หากถามมนุษย์วัยทำงานว่า เครื่องดื่มที่เราต้องดื่มในทุกๆ วัน คือ อะไร เชื่อว่าเกือบ 70-80% ของคำตอบ คือ ‘กาแฟ’ เครื่องดื่มครองหนึ่งที่หลายๆคนเลือกดื่ม เพื่อคลายความง่วงซึมระหว่างวัน แต่เชื่อว่าหากใครที่เป็นสายสุขภาพ ‘ชาเขียวมัทฉะ’ คงเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกที่ครองใจคนทั่วโลก
ความนิยมของ ‘มัทฉะ’ (Matcha) ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากกลุ่ม Matcha Lover ซึ่งเกิดการรีวิวบอกต่อย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์บน TikTok และ Instagram เช่น คอนเทนต์ชงมัจฉะเองที่บ้าน หรือรีวิวร้านคาเฟ่ที่สายมัทฉะห้ามพลาด จนทำให้ในไทยมีร้านมัทฉะสเปเชียลตี้มากมาย แต่หนึ่งร้านที่ได้รับความนิยมมากที่สุด นั้นก็คือ ร้าน Peace 和 oriental teahouse
ล่าสุด เพจ Facebook ของทางร้านก็อัพสเตตัล’ขอจำกัดการซื้อมัทฉะต่อบัญชี ต่อเดือน’ เช่นเดียวกับร้าน MTCH ที่เพิ่งมีการประกาศ ‘ขอระงับการขายผงมัทฉะทุกชนิด อย่างไม่มีกำหนด’ เนื่องจาก ‘ผงมัทฉะ’กำลังขาดแคลน และเกิดปัญหาการกักตุนสินค้า
เครื่องดื่มชาเขียวมัทฉะ ได้รับความรับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งจากการคาดการณ์ตลาดมัทฉะทั่วโลกของ UnivDatos พบว่า จะเติบโตอย่างต่อเนื่องถึง 9.44% ต่อปี ในระหว่างปี 2022-2027 และคาดว่ามีรายได้กว่า 5.5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2027 และประเทศที่ส่งออกมัทฉะมากที่สุดของโลก คือประเทศญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่บริโภคมัทฉะมากที่สุดในโลก คือ ประเทศจีน
สำหรับประเทศไทย เพจการตลาดวันละตอน ได้ใช้ social listening สำรวจจักรวาลชาเขียวพบว่าผู้บริโภคชาวไทยดื่มมัทฉะเป็นจำนวนมากและกว่า
ซึ่งทาง Tokyo Weekender ได้ระบุว่า แม้ว่ามัทฉะจะได้รีบความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แต่กลับดูเหมือนว่าจะหยุดชะงักลง หลังมัจฉะถูกบริโภคในจำนวนมากจนทำให้เกิดความขาดแคลนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในญี่ปุ่น
หนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้ความต้องการมัทฉะทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น แน่นอนว่าเป็นเพราะโซเชียลมีเดีย โดยความนิยมของมัทฉะใน TikTok เกิดขึ้นจากช่วงล็อกดาวน์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ทำให้เหล่าครีเอเตอร์ต่างรังสรรค์เมนูทั้งอาหารและเครื่องดื่มทำเองที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น กาแฟดัลโกนา (วิปปิ้ง) ของเกาหลี และ มัทฉะลาเต้ ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีคลิปกว่า 1.2 ล้านคลิปที่ใช้ #matcha ตามมาด้วย #matchalatte กว่า 3 แสนคลิป
ส่วน Instagram เริ่มแรกมัทฉะลาเต้ได้รับความนิยมจากบรรดาร้านคาเฟ่ ที่ทำเครื่องดื่มเพื่อความสวยงามและดึงดูดให้เหล่า Instagrammer มาถ่ายรูปและเช็คอิน เช่นร้าน Cha Cha Matcha ในนครนิวยอร์ก ร้านที่นำเสนอความสวยงามของมัทฉะ ผ่านเมนูที่สวยงาม พร้อมกับการประดับหน้าร้านด้วยไฟนีออนเก๋ว่า I love You So Matcha ที่ได้เปิดในปี 2016 เช่นเดียวกับคอนเทนต์วีดีโอทำมัทฉะลาเต้เองที่บ้าน หรือแจกสูตรมัทฉะ โดยมีผู้ใช้ #mtacha แล้วกว่า 8.3 ล้านคลิป ตามมาด้วย #matchalatte 1.7 ล้านคลิป
อิทธิพลของสื่อโซเชียลมีเดียส่งผลให้ความต้องการของมัทฉะพุ่งสูง ส่งผลเป็นวงกว้างต่อร้านค้าและแบรนด์ชาทั่วโลก แม้จะเป็นประเทศต้นตำหรับแห่งมัทฉะอย่างประเทศญี่ปุ่น โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2024 บริษัทต่างๆในญี่ปุ่น ได้พยายามรักษาอุปทานบางส่วนไว้ ร้านค้าเฉพาะทางในโตเกียวและเกียวโตจำกัดการซื้อไว้เพียง 1 ชิ้นต่อคน โดยเฉพาะรสชาติที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด และยังมีการติดป้ายหน้าร้าน ‘จำกัดสิทธิในการซื้อมัทฉะต่อคน เนื่องจากช่วงนี้ความต้องการของมัทฉะมีมากเกินกำลังการผลิต’
สุดท้าย Ippodo แบรนด์ชาเขียวชื่อดังของญี่ปุ่น ได้มีประกาศขึ้นราคาสำหรับผลิตภัณฑ์มัทฉะ ตามมาด้วยแบรนด์Marukyu Koyamaen ที่ได้ประกาศขึ้นราคาเช่นเดียวกัน พร้อมกับเตือนลูกค้าไม่ให้สั่งซื้อทางออนไลน์เพื่อการขายต่อ
นอกจากนี้ ร้านค้าในต่างประเทศ ก็มีข้อจำกัดที่คล้ายกันเช่นกัน ร้านกาแฟและร้านค้าปลีกในซิดนีย์เริ่มจำกัดจำนวนการซื้อ และตามรายงานของ The Strait Times ธุรกิจในสิงคโปร์ได้ขึ้นราคาผลิตภัณฑ์มัทฉะมากถึง 15% ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม 2024 ที่ผ่านมา
ได้โพสข้อความบนเพจ Facebook ของทางร้าน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2024 ที่ผ่านมา เรื่องนโยบายในการเติมสต็อคสินค้าช่องทางออนไลน์
1. เราจะมีการเติมสต็อคสินค้าให้ได้ครอบคลุมและหลากหลายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในเวลา 18.30 น. ของทุกวัน
2. เราขออนุญาตจำกัดการซื้อสินค้าบางรายการ ต่อบัญชี ต่อเดือน เอาไว้ให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าทุกๆท่านให้ได้มากที่สุด จนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ยน
3. การจัดส่งสินค้าถึงปลายทาง อาจใช้ระยะเวลา 3-5 วันทำการ ซึ่งเป็นไปตามการให้บริการของทางขนส่งครับ
ได้โพสข้อความบน Instagram ของทางร้านเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2024 ที่ผ่านมา ว่าจะระงับการขายผงมัทฉะทุกชนิดอย่างไม่มีกำหนด
เนื่องจาก ณ สถาณการณ์ปัจจุบัน ผงมัทฉะกำลังประสบกับความขาดแคลน และยังเกิดปัญหาการกักตุนสินค้า และการซื้อเพื่อนำไปแสวงหากำไรเป็นอย่างมาก เราจึงขอระงับการขายผงมัทฉะทุกชนิดอย่างไม่มีกำหนดจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
ขออภัยอย่างยิ่งในความไม่สะดวกที่ท่านอาจจะได้รับ
ขอขอบพระคุณสำหรับความเข้าใจและการสนับสนุนของทุกท่านอย่างดีมาโดยตลอด
2025©, MTCH™
เหตุผลหลักที่ทั่วโลกต้องเผชิญการขาดแคลนของผงมัทฉะ เนื่องจากใบชาที่ผลิตไม่ทนต่อความต้องการของนักดื่ม
Tokyo Weekender ได้อธิบายว่า ไร่ชาที่มีกำลังการผลิตเก็บเกี่ยว หากต้องการได้ใบชาที่มีคุณภาพที่สุด คือ ‘คุณต้องรอ จนกว่าใบชาจะพร้อม และในส่วนนี้ไม่สามารถเทคโนโลยีอะไรมาช่วยได้ นอกเหนือจากธรรมชาติ’
โดยเหตุผลหลักที่ทำให้มัทฉะมีสถานะพรีเมี่ยมและราคาที่สูงขึ้นก็คือกระบวนการผลิตที่ละเอียดอ่อนและใช้เวลานาน ใบชาที่ดีที่สุดจะเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้งเท่านั้น ภายในกรอบเวลาที่จำกัดมากไม่ถึงสองเดือน จึงไม่น่าแปลกใจที่มัทฉะในญี่ปุ่นจะหมดในปีนี้
ใบชาที่ดีที่สุด (“มัทฉะฟลัชครั้งแรก”) ได้รับการเก็บเกี่ยวในเดือนเมษายนและพฤษภาคม และไม่มีทางที่เกษตรกรจะคาดการณ์ได้ว่าเครื่องดื่มจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณนับแต่นั้นมา แม้ว่าใบมัทฉะเกรดต่ำกว่า "ล้างครั้งที่ 2" และ "ล้างครั้งที่ 3" จะมีการเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม และตั้งแต่เดือนกันยายนถึงตุลาคม ตามลำดับ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมจากแบรนด์หรือลูกค้ามากนัก
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้คงเป็นเรื่องน่าเศร้าของ Matcha Lover ที่ไม่สามารถดื่มมัทฉะได้อย่างใจต้องการเหมือนแต่ก่อน ทั้งข้อจำกัดเรื่องการซื้อสินค้า ราคาที่เพิ่มสูงขึ้น หรือไม่สามารถหาซื้อได้ในท้องตลาด
อ้างอิง : NY Post