ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนใช้ชีวิตเร่งรีบ บวกกับเทรนด์การทำงานที่บ้าน (Work from Home) และการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคของทานเล่นหรือสแน็ค (Snacks) เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย ตลาดสแน็คทั่วโลกมีมูลค่ามหาศาล แตะ 6.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เหตุผลหลักมาจากความสะดวก รวดเร็ว และความเพลิดเพลินที่ช่วยผ่อนคลายระหว่างทำงาน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ที่นิยมใช้เวลากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาศัยอยู่คนเดียวหรือเป็นครอบครัวขนาดเล็ก
จากข้อมูลจากยูโรมอนิเตอร์ (Euromonitor) บริษัทวิจัยตลาดชั้นนำ ระบุว่า ในปี 2566 ตลาดค้าปลีกสแน็คของโลกมีมูลค่ารวม 643,805.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นประเภทหลัก ดังนี้
โดยตลาดค้าปลีกสแน็คมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 เฉลี่ยประมาณร้อยละ 5.4 ต่อปี
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) อธิบายว่า พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่หันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สอดคล้องกับเทรนด์การบริโภคของคนรุ่นใหม่ที่เน้นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ทางภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ลดการบริโภคหวาน มัน เค็ม และสนับสนุนผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผู้ผลิตสแน็คหันมาพลิกสูตร ปรับวัตถุดิบ เพิ่มสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
สำหรับในปี 2566 ที่ผ่านมาตลาดค้าปลีกสแน็คเพื่อสุขภาพของโลกมีมูลค่าสูงถึง 315,399.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี ประเภทสแน็คที่ได้รับความนิยม ได้แก่
โดยประเทศที่มีอัตราการเติบโตของการบริโภคส แน็คเพื่อสุขภาพสูง ได้แก่ จีน ฮ่องกง ชิลี บราซิล อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เมื่อพิจารณามูลค่าตลาดค้าปลีกสแน็คของไทย ในปี 2566 พบว่า ตลาดค้าปลีกสแน็คของไทยในปี 2566 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 105,200.7 ล้านบาท แบ่งตามประเภทดังนี้
ที่น่าสนใจคือตลาดขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพในประเทศไทยมีมูลค่า 28,314.8 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 11.3% ต่อปี สินค้าสแน็คเพื่อสุขภาพที่มียอดขายสูง 5 อันดับแรก ได้แก่
ในปี 2566 สินค้าสแน็คที่มีการเติบโตโดดเด่น ได้แก่
ข้อมูลจาก Global Trade Atlas (GTA) เผยให้เห็นถึงศักยภาพของสแน็คไทย โดยในปี 2566 มูลค่าการส่งออกสแน็คไทยอยู่ที่ 1,954.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโต 5.8% แบ่งเป็นประเภทดังนี้
สินค้าสแน็คไทยที่ส่งออกดี
1.ช็อกโกแลตและอาหารปรุงแต่งอื่น ๆ มีไส้และไม่มีไส้ 2.ผลิตภัณฑ์จากแมลง 3.ขนมปังขิง 4.โปรตีนเข้มข้นและสารเทกซ์เจอร์โปรตีน (เช่น เนื้อสัตว์จากพืช ผงโปรตีน)
5 อันดับ ตลาดส่งออกสแน็คไทย
สําหรับตลาดที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูง เช่น อาร์เจนตินา สเปน บราซิล เดนมาร์ก และอินเดีย
ประเทศไทยของเรามีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมสแน็ค ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ผสานภูมิปัญญาอันล้ำค่าในการแปรรูปอาหาร ผลลัพธ์ที่ได้คือผลิตภัณฑ์สแน็คหลากหลายชนิด ที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เทรนด์การบริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หลายประเทศจึงออกกฎระเบียบ มาตรฐาน และฉลากสินค้าเพื่อรับรองคุณภาพสินค้าและบรรจุภัณฑ์
สุดท้ายนี้ตลาดสแน็คไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ ซึ่งผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ สะท้อนจากสินค้าประเภทสแน็คจากพืช โปรตีนสูง และไม่เติมน้ำตาลเพิ่ม ที่มียอดขายเติบโตสูง ผู้ประกอบการไทยควรปรับตัว พัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เน้นใช้วัตถุดิบธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อคว้าโอกาสในตลาดสแน็คเพื่อสุขภาพที่เติบโตอย่างรวดเร็ว