ธุรกิจการตลาด

TikTok & Meta งานเข้า หลังอินโดนีเซีย สั่งห้ามขายของ ผ่าน Social Media

28 ก.ย. 66
TikTok & Meta งานเข้า หลังอินโดนีเซีย สั่งห้ามขายของ ผ่าน Social Media
ไฮไลท์ Highlight
มาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องร้านค้าออฟไลน์ในประเทศ เนื่องจากการขายของผ่านโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะ TikTok Shop มีการแข่งขันการกดราคาสินค้า และอาจคุกคามผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดกลางเจ้าอื่นได้

istock-1237818396

ทำไม อินโดนีเซีย ถึงห้ามซื้อของผ่านโซเชียลมีเดีย

รัฐบาลอินโดนีเซีย

ได้ออกกฎหมายใหม่ “ห้ามซื้อสินค้าทางสื่อสังคมออนไลน์ หรือ ห้ามทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย”

Jerry Sambuaga รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้า ประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการเปิดเผยว่า

มาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องร้านค้าออฟไลน์ในประเทศ เนื่องจากการขายของผ่านโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะ TikTok Shop มีการแข่งขันการกดราคาสินค้า และอาจคุกคามผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดกลางเจ้าอื่นได้

โดย Sambuaga ได้กล่าวเสริมว่า บริษัทต้องเลือกถือระหว่างใบอนุญาตการถือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรือ E-Commerce ผู้ประกอบการยังคงสามารถใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อการโปรโมทสินค้าหรือการบริการ แต่ห้ามมีการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างเด็ดขาด

wamendag-jerry-sambuaga-e1682_1

ภายใต้กฎเกณฑ์ข้อใหม่นี้ มีผลบังคับใช้ทันที และไม่ใช่เพียงแค่ TikTok Shop เท่านั้น แต่รวมถึง Facebook และ Instagram อีกด้วย

ขณะที่โฆษก TikTok อินโดนีเซีย ออกมาให้ความเห็นว่า "เราเคารพกฎหมายที่ทางรัฐบาลอินโดนิเซียได้ออกมา แต่การแยกโซเชียลมีเดียกับ E-Commerce ออกจากกัน เป็นการขัดขวางนวัตกรรม ซึ่งจะส่งผลเสียกับธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงผู้บริโภคในประเทศมากกว่าเดิม"

ทำไมคนนิยมซื้อสินค้าผ่าน TikTok Shop

TikTok Shop มีการทำงานคล้ายคลึงกับ E-Commerce เจ้าอื่น ที่มีระบบรองรับการสต็อกสินค้า และ การรับเงินผ่านการเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคาร หรือการเก็บเงินปลายทาง

ความได้เปรียบของ TikTok Shop

หากเทียบกับคู่แข่งอย่าง Lazada ,Shopee หรือ Tokopedia นั้น ก็คือ TikTok เป็นแอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดียที่คนใช้งานกันเป็นประจำ และเสพคอนเทนต์ที่สนุกสนานในกิจกรรมยามว่างอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยากหากผู้ใช้งานปกติ จะเป็นบทบาทเป็นผู้ซื้อหรือลูกค้า

tiktokshop02_1

 

ตลาด E-Commerce ใน อินโดนีเซีย

มูลค่าธุรกรรม E-Commerce ที่อินโดนีเซียปี 65 มีมูลค่าสูงถึง 52,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็น

  • Shopee - 36% หรือมูลค่า 18.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • Tokopedia - 35% หรือมูลค่า 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • Lazada - 10% หรือมูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • Bukalapak - 10% หรือมูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • TikTok Shop - 5% หรือมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(สามารถแตะ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพียง 3 เดือนแรกในปี 66)
  • BliBli - 4% หรือมูลค่า 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 istock-1405961113

อินโดนีเซีย HUB ใหญ่ของ TikTok

TikTok ได้เพิ่งได้มีการเปิดเผยกลยุทธ์ เจาะตลาดการช็อปปิ้งในมิติใหม่ด้วยคอนเทนต์ที่สนุกสนานเพลิดเพลิน อย่าง Shoppertainment ฟีเจอร์การซื้อขายสินค้าออนไลน์ผ่าน TikTok Shop

โดย TikTok Shop ได้เปิดตัวใน 10 ประเทศในอาเซียนตั้งแต่ปี 2021 โดยเปิดตัวที่อินโดนีเซียเป็นที่แรก จึงค่อยๆขยายไปยังประเทศอื่นอย่างประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย

แม้ว่า TikTok จะมีการประกาศการลงทุน กว่า 400 ล้านบาทในภูมิภาคอาเซียน แต่ประเทศอินโดนีเซีย เหมือนตัวเป็นตัวเอกที่ TikTokให้ความสำคัญมากที่สุด หรืออาจกล่าวได้เลยว่าเป็น HUB หลัก ศูนย์กลางในอาเซียน

อย่างไรก็ตาม ประเทศอินโดนีเซีย ยังถือว่าเป็นตลาดใหญ่ลำดับ 2 รองเพียงแค่สหรัฐฯ เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันอินโดนีเซียมีจำนวนผู้ใช้ TikTok เดือนละ 125 ล้านคน แบ่งเป็นธุรกิจร้านค้ากว่า 6 - 7 ล้านราย บน TikTok Shop

ทำให้หลายคนต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็น ไม่พอใจถึงมาตรการเหล่านี้ และอยากให้รัฐบาลอินโดนีเซียลองพิจารณาใหม่อีกครั้ง เพราะเรื่องนี้กระทบโดยตรงต่อ SME รายย่อยจำนวนมาก เช่นเดียวกัน ก็อาจส่งผลเสียต่อผู้ซื้อให้มีตัวเลือกน้อยลง

ด้านโฆษก TikTok อินโดนีเซีย ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “การขายของผ่านโซเชียลมีเดียเกิดขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาร้านค้ารายย่อย หรือร้านแบบดั้งเดิมในท้องถิ่น ให้มีช่องทางการขายและดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น”

-1x-1

ทั้งนี้ เมื่อเดือนมิ.ย.66 Shou Zi Chew ซีอีโอของ TikTok ได้ประกาศแผนการลงทุนเพิ่มเติมที่เอเชียตะวันออกเชียงใต้ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย อีกหลายพันล้านดอลลาร์  

แต่จากมาตรการข้อบังคับที่เป็นไป อาจส่งผลให้ TikTok ต้องหา HUB ใหม่ในภูมิภาคเอเชียน หรือแนวทางปรับกลยุทธ์ใหม่ๆที่ประเทศอินโดนีเซีย

screenshot2023-09-28153405 

ที่มา Business Indonesia

CNBC

REUTERS

The Guardian

 

advertisement

SPOTLIGHT