5 ก.พ.65 นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่า ธนาคารมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีมาโดยตลอด ทั้งด้านบริการทางการเงิน การให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพผ่านโครงการอบรม สัมมนาต่าง ๆ พร้อมกับเพิ่มโอกาสในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจเพื่อให้เอสเอ็มอีเติบโตไปด้วยกัน ธนาคารจึงร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดมอบรางวัล Bai Po Business Awards by Sasin ครั้งที่ 17 เพื่อยกย่องเอสเอ็มอีไทยที่สามารถเติบโตและโดดเด่นในหลากหลายมิติท่ามกลางความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงกระแสดิสรัปต์ของเทคโนโลยี ภายใต้การปฏิบัติดีต่อสังคมส่วนรวม ที่สำคัญรางวัลนี้แตกต่างจากรางวัลอื่นตรงที่การมอบรางวัลแล้วไม่ใช่การเสร็จสิ้นภารกิจแต่ธนาคารและสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ฯ ยังมีการติดตามพัฒนาการของผู้ได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่องในระยะยาวพร้อมทั้งคอยแนะนำส่งเสริมธุรกิจเหล่านี้ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อผลักดันให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
"ตลอดช่วงระยะเวลาของการจัดโครงการ Bai Po Business Awards by Sasin พบว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีจะเล็กหรือใหญ่นั้นไม่สำคัญ แต่อยู่ที่เก่ง หรือไม่เก่ง ประกอบกับมีแนวคิดที่ยั่งยืน และเมื่อเจอกับวิกฤตก็สามารถที่จะปรับตัวและนำพาองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วทันกับสถานการณ์ที่ผันผวนเช่นในปัจจุบัน และยังได้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการในยุคนี้ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของ Logistic มากยิ่งขึ้น และคำนึงถึงความยั่งยืนทั้งของธุรกิจตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย" นายอาทิตย์ กล่าว
ด้าน รศ.ดร.ชัยพงษ์ พงษ์พานิช รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า รางวัล Bai Po Business Awards by Sasin ช่วยกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเอสเอ็มอีรายอื่น ๆ ให้สามารถยกระดับธุรกิจของตนเอง เชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการเข้าไว้ด้วยกัน และร่วมกันเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้น ยั่งยืนขึ้น
นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ MAI ในฐานะตัวแทนคณะกรรมการตัดสินรางวัล บอกว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากกว่า 3 ล้านรายและมีบทบาทต่อการจ้างงานราว 70% ภาคเอสเอ็มอีจึงนับเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับเส้นทางการเติบโตเอสเอ็มอีไทยในปี 2022 นั้น ปัจจัยที่ต้องระวังคงหนีไม่พ้นเรื่องต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานยังส่งผลกระทบต่อการผลิตทั่วโลกทำให้มีความยากในการวางแผนอนาคต ดังนั้นการวางแผนรับมือในเหตุการณ์ไม่ปกติ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เอสเอ็มอีต้องทำ โดยยุทธศาสตร์ที่ทุกธุรกิจต้องโฟกัส คือ "การปรับตัว" อย่างเร่งด่วนใน 5 ด้าน
เริ่มต้นจาก 1) ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ทุกวิกฤติการณ์ที่ต้องเจอต่อจากนี้ไปจะทำให้เราแข็งแกร่ง 2) ปรับตัวให้ทันกับเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของดิจิทัล ผลักดันธุรกิจเข้าสู่แพลตฟอร์ม E-commerce และอย่าหันหลังให้นวัตกรรม 3) ปรับกลุ่มเป้าหมายใหม่รู้จักกระจายความเสี่ยง 4) ปรับวิธีการหารายได้จากธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ มองหาแนวร่วมเครือข่ายเอสเอ็มอีเพื่อต่อยอดธุรกิจไปด้วยกัน และ 5) ปรับองค์กรให้คล่องตัวอยู่เสมอ
สำหรับการตัดสินรางวัล Bai Po Business Awards by Sasin ในครั้งที่ 17 นี้ มีธุรกิจที่ได้รับรางวัล จำนวน 7 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลตามมิติการพิจารณารางวัลของโครงการ จำนวน 6 ราย และเนื่องด้วยทางโครงการได้เล็งเห็นความโดดเด่นของเอสเอ็มอีที่เป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมคุณค่าแก่สังคม จึงได้มีการพิจารณามอบรางวัลพิเศษ จำนวน 1 ราย ดังนี้