ทีม SPOTLIGHT ได้รวบรวมสาระสำคัญในหัวข้อการบรรยาย Web3: Unveiling the Future of the Internet โดยคุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา (ท็อป) นักธุรกิจผู้ก่อตั้งบริษัทบิทคับ ศูนย์แลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี จากงาน TechSauce Global Summit 2023
คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ได้กล่าวว่า อีก 5 ปีข้างหน้า 40%ของความรู้และทักษะเราอาจล้าสมัย และอีก 10ปีข้างหน้า 1 ใน 3 ของประชากรโลกทักษะต่างๆอาจใช้ไม่ได้เลยเสียด้วยซ้ำ
นอกจากนี้ คุณท็อปยังได้เน้นย้ำว่าหลังจากปี 2024 โอกาส เงินและการลงทุนจะไหลเข้ามาสู่อุตสหกรรมใหม่ๆในภูมิภาคอาเซียน หรือเรียกได้ว่าเป็นการก้าวสู่ยุคทอง เพราะฉะนั้นเราควรเตรียมพร้อมรับมือทั้ง ReSkills และ UpSkills เพื่อเพิ่ม Skills Set ของเราให้เท่าทันและพร้อมรับกับนวัตกรรมใหม่ๆที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกของเรา
จุดกำเนิดของโลกไร้พรมแดน
หากเราย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2512 หรือราวประมาณ 54 ปีที่แล้ว ‘อินเตอร์เน็ต’ นับว่าเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มนุษย์หลายคนนิยามว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ แต่นวัตกรรมนี้กลับสร้างโลกไร้พรมแดนให้กับมนุษย์โลกได้เชื่อมต่อกันมากขึ้น และได้สร้างสิ่งต่างๆให้พัฒนามากขึ้นจนถึงโลกเราในยุคปัจจุบัน
Web1.0 : นับว่าเป็นอินเตอร์เน็ตยุคแรก ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์ในช่วงยุค 90 ซึ่งตอนนั้นการเข้าไปในโลกอินเตอร์เน็ต เปรียบเสมือนเรานั่งอ่านหนังสือ ที่สามารถเข้าไปนั่งอ่านได้เท่านั้น เช่น website, blog และเป็นเพียงการสื่อสารแค่เพียงทางเดียวเท่านั้น
Web2.0 : หลังจากที่อินเตอร์เน็ตได้พัฒนาขึ้นจากมนุษย์ มนุษย์ผู้ซึ่งไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนา จากการท่องโลกอินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูล สู่การสร้างคอมมูนิตี้เพื่อตอบโต้บทสนทนา (Two-Way Communication) ใน Social Media เช่น Facebook, YouTube เรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้
Web3.0 โลกอินเตอร์เน็ตแห่งอนาคต
ยุคแห่งอนาคต ที่อินเตอร์เน็ตจะมาจากฟากฟ้า เพราะจะเป็นการกักเก็บข้อมูล (Data) แบบการกระจายออกจากศูนย์กลาง (Decentralized) ซึ่งแตกต่างจาก Web 2.0 ที่ข้อมูลจะถูกจัดเก็บจากศูนย์กลาง (Centralized) มากกว่า
นี่นับว่าเป็นโลกอัจฉริยะที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น The Next Era of the Internet ซึ่งเป็นการรวมตัวของเทคโนโลยีล้ำสมัย อย่าง AI, Blockchain, Big Data หรือ Machine Learning (ML) เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตเรา ซึ่งนี่นับว่าเป็นการทำงานที่เรียบเรียง วิเคราะห์ข้อมูลได้ใกล้เคียงกับมนุษย์เรา และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม หาก AI สามารถอ่านความคิดคนได้ โดยที่ไม่ต้องขออนุญาติ นั้นก็อาจตามมาด้วย ‘ภัยแอบแฝง’ ที่ใครต่อหลายคนกลัวนั้นก็คือความปลอดภัย (Privacy) และเมื่อไม่นานมานี้ ประเทศไทยก็ได้มีการพูดถึงกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล หรือกฎหมาย PDPA ในจำนวนที่มากขึ้น
ซึ่งคุณท็อป ได้กล่าวว่า โลกของเราควรจะมีกฎหมายใหม่ทั่วโลก เพื่อรองรับและคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลให้ครอบคลุมมากขึ้น