ข่าวร้ายสำหรับวงการรถยนต์ไฟฟ้า! ราคาลิเทียม แร่สำคัญของแบตเตอรี่ ร่วงแรงกว่า 80% ภายใน 1 ปี เหลือเพียงตันละ 13,200 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2020 สาเหตุหลักมาจากความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในจีนที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้มีลิเทียมล้นตลาด
จากรายงานของทาง ft.com ระบุว่า ในเวลานี้อาจเป็นสถานการณ์ที่เลวร้าย สำหรับบริษัทผู้ผลิตลิเทียมโดยเฉพาะในออสเตรเลีย ที่เป็นผู้ผลิตลิเทียมรายใหญ่ที่สุดของโลก(คิดเป็น 40% ของตลาด) ต้องลดกำลังการผลิตลงเนื่องจากความต้องการที่ลดลง เนื่องจากสต๊อกวัตถุดิบลิเธียมสะสมอยู่ในห่วงโซ่อุปทานมากจนเกินไป ปัญหาหลักมาจาก ความต้องการลิเทียมที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในจีน ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ยอดขายไม่โตตามคาด มีการแข่งขันลดราคาอย่างหนัก จนผู้ผลิตหลายรายขาดทุน ถึงแม้ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกในปี 2022 จะเพิ่มขึ้น 84% แต่ในปี 2023 เติบโตเพียง 25% เท่านั้น
William Adams หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของ Fastmarkets กล่าวว่า "ช่วงนี้มีการปรับโครงการผลิตลิเทียมใหม่เกิดขึ้นมากเกินไปในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นเวลานี้โครงการทั้งหลายควรหยุดหรือชะลอการผลิตออกไปก่อน" ถึงแม้ราคาลิเทียมในเวลานี้จะไม่ร่วงต่ำเท่าช่วงปี 2019-2020 ซึ่งเคยแตะจุดต่ำสุดที่ตันละ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น แต่ราคาปัจจุบันก็ส่งผลกระทบต่อกำไรของผู้ผลิตหลายรายอยู่ดี
ด้าน โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) คาดการณ์ว่า ปีนี้จะมีลิเทียมส่วนเกินราว 200,000 ตัน หรือคิดเป็น 17% ของความต้องการแร่ลิเทียมจากทั่วโลก ซึ่งในเวลานี้จำเป็นต้องมีการ "ลดกำลังการผลิตโดยเร่งด่วน" เพื่อรอให้ตลาดกลับมาสมดุลก่อน ขนาดที่ฝั่งนักการเมืองและผู้บริหารในออสเตรเลียยัคงมีกังวลว่า ผู้ผลิตในประเทศจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด จากการที่ราคาแร่ ลิเทียม ร่วงลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากโครงการของพวกเขาเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบ
จากสถานการณ์เลวร้ายในวงการลิเทียมนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่ผู้ผลิตเหมืองจนถึงผู้ผลิตแบตเตอรี่ ยังต้องจับตาดูว่าสถานการณ์จะคลี่คลายไปในทิศทางไหนต่อไป
รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรออสเตรเลีย นางสาวแมเดอลีน คิงค์ เรียกประชุมใหญ่กับผู้บริหารวงการเหมือง เมื่อวันที่ 18 มกราคม เพื่อหารือ "แผนเร่งด่วน" รับมือสถานการณ์ ราคาลิเทียมและนิกเกิลร่วงฮวบ ซึ่งส่งผลกระทบหนักต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า จีนอาจใช้โอกาสราคาตก คว้าส่วนแบ่งตลาดลิเทียมโลกเพิ่มขึ้น โดยล่าสุด บริษัทผู้ผลิตจีนอย่าง Ganfeng Lithium เพิ่งตกลงเพิ่มปริมาณการซื้อแร่สปอดยูเมเนียม (ส่วนประกอบสำคัญในการสกัดลิเทียม) จากบริษัท Pilbara ของออสเตรเลีย เกือบสองเท่า ภายใน 3 ปี
แม้ผู้ผลิตบางรายในจีนที่ใช้แร่ lepidolite (ต้นทุนสูง คุณภาพต่ำ) จะลดการผลิตลงบ้าง แต่ผลลัพธ์ยังไม่เป็นไปตามคาด นอกจากนี้ โครงการเหมืองแร่ลิเทียมใหม่ในแอฟริกาที่บริษัทจีนดำเนินการ ก็ยังขาดทุน แต่อัตราการลดกำลังการผลิตน้อยกว่าที่คาด
ด้านนายมาร์ติน แจ็คสัน หัวหน้าฝ่ายวัตถุดิบแบตเตอรี่ CRU Group กล่าวว่า น่าแปลกใจที่ผู้ผลิตใหญ่หลายรายจากตะวันตก ลดการลงทุน ทั้งๆ ที่มีต้นทุนต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม เขายังยอมรับว่า ผู้ผลิตบางราย คาดการณ์ราคาอนาคตสูงเกินจริง
ด้าน นักวิเคราะห์ Citi กล่าว ว่า "ความต้องการและปริมาณลิเทียมที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ก็ส่งผลต่อราคาได้มาก ทำให้เวลานี้ตลาดจึงเผชิญกับความผันผวนสูง" ดังนั้นหากการลดกำลังการผลิตลง เพื่อรอให้ตลาดมีช่องทางในการฟื้นตัว ก็อาจนำไปสู่การฟื้นของ ราคาแร่ลิเทียม อีกครั้งในช่วงครึ่งหลังปี 2024"
ที่มา ft.com