Happy Valley อุโมงค์ยักษ์กักเก็บน้ำ ที่ซ่อนตัวอยู่ใต้แผ่นดินฮ่องกง ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม

5 ก.ย. 67

รู้จัก Happy Valley อุโมงค์ยักษ์กักเก็บน้ำ ที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ผืนแผ่นดินฮ่องกง ช่วยป้องกันภัยน้ำท่วม จากพายุฝนที่มักจะโหมกระหน่ำใส่ในช่วงฤดูมรสุม

ฮ่องกง เป็นเมืองที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาถึง 3 ลูก ทำให้มีสภาพเป็นเหมือนแอ่งกระทะที่ระบายน้ำออกไปได้ยาก จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังบ่อยครั้ง เช่น ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2000 เดือนเมษายน ปี 2006 และเดือนมิถุนายน ปี 2008 ฮ่องกงมีพายุฝนรุนแรงเกิดน้ำท่วมหนัก สร้างความเสียหายกับทรัพย์สินทางราชการและของประชาชน

hvusss_03c

ด้วยเหตุนี้ กรมบริการระบายน้ำ (DSD) จึงได้เริ่มงานก่อสร้างโครงการกักเก็บน้ำใต้ดิน Happy Valley Underground Stormwater (HVUSSS) ในปี 2012 โดยเป็นโครงการอุโมงค์ยักษ์กักเก็บน้ำที่ซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นดินของย่านหว่านไจ๋ บนเกาะฮ่องกง ตัวอุโมงค์มีความยาวประมาณ 10.5 กิโลเมตร ลึกลงไปใต้ดิน 8.2 เมตร ใช้งบก่อสร้างราว 120,000 ล้านบาท เพื่อรองรับน้ำฝนทั่วทั้งเกาะ ก่อนที่จะระบายลงสู่ทะเล ช่วงกลางของอุโมงค์มีบ่อพักน้ำและบ่อบำบัดน้ำขนาดใหญ่ 24,000 ตารางเมตร หรือเทียบเท่าสนามฟุตบอล 3 สนาม

hvusss_03h

hvusss_03i

hvusss_03j

Happy Valley สามารถรองรับน้ำได้มากถึง 60,000 ลูกบาศก์เมตร (ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาตรรวมของสระว่ายน้ำมาตรฐาน 24 สระ) ถังเก็บน้ำมีความยาว 650 เมตร และยังมีจุดปั๊มน้ำ ซึ่งสามารถปั๊มน้ำได้ถึง 1.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ช่วยลดปริมาณการไหลสูงสุดผ่านระบบระบายน้ำในช่วงที่มีฝนตกหนัก ก่อนปล่อยลงสู่ทะเล ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมลงสู่พื้นที่ราบต่ำของย่านหว่านไจ๋และแฮปปี้วัลเลย์ได้อย่างมาก

hvusss_04

hvusss_05_1

จุดเด่นของ Happy Valley คือ ประตูกั้นน้ำอัตโนมัติ 3 จุด คือช่วงต้นอุโมงค์ ช่วงกลางก่อนถึงบ่อพักน้ำ และช่วงปลาย ทำงานด้วยระบบเซ็นเซอร์สามารถตรวจวัดระดับน้ำที่ไหลเข้าออกได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถคำนวณได้ว่าจะรับน้ำหรือปล่อยน้ำในอัตราเท่าไหร่น้ำถึงจะไม่ท่วมขัง น้ำฝนบางส่วนที่ไหลลงอุโมงค์จะถูกปล่อยลงทะเล บางส่วนจะถูกส่งไปยังบ่อบำบัดเพื่อนนำน้ำไปใช้สำหรับกิจกรรมสาธารณะ เช่น รดน้ำตนไม้ ฉีดทำความสะอาดเมือง เป็นต้น

hvusss_03e

hvusss_04a

ส่วนด้านบนของ Happy Valley ยังทำเป็นสนามกีฬากลางแจ้ง เช่น สนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน 3 สนาม สนามไดร์ฟกอล์ฟ และสวนสาธารณะ เป็นพื้นที่สีเขียว และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน นับว่าเป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่บนเกาะเล็กๆ ทุกตารางเมตรได้อย่างคุ้มค่า

hvusss_02

hvusss_06j

ทั้งนี้ ฤดูฝนในฮ่องกงโดยปกติคือช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน โดยฝนจะตกหนักมากในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เป็นสาเหตุให้การจราจรต้องหยุดชะงัก เกิดน้ำท่วมฉับพลันและภัยจากดินถล่ม ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทางการฮ่องกงจึงออกมาตรการเตือนภัยเรื่องฝนตก ออกเป็น 3 ระดับ คือ สีเหลือง สีแดง และสีดำ

สัญญาณเตือนภัยพายุฝน สีเหลือง จะมีฝนตกหนักหรือคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกทั่วทุกพื้นที่ในฮ่องกง โดยมีปริมาณของน้ำฝนประมาณ 30 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และมีการตกอย่างต่อเนื่อง

สัญญาณเตือนภัยพายุฝน สีแดง สภาพฝนตกหนักหรือคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกทั่วทุกพื้นที่ในฮ่องกง โดยมีปริมาณของน้ำฝนประมาณ 50 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และมีการตกอย่างต่อเนื่อง

สัญญาณเตือนภัยพายุฝน สีดำ สภาพฝนตกหนักหรือคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกทั่วทุกพื้นที่ในฮ่องกง โดยมีปริมาณของน้ำฝนประมาณ 70 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และมีการตกอย่างต่อเนื่อง

hvusss_05c

เมื่อเกิดฝนตกหนัก หน่วยงานหลักของรัฐบาล ทั้งระบบขนส่งมวลชนและระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญ จะต้องประกาศแจ้งเตือนภัยให้ทราบในทันทีเพื่อประชาชนจะได้รับคำชี้แนะที่ชัดเจนและการดำเนินการที่เหมาะสม เมื่อมีการแจ้งเตือนภัยขึ้น สัญญาณแจ้งเตือนจะออกอากาศผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุเพื่อความปลอดภัย

ที่มา Drainage Services Department , RAINSTORM WARNING SYSTEM HK

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม