SPOTLIGHT ชวนทุกคนมาดู 7 เทรนด์การตลาดที่ต้องรู้ปี 2024 เมื่อผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม
จากการเข้ามาของเทคโนโลยี Generative AI อย่าง Chat GPT ที่ได้สั่นวงการการตลาดเมื่อปี 2023 ที่ผ่านมา ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสินเชิงด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในปี 2024 อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตรามยุคสมัย
จากแต่ก่อนผู้บริโภคมักหาข้อมูลต่างๆ ด้วยการใช้คีย์เวิร์ด หรือคำสั้นๆ เช่น ร้านอาหาร แต่ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาค้นหาข้อมูลด้วยการใช้คีย์เวิร์ดที่ยาวกว่าเดิม และมาในเชิงรูปแบบของประโยคคำถาม เช่น ร้านอาหารเกาหลีอร่อยๆ แถวสีลม
โดยคาดว่า พฤติกรรมเหล่านี้สืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีที่ชาญฉลาดขึ้น เช่น การใช้งาน Chatbot ในปี 2023 ที่ทำให้ผู้บริโถคต้องพิมพ์คำถามอย่างละเอียด หรือ ต้องพิมพ์เป็นประโยคยาวๆ เพื่อให้ Chatbot สามารถตอบคำถามได้อย่างเชิงลึก ละเอียด และแม่นยำมากขึ้น
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าตอนนี้ กลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่มักชื่นชอบประสบการณ์สนทนาของมนุษย์ที่แท้จริงทำให้ Content การเล่าเรื่อง สามารถสร้างประสบการณ์ได้มากการขายตรงทั่วไป และสามารถดึงดูดผู้ชมได้มากกว่าเก่า
ดังนั้น นักการตลาดควรเริ่มทำ Content เล่าเรื่องเพื่อสร้างประสบการณ์ที่เป็นมิตรแก่ผู้ติดตาม เช่น บริบท น้ำเสียง โทนในการเล่าเรื่อง บทสนทนาต่างๆ ทําให้หัวข้อและธีมที่ซับซ้อนง่ายขึ้นราวกับว่าคุณกําลังพูดคุยกับเพื่อนที่บาร์ และดึงพวกเขาด้วยเรื่องราวที่ ผู้คนจําเป็นต้องรู้ถึงตอนจบ
ในปีนี้ คําค้นหา "การตลาดเชิงโต้ตอบ" มีปริมาณการค้นหาสูงขึ้นอย่างมาก เพื่อการปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้ลูกค้าและผู้มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าของคุณมีส่วนร่วมมากขึ้น
เช่น เว็บไซต์การท่องเที่ยวเห็นประโยชน์อย่างมากในการให้บริการทัวร์ 3 มิติ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถท่องไปในพื้นที่เสมือนในทิศทางใดก็ได้ที่พวกเขาต้องการ
เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมที่จะได้ข้อมูลการติดต่อสําหรับอีเมล sign-ups และอื่นๆอีกมมาย
การลงชื่อลูกค้าในการทำการตลาดผ่านอีเมลหรือการกําหนดเป้าหมายโฆษณาจะเพิ่มความเป็นส่วนตัวที่แท้จริงซึ่งยากที่ลูกค้าจะเพิกเฉยได้
ผู้คนสนุกกับการรับ Content ในรูปแบบต่างๆ การนํา Content มาใช้งานด้วยสร้างบล็อก วิดีโอ ทวีตสั้น ๆ หรืออินโฟกราฟิก คุณจะดึงดูดผู้ชมในวงกว้างและเพิ่มการมีส่วนร่วมได้มากขึ้น โดยทําให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
4.การตลาดแบบซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อสังคม
ปัจจุบันผู้บริโภคเห็นวิธีการทำการตลาดมากหลากหลายรูปแบบ จนสามารถแยกออกได้ว่าคอนเทนต์ไหน คือ การรีวิวจากผู้ใช้งานจริง คอนเทนต์ไหน คือ โดนจ้างมา
ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจในความรับผิดชอบและจริยธรรมของทางแบรนด์มากขึ้น ไม่ได้สนใจเฉพาะตัวสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว
เช่น เรื่องของการรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม, การทำประโยชน์ต่อสังคม, การลดปริมาณขยะ, การดูแลสวัสดิการของพนักงาน หรือแม้แต่ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมหากแบรนด์ทำเรื่องผิดพลาด
ในช่วงหลายปีก่อนหน้า การใช้วีดีโอในการทำการตลาด ถือว่า เป็นเรื่องปกติที่ใช้ก็เห็นกัน เช่น การรีวิวผ่าน YouTuber แต่ในช่วง 2-3 ปีหลัง นับตั้งแต่การถือกำเนิดของแพลต์ฟอร์มวีดีโอสั้น อย่าง TikTok ทำให้เทรนด์การตลาด เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
ผู้บริโภคเริ่มหันมาเสพวีดีโอสั้นมากขึ้น เนื่องจากเหมือนบทสรุปของทุกอย่าง ทั้งสั้น ง่าย กระชับ และได้ใจความมากกว่าวีดีโอยาวๆ ทำให้เทรนด์วีดีโอสั้นได้รับความนิยมอย่างมาก จนทำให้แพลตฟอร์มอื่นๆเริ่มหันมาเปิดตัวตาม เช่น YouTube Short จาก YouTube หรือ Reels Facebook / Instagram จากค่าย Meta
แต่ก่อนเราอาจจะคุ้นชินกับการใช้ Google เพื่อค้นคว้าหาขอมูลต่างๆ และ Social Media เป็นเพียงเครื่องมือที่สร้างความบันเทิงให้กับเรา แต่ในช่วงปลายปี 2023 ที่ผ่านมา หลายๆคนเริ่มใช้ Social Media ในการหาเรื่องที่เราสนใจ เช่น Instagram, Facebook, X (Twitter) หรือ TikTok
การพัฒนาของโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่เริ่มจนถึงตอนนี้มีผู้คนกว่า 4.80 พันล้านคนทั่วโลกใช้โซเชียลมีเดีย โดยมี 150 ล้านคนเข้ามาสู่โลกออนไลน์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยคนทั่วไปใช้แอปโซเชียลมีเดียเฉลี่ย 6.6 แอปในแต่ละเดือน
ยกตัวอย่าง แพลตฟอร์มที่มาแรงที่สุดอย่าง TikToK
จึงไม่น่าแปลกใจนัก ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจากการค้นหาผ่าน Google มาค้นหาในโซเชียลมีเดียแทน เพราะมีรูปแบบ Content ที่เราต้องการเสพ นั่นก็คือ วิดีโอสั้น
หลายๆคนอาจเคยได้ยินว่า หากเราอยากสร้างโอกาสทางธุรกิจ กลยุทธ์ที่เราต้องใช้ คือ การเข้าถึงกลุ่มคนเป้าหมาย ผ่านการยิงโมษณาเจาะกลุ่มใหญ่ๆ ตามความชอบ ความสนใจ เพศ และ อายุ
แต่หลังจากนี้นักการตลาดควรหันมาการทำการตลาดแบบเจาะลึกเฉพาะบุคคลมากขึ้น หรือ Hyper-personalization
การตลาดแบบ Hyper Personalization คือ การตลาดที่สามารถเข้าถึงตัวของลูกค้าได้แบบเฉพาะเจาะจง และลึกไปมากกว่าการทำการตลาดแบบ Personalization เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากกว่าที่เคย และที่สำคัญการทำการตลาดในรูปแบบนี้ ต้องมีการใช้ข้อมูลจำนวนมาก เรียกว่า Big Data เพื่อให้ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์ลูกค้าแต่ละรายให้ลึกลงไปได้อีก
ทั้งนี้ Hyper-Personalization จะแตกต่างจาก Personalization ตรงที่สามารถรู้ถึงตัวตน นิสัยใจคอ ความชอบ พฤติกรรมของลูกค้ารายนั้นๆ ได้ลึกกว่าแบบ Personalization ปกติ เพราะจุดประสงค์ของ Hyper-Personalization คือ ต้องการให้แบรนด์รู้จักกับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสนองตามความต้องการของลูกค้าอย่างตรงใจ เช่น