เปิดที่มาที่ไป ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา เข้าไทยอย่างไร มาตั้งแต่ตอนไหน

5 ก.ค. 67

เปิดที่มาที่ไป ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา เข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร เข้ามาตั้งแต่ตอนไหน มีบทลงโทษทางกฎหมายหรือไม่หากฝ่าฝืน

จากกรณีที่เกษตรกรได้รับผลกระทบจากการแพร่พันธุ์ของ ปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำ กระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของพันธุ์ปลาชนิดดังกล่าวรุกรานปลาพื้นถิ่น สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรในวงกว้าง

 

ปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำ ถือเป็นสัตว์ต่างถิ่น เอเลียนสปีชีส์ ทำให้หลายคนสงสัยว่า ปลาหมอคางดำเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร และเข้ามาตั้งแต่ตอนไหน เรื่องนี้ สำนักข่าวอิศรา เคยรายงานว่า

เมื่อปี 2549 คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) มีมติอนุญาตให้บริษัทเอกชนรายใหญ่ นำเข้าปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำ จากสาธารณรัฐกานา ทวีปแอฟริกา เพื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลแบบมีเงื่อนไข

1720161050230_1

ต่อมาในปี 2553 บริษัทเอกชนรายนี้ ได้นำเข้าปลาหมอสีคางดำ จำนวน 2,000 ตัว โดยมีศูนย์ทดลองอยู่ที่ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จากนั้นปลาหมอสีคางดำได้ทยอยตายเกือบทั้งหมดภายใน 3 สัปดาห์ บริษัทจึงทำลายและฝังกลบซากปลาโดยการโรยด้วยปูนขาวและแจ้งให้กรมประมงทราบด้วยวาจา โดยไม่ได้จัดทำรายงานอย่างเป็นทางการและเก็บซากปลาส่งให้กับกรมประมงตามเงื่อนไขการอนุญาตของคณะกรรมการ IBC

จนกระทั่งปี 2555 เกษตรกรในพื้นที่ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้พบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำเป็นครั้งแรก

ต่อมาในปี 2561 กรมประมง อาศัยอำนาจตามมาตรา 65 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจึงได้มีการออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 9 มกราคม 2561 เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง พ.ศ.2561 และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561 ซึ่งประกาศฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2561

สำหรับสัตว์น้ำ 3 ชนิดพันธุ์ตามประกาศที่ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยงเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง หรือเป็นผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย ได้แก่

1. ปลาหมอสีคางดำ Sarotherodon melanotheron RÜppell,1852
2. ปลาหมอมายัน Cichlasoma urophthalmus (GÜnther,1862)
3. ปลาหมอบัตเตอร์ Heterotilapia buttikoferi (Hubrecht,1881)

ส่วนบทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสองต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

fisheries28043

29572918_1549323301851925_536

ต่อมาวันที่ 17 มิ.ย.2564 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 130 ง นำเสนอ ประกาศประทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำที่หายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 27 พ.ค.2564 ลงนามโดย นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

1720170831525

ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ.2559 ลงวันที่ 8 ม.ค.2559
(2) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือ เพาะเลี้ยง พ.ศ.2561 ลงวันที่ 9 ม.ค.2561

ข้อ 2 ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์น้ำที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย

ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ทั้งนี้ มีรายชื่อของ ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา อยู่ในบัญชีรายชื่อปลาและสัตว์น้ำ ที่เป็นเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้ จำนวน 454 ชนิด

1720170840768

การแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่น (Alien Species) ในประเทศไทย กลายเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำในธรรมชาติ และเสี่ยงต่อการรุกรานสัตว์น้ำท้องถิ่นของไทย ตลอดจนสร้างความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากการระบาด รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งตัดวงจรของ ปลาหมอคางดํา หรือ ปลาหมอสีคางดํา รวมถึงสัตว์เอเลี่ยนสปีชีส์ทั้งหลายไม่ให้ไปทำลายสัตว์น้ำพื้นถิ่นของประเทศ

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม