7-Eleven ยังคงโชว์ฟอร์มแกร่ง! ผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2567 สร้างความประทับใจด้วยรายได้ทะลุ 1.1 แสนล้านบาท กำไรพุ่ง 10% สะท้อนถึงความสำเร็จในการปรับตัวและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ บทความนี้จะพาคุณเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ 7-Eleven ตั้งแต่กลยุทธ์การขายสินค้าไปจนถึงการขยายสาขาและการเติบโตของช่องทางออนไลน์ พร้อมวิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตและมุมมองอนาคตของธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่นี้
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เจ้าของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในประเทศไทย กัมพูชา และ สปป.ลาว ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2567 ที่น่าประทับใจ โดยมีรายได้จากการขายและการให้บริการสูงถึง 112,044 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึง 6,742 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 10.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ 7-Eleven ในตลาดค้าปลีกไทยและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ยอดขายเฉลี่ยต่อสาขาต่อวันที่สูงถึง 86,656 บาท ยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมเพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ 7-Eleven ในการดึงดูดลูกค้าจำนวนมากและสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่อง รวมถึง จำนวนนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อน
นอกจากนี้ มาตรการของรัฐในช่วงวันหยุดยาวก็มีส่วนช่วยสนับสนุน ซึ่งธุรกิจร้านสะดวกซื้อยังคงใช้แผนกลยุทธ์ที่สอดรับกับสถานการณ์ตลอดเวลา ซึ่งคำนึงถึงการรักษาฐานลูกค้าเดิม และขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ โดยนำเสนอสินค้าใหม่ๆ พร้อมกับโปรโมชั่น เพื่อดึงดูดลูกค้าในแต่ละช่วงเวลา และรายได้จากการขายสินค้าส่วนเพิ่มผ่านกลยุทธ์ O2O อาทิ 7-Delivery และ All Online ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยมีสัดส่วนประมาณ 11% ของรายได้จากการขายสินค้ารวม
สัดส่วนรายได้รวมของ CPALL มาจากสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งคิดเป็น 5/% จากของบริษัท และ 48% มาจากธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งหลักๆ แล้วมาจากการเติบโตของรายได้ของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ โดยเลือกใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ สัดส่วนรายได้ที่ชัดเจนว่าสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มสร้างรายได้หลักให้กับ 7-Eleven ถึง 76.3% ในขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคมีสัดส่วนเพียง 23.7% แต่สินค้าอุปโภคก็ยังมีความสำคัญต่อ 7-Eleven ในฐานะสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการจำเป็นของลูกค้า เช่น สินค้าทำความสะอาดร่างกาย ผลิตภัณฑ์ซักผ้า และของใช้ในชีวิตประจำวัน 7-Eleven เน้นการคัดสรรสินค้าคุณภาพดีและมีแบรนด์ที่หลากหลายเพื่อให้ลูกค้ามีตัวเลือกที่ตรงกับความต้องการ
ตัวเลข 76% บ่งบอกถึงความสำคัญของสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่มีต่อ 7-Eleven อย่างชัดเจน กลยุทธ์นี้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และมีตัวเลือกหลากหลาย 7-Eleven ตอบโจทย์นี้ได้อย่างดีด้วยการนำเสนอสินค้าอาหารพร้อมทานหลากหลายประเภท ตั้งแต่ข้าวกล่อง เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ไปจนถึงเครื่องดื่มร้อน-เย็นและสินค้าเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ 7-Eleven ยังมีการพัฒนาและออกสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตื่นเต้นและดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการซ้ำ
ในไตรมาส 2 เซเว่น อีเลฟเว่นยังคงเดินหน้าขยายสาขา ในธุรกิจร้านสะดวกซื้อ เปิดสาขาใหม่ รวมทั้งสิ้น 124 สาขา ทำให้มีจำนวนร้านสาขาทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 14,854 สาขา แบ่งเป็น
โดยสาขาส่วนใหญ่ เป็นสาขาแบบ Stand Alone ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 86% ของสาขาทั้งหมด และที่เหลือเป็นแบบตั้งอยู่ตามสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 14 % การขยายสาขาช่วยเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าและสร้างโอกาสในการเติบโตของรายได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการขยายสาขาในต่างประเทศ โดยมีสาขาในกัมพูชา 87 สาขา และลาว 6 สาขา ซึ่งเป็นการขยายตลาดและสร้างการเติบโตในระยะยาว
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของรายได้ คือ ยอดขายเฉลี่ยต่อสาขาต่อวันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการดึงดูดลูกค้าและเพิ่มมูลค่าการซื้อต่อครั้ง ยอดขายเฉลี่ยต่อสาขาต่อวันที่ 86,656 บาท แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าและบริการ รวมถึงการจัดโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ
บริการ 7-Delivery และ All Online ยังคงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนรายได้ โดยปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 11% ของรายได้จากการขายสินค้าทั้งหมด นี่เป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จของเซเว่น อีเลฟเว่นในการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบายในการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ จำกัด(มหาชน) ได้ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ได้มีการประชุมนักวิเคราะห์กับผู้บริหาร CPALL ซึ่งบริษัท ยังคงเป้าหมายขยายสาขา 700 สาขา ซึ่งเปิดไปแล้ว 300 สาขาในช่วงครึ่งปีแรก และคาดว่ายอดขายของสาขาเดิมจะอยู่ในเกณฑ์ดีในช่วงครึ่งหลังของปี จากครึ่งปีแรกที่ประมาณ 4%
นอกจากนี้ ยังเดินหน้าขายสินค้าใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่าง และดึงดูดลูกค้า ทำให้บริษัทคาดว่าอัตีรากำไรขั้นต้นปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นได้ตามเป้าหมายในช่่วง 0.20-0.30% และบริษัทมีแผนจะออกหุ้นกู้ชุดใหม่ วงเงินประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2567 เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้เดิม ซึ่งคาดว่าจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทลดลงจาก 5% จะเหลือประมาณ 4% และจะทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลงประมาณ 120 ล้านบาทต่อปี
KGI ยังคงแนะนำ "ซื้อ" หุ้น CPALL ซึ่งประเมินราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 ไว้ที่ 77.00 บาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และการขยายสาขาใหม่ทำได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ และถูก disrubtion จากเทคโนโลยี มีความเสี่ยงด้านการขนส่งสินค้า และการถูกยกเลิกเครื่องหมายการค้า
รวมถึง บริษัทยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล 7-Eleven จะต้องปรับตัวและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว