โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงระหว่างท่าอากาศชยานหลักของประเทศ คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มีระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท
โดยเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ซึ่งการรถไฟฯ ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ในฐานะบริษัทร่วมทุนในการบริหารจัดการ และก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562
“ โครงการนี้เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบราง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ ประชาชนได้รับบริการด้านขนส่งที่มีคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการขยายตัวทางการค้าซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ”นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าว
ในปัจจุบันหลังจากได้มีการลงนามสัญญาร่วมทุนแล้ว บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ในฐานะบริษัทร่วมทุนในการบริหารจัดการและก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มีภารกิจในการดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
โดยได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากสัญญากว่า 1,700 ล้านบาท ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบวิศวกรรมการเดินรถ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร รวมถึงปรับปรุงและเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งภายในและภายนอกสถานี ซึ่งให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้พิการ และกลุ่มเปราะบาง ด้วยการออกแบบอารยสถาปัตย์ (universal design) ซึ่งเป็นการออกแบบเพื่อทุกคน นอกจากนี้ ยังได้ฝึกอบรมพนักงานผู้ให้บริการในสถานี เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าจะสามารถอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสารทุกคน
2. เป็นการเตรียมความพร้อมในการก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ขณะนี้บริษัทได้ทำงานร่วมกับบริษัท อาหรับ (Arup) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการออกแบบ วิศวกรรม วางแผน และพัฒนาธุรกิจ ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบ และก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ทั้งนี้ การดำเนินงานออกแบบดังกล่าวมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 90 % และยังมีการเตรียมพื้นที่ในการก่อสร้างโครงการ ได้แก่ งานเวนคืนที่ดิน รื้อย้ายสาธารณูปโภค ย้ายผู้บุกรุก งานถ่ายโอนแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ งานเตรียมก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (HSR) ทั้ง 4 ช่วง งานโครงการเกี่ยวกับรถไฟแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยาย ดอนเมือง-พญาไท และ งานพัฒนาพื้นที่ สนับสนุนสถานีรถไฟความเร็วสูง หรือ TOD ที่มักกะสันและศรีราชาตามสัญญา
ขณะนี้ภาพรวมงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้
ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กำหนดราคากลางแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเจรจาแก้ไขสัญญากับเอกชน และเตรียมขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
โดยโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้แล้วเสร็จและคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้ในปี 2572 ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง และยังช่วยกระจายการเติบโตทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนพลิกโฉมการคมนาคมขนส่งของประเทศ ให้ไทยเติบโตเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียนต่อไป