7- Eleven ร้านสะดวกซื้อภายใต้ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด มหาชน สามารถทำยอดขายได้ กว่า 100,000 ล้านบาท ในะระยะเวลาเพียง 3 เดือน ซึ่งยอดขายระดับนี้ มากกว่าห้างสรรพสินค้าหลายๆห้างรวมกัน หรือ มากกว่ายอดขายโครงอสังหาริมทรัพย์ด้วยซ้ำ
ผลประกอบการของ 7- Eleven ไตรมาส 2 คือ เมษา - มิ.ย.66 อยู่ที่ 102,481 ล้านบาท + 16.1% กำไรสุทธิ 6,121 ล้านบาท +19.3% เมื่่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน SPOTLIGHT เลยพามาดูโครงสร้างผลประกอบการของ 7- Elevenกันหน่อยว่า รายได้มหาศาลเหล่านั้นมีที่มาที่ไปจากอะไรกันบ้าง
จำนวนสาขาที่มากของ 7- Eleven ก็เป็นโอกาสในการเพิ่มยอดขายได้อย่างแน่นอน ตัวเลขล่าสุดในไตรมาส 2/2566 มีการเปิดสาขาเพิ่ม 168 สาขา บริษัทฯ มีจำนวนร้านสาขาทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 14,215 สาขา แบ่งเป็น
1.ร้านสาขาบริษัท 7,133 สาขา (ประมาณ ร้อยละ 50) ร้านเปิดใหม่สุทธิ 114 สาขา ในไตรมาสนี้
2.ร้าน SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 7,082 สาขา (ประมาณ ร้อยละ 50) ร้านเปิดใหม่ทธิ 54สาขา ในไตรมาสนี้
ทั้งนี้ร้านสาขาส่วนใหญ่ 86% เป็นสาขา Stand Alone และอีก 24% สาขาในสถานีบริการน้ำมัน PTT และถึงแม้จะมีมากกว่า 14,200 สาขาแล้ว แต่ปีนี้ 7- Eleven จะเปิดสาขาในไทยอีก 700 สาขา ในกัมพูชาอีก 100 สาขา และ เปิดสาขาแรกในสปป.ลาว ด้วย
คนส่วนใหญ่เวลาเข้าไปใน 7- Eleven มักเข้าไปไปซื้ออาหาร ไปหาอะไรกิน ดังนั้น สัดส่วนรายได้ของ 7- Eleven 75.5% มาจากสินค้าอาหารเครื่องดื่ม ส่วน 24.5 % มาจากสินค้าอุปโภคบริโภค โดยยอดขายเฉลี่ยต่อวัน/สาขา อยู่ที่ 83,558 ล้านบาท +7.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวนลูกค้าต่อวัน995 คน ยอดซื้อเฉลี่ยต่อบิล 84 บาท
ลูกค้าที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุมาจากการบริโภคในประเทศเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาส2นี้ส่งผลให้การเดินทางและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
จากสถานการณ์ดังกล่าวธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7- Eleven ได้ปรับแผนกลยุทธ์เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยคำนึงถึงการรักษาฐานลูกค้าเดิม และขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ โดยนำเสนอสินค้าใหม่ๆพร้อมกับโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า ประกอบกับรายได้จากการขายสินค้าส่วนเพิ่มผ่านกลยุทธ์ O2O อาทิ 7-Eleven Delivery และ All Online ซึ่งยังคงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในภาวะปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของรายได้จากการขายสินค้ารวม
ธุรกิจร้านสะดวกซื้อยังมีรายได้อื่นอีกจำนวน 5,980 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 638 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากรายได้จากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของสาขา อาทิ การให้เช่าพื้นที่ บริการ และอื่นๆ
สำหรับร้าน 7- Eleven เป็นกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อภายใต้ บริษัท ซีพี ออลล์ จ ากัด (มหาชน) ซึ่งภาพรวมของบริษัท ไตรมาส 2 ปี2566 โดยบริษัทฯและบริษัทย่อย มีรายได้รวม 232,002 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 8.5 มีกำไรสุทธิจำนวน 4,438 ล้านบาท
ทั้งนี้รายได้รวมแบ่งสัดส่วนตามธุรกิจหลักของ ซีพี ออลล์ มาจากรายได้จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่นๆ มีสัดส่วนร้อยละ 50 และ รายได้จากธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค มีสัดส่วนร้อยละ 50 ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับสัดส่วนในไตรมาสก่อนหน้า แม้สัดส่วรายได้ระหว่างธุรกิจร้านสะดวกซื้อกับธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค จะใกล้เคียงกัน แต่สัดส่วนกำไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีสัดส่วนร้อยละ 73 มากกว่าธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีสัดส่วนร้อยละ 27
รายได้รวมในไตรมาส 2 ปี 2566 ที่เพิ่มขึ้นมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายและบริการของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ รวมถึงธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ธุรกิจแม็คโครและโลตัสส์นั้นมีการเติบโตของรายได้จากการขายและบริการดีขึ้นเช่นกัน ตามการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภคภายในประเทศ และการท่องเที่ยว นอกจากนี้กลยุทธ์ O2O ของแต่ละหน่วยธุรกิจยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
สำหรับประมาณการงบลงทุน คาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 12,000 –13,000 ล้านบาท แบ่งเป็น การเปิดร้านสาขาใหม่ 3,800 - 4,000 การปรับปรุงร้านเดิม 2,900 - 3,500 โครงการใหม่บริษัทย่อยและศูนย์กระจายสินค้า 4,000 - 4,100 สินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ 1,300 - 1,400 ล้านบาท
ที่มา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย