โอสถสภา ได้ริเริ่มทำการค้ากับเมียนมาเป็นเวลากว่า 25 ปี และลงทุนเปิดโรงงานด้วย ยืนยันไม่กระทบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในเมียนมา ขณะที่โครงสร้างรายได้ของ โอสภสภา มาจากกลุ่มเครื่องดื่มสูงถึง 85% ตลาดหลักแหล่งรายได้สำคัญที่สุดมาจากประเทศไทย 83% ขณะที่ตลาดต่างประเทศอยู่ที่ 17 % ตลาดต่างประเทศหลักของโอสถสภาคือ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว
สถานการณ์ในเมียนมาหลังธนาคารกลางออกคำสั่งห้ามบริษัทเอกชนและประชาชนจ่ายหนี้ต่างประเทศ สร้างความกังวลว่า ภาคธุรกิจไทยจำนวนมากที่ไปลงทุนในเมียนมาจะกระทบมากแค่ไหน เมื่อวานนี้บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP หนึ่งในธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในเมียนมามายาวนานกว่า 25 ปี เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของ OSP ในเมียนมา เนื่องจากการลงทุนในเมียนมาเป็นการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว
หากพูดถถึง บริษัทโอสภสภา คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีเพราะอยู่คู่คนไทยมายาวนานถึง 130 ปี มีสินค้าอุปโภคบริโภค รวมไปถึงเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล, ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ,และขนมเป็นต้น
โครงสร้างรายได้ของ โอสภสภา มาจากกลุ่มเครื่องดื่มสูงถึง 85% ขณะที่ ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล 8% และ อื่นๆ 7% ตลาดหลักแหล่งรายได้สำคัญที่สุดมาจากประเทศไทย 83% ขณะที่ตลาดต่างประเทศอยู่ที่ 17 % ตลาดต่างประเทศหลักของโอสถสภาคือ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว ขณะที่อินโดนีเซียและเวียดนามเป็นตลาดรอง
นอกจากเมียนมาจะเป็นตลาดต่างประเทศหลักแล้ว ในปี 2564 ถือเป็นปีแรกที่บริษัทเข้าไป ไปทำทำธุรกิจในเมียนมาอย่างเต็มรูปแบบทั้งทีมงานในประเทศและโรงงานผลิตและบรรจุเครื่องดื่ม โดยโรงงานแห่งใหม่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาวา
เมื่อวานนี้ นางวรรณิภา ภักดีบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โอสถสภา หรือ OSP ผู้ดำเนินธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศไทย เปิดเผยว่า ในฐานะที่บริษัทฯ เป็นผู้นำเครื่องดื่มให้พลังงานอันดับหนึ่งในประเทศเมียนมาภายใต้แบรนด์ ชาร์ค ที่ครองใจผู้บริโภคมากว่า 25 ปี และ แบรนด์ เอ็ม-150 ด้วยเครือข่ายพันธมิตรและลูกค้าที่แข็งแกร่งทำให้ผลิตภัณฑ์ ชาร์ค และ เอ็ม-150 เข้าถึงพื้นที่ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้ ‘โอสถสภา’ สามารถครองใจลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงตัดสินใจขยายธุรกิจลงทุนเปิดโรงงานที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ในปี 2563 หลัง ‘โอสถสภา’ ได้ริเริ่มทำการค้ากับเมียนมาเป็นเวลากว่า 25 ปี เและได้เริ่มศึกษาวางแผนธุรกิจเป็นเวลานานนับสิบปีก่อนตัดสินใจลงทุนเปิดโรงงาน
ทั้งนี้จากการที่ธนาคารกลางเมียนมาประกาศคำสั่งไปยังภาคเอกชนให้ระงับชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ในต่างประเทศนั้น มาตรการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของ ‘โอสถสภา’ ในเมียนมา โดยบริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ อีกทั้งการลงทุนในเมียนมา เป็นการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินในประเทศไทยเเละสถาบันการเงินในประเทศเมียนมา ทั้งนี้การชำระหนี้จะมีการเจรจากันภายใต้เงื่อนไขและข้อตกลงระหว่างบริษัทฯ และสถาบันการเงินต่อไป
ถึงแม้ว่าจะสถานการณ์ทางการเงินจะมีความผันผวนด้านค่าเงินหรืออัตราการแลกเปลี่ยน แต่ธุรกิจของบริษัทฯยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันนี้การซื้อขายในเมียนมาสามารถทำได้ในหลายสกุลเงินมากขึ้น ทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการทางการเงินได้หลากหลายมากขึ้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
สำหรับประเทศไทยกับเมียนมานั้นมีความสัมพันธ์ในมิติเศรษฐกิขหลายด้าน ทั้งพลังงาน ไฟฟ้า กาค้าการลงทุน รวมไปถึงแรงงาน ดังนั้นไทยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือ เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค อย่าง ลาว เมียนมา กำลังถูกกระทบจากสถานการร์เศรษฐกิจอย่างหนักในปี 2565