จงใจ จึงเป็นสาเหตุทำให้สัตว์น้ำต่างถิ่นในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับชนิดที่นำเข้ามาแล้วนั้นพบว่า มีหลายชนิดที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจจนสามารถสร้างอาชีพ ทำรายได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ประชากรได้เป็นอย่างดี ในทางกลับกันยังพบว่ามีอีกหลายชนิดที่กลายเป็น ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ส่งผลให้ชนิดพันธุ์ปลาพื้นเมืองหรือชนิดพันธุ์ปลาท้องถิ่นสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำได้จึงถือเป็นสาเหตุสำคัญของการคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศไปโดยสิ้นเชิง

1720424146894

• 8 สัตว์น้ำ เอเลี่ยนสปีชีส์ พันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานร้ายแรงในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย สัตว์น้ำที่ถือเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ลำดับต้นๆ ต้องมีการจัดการอย่างเร่งด่วน ส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์ดั้งเดิมและระบบนิเวศในประเทศไทยอย่างรุนแรง มีอยู่ 8 ชนิด ได้แก่

หอยเชอรี่

1720424420174

ถิ่นกำเนิด : อาร์เจนตินา และอุรุกวัย
การเข้าสู่ประเทศไทย : ตลาดซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงและผู้ประกอบการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การหลุดรอด : หลุดรอดจากการเลี้ยงโดยไม่ตั้งใจ
พื้นที่พบการแพร่ระบาด : พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทั้งในพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปและในพื้นที่อนุรักษ์
สถานการณ์ปัจจุบัน : มีแผนการจัดการการแพร่กระจายภายในประเทศแล้ว การแพร่ระบาดมีแนวโน้มคงที่

หอยเชอรี่ยักษ์

1720424431138

ถิ่นกำเนิด : อาร์เจนตินา อุรุกวัย ถึงบราซิล
การเข้าสู่ประเทศไทย : ตลาดซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงและผู้ประกอบการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การหลุดรอด : หลุดรอดจากการเลี้ยงโดยไม่ตั้งใจ
พื้นที่พบการแพร่ระบาด : พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทั้งในพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปและในพื้นที่อนุรักษ์
สถานการณ์ปัจจุบัน : มีแผนการจัดการการแพร่กระจายภายในประเทศแล้ว การแพร่ระบาดมีแนวโน้มคงที่

ปลากดเกราะ หรือ ปลาซัคเกอร์ Hypostomus plecostomus

1720424444460

ถิ่นกำเนิด : อเมริกาใต้
การเข้าสู่ประเทศไทย : ตลาดซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงสวยงาม และผู้ประกอบการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การหลุดรอด : หลุดรอดจากการเลี้ยงและการปล่อยทำบุญตามความเชื่อ
พื้นที่พบการแพร่ระบาด : พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทั้งในพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปและในพื้นที่อนุรักษ์
สถานการณ์ปัจจุบัน : มีแผนการจัดการการแพร่กระจายภายในประเทศแล้ว การแพร่ระบาดมีแนวโน้มคงที่

ปลากดเกราะ หรือปลาซัคเกอร์ Pterygoplichthys pardalis

1720424459045_1

ถิ่นกำเนิด : อเมริกาใต้
การเข้าสู่ประเทศไทย : ตลาดซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงสวยงาม และผู้ประกอบการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การหลุดรอด : หลุดรอดจากการเลี้ยงและการปล่อยทำบุญตามความเชื่อ
พื้นที่พบการแพร่ระบาด : พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทั้งในพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปและในพื้นที่อนุรักษ์
สถานการณ์ปัจจุบัน : มีแผนการจัดการการแพร่กระจายภายในประเทศแล้ว การแพร่ระบาดมีแนวโน้มคงที่

ปลากดเกราะ หรือปลาซัคเกอร์ ในสกุล Pterygoplichthys sp.

1720424472706

ถิ่นกำเนิด : อเมริกาใต้
การเข้าสู่ประเทศไทย : ตลาดซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงสวยงาม และผู้ประกอบการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การหลุดรอด : หลุดรอดจากการเลี้ยงและการปล่อยทำบุญตามความเชื่อ
พื้นที่พบการแพร่ระบาด : พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทั้งในพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปและในพื้นที่อนุรักษ์
สถานการณ์ปัจจุบัน : มีแผนการจัดการการแพร่กระจายภายในประเทศแล้ว การแพร่ระบาดมีแนวโน้มคงที่

ปลาหมอมายัน

1720424483328

ถิ่นกำเนิด : อเมริกากลาง เม็กซิโกถึงนิคารากัว
การเข้าสู่ประเทศไทย : ตลาดซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงสวยงาม และผู้ประกอบการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การหลุดรอด : หลุดรอดจากการเลี้ยง
พื้นที่พบการแพร่ระบาด : แพร่ระบาดบางพื้นที่ ได้แก่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรปราการ และสมุทรสาคร
สถานการณ์ปัจจุบัน : มีแผนการจัดการการแพร่กระจายภายในประเทศ แต่ยังไม่ประสบผลเท่าที่ควร การแพร่ระบาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำ

1720424493279

ถิ่นกำเนิด : ทวีปแอฟริกา ประเทศมอริเตเนีย ถึงแคเมอรูน
การเข้าสู่ประเทศไทย : นำเข้าเพื่อการปรับปรุงพันธุ์
การหลุดรอด : หลุดรอดจากการปล่อยลงแหล่งน้ำ
พื้นที่พบการแพร่ระบาด : บริเวณพื้นที่ชายฝั่งบริเวณน้ำกร่อยต่อน้ำจืดในจังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
สถานการณ์ปัจจุบัน : มีแผนการจัดการการแพร่กระจายภายในประเทศ แต่ยังไม่ประสบผลเท่าที่ควร การแพร่ระบาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

เต่าแก้มแดง หรือ เต่าญี่ปุ่น

1720424510244

ถิ่นกำเนิด : ทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
การเข้าสู่ประเทศไทย : ตลาดซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงสวยงาม
การหลุดรอด : หลุดรอดจากการเลี้ยง การปล่อยลงแหล่งน้ำ
พื้นที่พบการแพร่ระบาด : พบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป ในพื้นที่อนุรักษ์และเขตอภัยทาน
สถานการณ์ปัจจุบัน : ยังไม่มีแผนการจัดการการแพร่กระจาย การแพร่ระบาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ข้อมูลจาก : กรมประมง ปี 2563

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม