ธุรกิจการตลาด

สมาคม บลจ.ระงับลงทุนใน EA เพิ่ม นำหุ้น EA มาบริหารแยก สกัดกระทบ NAV

17 ก.ค. 67
สมาคม บลจ.ระงับลงทุนใน EA เพิ่ม  นำหุ้น EA มาบริหารแยก สกัดกระทบ NAV

ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2567 ตลาดตราสารหนี้เอกชนของไทยต้องเผชิญกับแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ จากความกังวลของนักลงทุนที่นำไปสู่การเทขายหน่วยลงทุนอย่างรุนแรง ส่งผลให้หลายกองทุนต้องออกมาตรการรับมือเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หนึ่งในนั้นคือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด (บลจ. แอสเซท พลัส) ที่ตัดสินใจยุติกองทุนเปิด แอสเซทพลัส ตราสารหนี้ เดลี่ พลัส (ASP-DPLUS) เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว

วันนี้ SPOTLIGHT จะพาไปดูรายละเอียดที่เหล่า บลจ. ออกโรง แจงนโยบายกองทุน หุ้น-ตราสารหนี้ที่ EA โดนทาง ก.ล.ต.กล่าวโทษผู้บริหารทุจริต เพื่อป้องกันนักลงทุนไถ่ถอนเงินลงทุนก่อนกำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้

สมาคม บลจ.ระงับลงทุนใน EA เพิ่ม นำหุ้น EA มาบริหารแยก สกัดกระทบ NAV

กองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.กสิกรไทย ไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ของ EA อย่างแน่นอน

นางชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ AIMC และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง มีมติเป็นเอกฉันท์ให้หลักทรัพย์ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) เข้าข่าย Restricted List โดยห้ามบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) สมาชิกซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวเพิ่ม จนกว่า EA จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนได้ด้วยการแสดงแนวทางการดำเนินงานที่โปร่งใสและชัดเจน ซึ่ง AIMC จะติดตามสถานการณ์และประเมินผลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ลงทุนจะได้รับการคุ้มครองอย่างดีที่สุด

AIMC ขอยืนยันว่า บลจ. สมาชิกทุกแห่งมีความพร้อมในการบริหารจัดการสถานการณ์ และเชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจของ EA จะยังคงดำเนินต่อไปได้ โดยปัจจุบันสัดส่วนการถือครองหุ้นและตราสารหนี้ EA ของกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ. สมาชิก มีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด และ บลจ. สมาชิกได้ทยอยลดสัดส่วนการลงทุนมาอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน บลจ. สมาชิกจะใช้เครื่องมือบริหารสภาพคล่อง เช่น การจำกัดปริมาณการขายคืนหน่วยลงทุนต่อวัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงเทขายที่มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อราคา หรือการแยกหุ้นกู้ EA ออกจากพอร์ตหลัก เพื่อบริหารจัดการแยกต่างหากและไม่ให้มูลค่าของหุ้นกู้ EA ที่มีความผันผวนสูงส่งผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ของกองทุนรวม ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะช่วยป้องกันการขายหลักทรัพย์ดังกล่าวในราคาที่ไม่เหมาะสม

นางชวินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า เชื่อมั่นว่าผู้จัดการกองทุนทุกท่านได้ตัดสินใจลงทุนใน EA อย่างรอบคอบและสมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านธรรมาภิบาลที่เกิดขึ้นกับ EA สะท้อนให้เห็นว่าทุกภาคส่วนในตลาดทุนไทยต้องร่วมมือกันพัฒนากระบวนการลงทุนอย่างยั่งยืนให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการกำกับดูแลกิจการที่ดี การเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนและทันเวลา การประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) อย่างเข้มงวด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ

บลจ. แอสเซท พลัส ยุติกองทุน ASP-DPLUS เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน

กองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.กสิกรไทย ไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ของ EA อย่างแน่นอน

บลจ. แอสเซท พลัส ประกาศยุติกองทุนเปิด แอสเซทพลัส ตราสารหนี้ เดลี่ พลัส (ASP-DPLUS) เนื่องจากสถานการณ์ความกังวลในตลาดตราสารหนี้เอกชนส่งผลให้เกิดแรงขายหน่วยลงทุนอย่างรุนแรง บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถชำระเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ในสัดส่วนประมาณ 40% ภายใน 7 วันทำการ และเกือบ 100% ภายในเดือนมกราคม 2568

โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด ("บลจ. แอสเซท พลัส") ขอเรียนให้ท่านทราบว่า บริษัทฯ ได้ตัดสินใจยุติการดำเนินงานของกองทุนเปิด แอสเซทพลัส ตราสารหนี้ เดลี่ พลัส (ASP-DPLUS) โดยมีผลบังคับใช้ทันที ทั้งนี้ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม เนื่องจากสถานการณ์ความกังวลในตลาดตราสารหนี้เอกชนได้ส่งผลให้เกิดแรงขายหน่วยลงทุนอย่างรุนแรงในช่วงวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2567 ซึ่งทำให้ยอดขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิเกินกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่จำหน่ายได้แล้ว ซึ่งเข้าเงื่อนไขการเลิกกองทุนที่กำหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม

บลจ. แอสเซท พลัส คาดว่าจะสามารถดำเนินการชำระเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ในสัดส่วนประมาณ 40% ภายในระยะเวลา 7 วันทำการ ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม และเพื่อเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกท่าน

ยุติกองทุน ASP-DPLUS เพื่อปกป้องผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน

บลจ. แอสเซท พลัส ขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทฯ ได้พิจารณาอย่างรอบด้านถึงสถานการณ์ปัจจุบันของตลาดตราสารหนี้ ซึ่งกำลังประสบปัญหาความเชื่อมั่น ส่งผลให้สภาพคล่องในการซื้อขายตราสารหนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และต้นทุนในการจัดหาสภาพคล่องเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารจัดการกองทุนเปิด แอสเซทพลัส ตราสารหนี้ เดลี่ พลัส (ASP-DPLUS) ทำให้บริษัทฯ ประสบอุปสรรคในการรักษาสภาพคล่องของกองทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหน่วยลงทุน และเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม บริษัทฯ จึงตัดสินใจยุติกองทุน ASP-DPLUS เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงและต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหน่วยลงทุน

แผนการชำระเงินคืน

บริษัทฯ ได้จัดทำแผนประมาณการชำระเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน โดยคาดว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับเงินคืนในสัดส่วน 40% ภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 (คำนวณจาก NAV ประมาณการ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2567) และคาดว่าจะสามารถชำระเงินคืนได้เกือบ 100% ภายในเดือนมกราคม 2568 (คำนวณจาก NAV ประมาณการ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2567)

บลจ. แอสเซท พลัส ขอขอบคุณในความไว้วางใจ และยืนยันความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการกองทุนอย่างดีที่สุด

บลจ. แอสเซท พลัส ขอขอบคุณผู้ถือหน่วยลงทุนทุกท่านที่ได้มอบความไว้วางใจให้บริษัทฯ ดูแลเงินลงทุนของท่านเสมอมา บริษัทฯ ขอยืนยันว่า เรายังคงมุ่งมั่นในการให้บริการด้านการบริหารจัดการกองทุนอย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอให้แก่นักลงทุนทุกท่าน

บริษัทฯ ขออภัยเป็นอย่างสูงสำหรับความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ปัจจุบัน หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของท่าน หรือติดต่อ Asset Plus Customer Care ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-672-1111 ในวันและเวลาทำการ (08.30 - 17.30 น.) หรือทางอีเมล customercare@assetfund.co.th

ผลกระทบจากกรณี EA ต่อกองทุนรวม คำชี้แจงจาก บลจ. และมุมมองการลงทุน

จากเหตุการณ์ ก.ล.ต. กล่าวโทษ EA ปมทุจริต ทำสั่นสะเทือนทั้งวงการพลังงาน เมื่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  ไม่ปล่อยผ่าน! ล่าสุดออกมาแฉผู้บริหาร EA เอี่ยวทุจริตจัดซื้ออุปกรณ์ต่างประเทศและซอฟต์แวร์โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ผ่านบริษัทย่อย 2 แห่ง ฟันกำไรเข้ากระเป๋าส่วนตัวไปเบาๆ 3,465.64 ล้านบาท! งานนี้ทำเอา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ต่างๆ ได้ออกมาชี้แจงต่อผู้ลงทุนถึงสถานะการลงทุนในหุ้นหรือหุ้นกู้ของ EA หากมี และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการกองทุนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลประโยชน์ของผู้ลงทุนจะไม่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมกองทุนรวม แล้วกองทุนของเราไปลงหุ้น EA หรือหุ้นกู้ EA ไว้หรือเปล่านะ?" สำหรับ บลจ.ต่างๆ ได้ออกมาชี้แจงกับนักลงทุนแล้ว ดังนี้

กองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.กสิกรไทย ไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ของ EA อย่างแน่นอน

กองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.กสิกรไทย ไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ของ EA อย่างแน่นอน

บลจ. กสิกรไทย ชี้แจงว่ากองทุนตราสารหนี้ภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ของ EA แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ประเมินว่าอาจมีแรงขายหุ้นกู้ EA ในตลาดระยะสั้นจากความกังวลของนักลงทุน แต่ผลกระทบต่อภาพรวมตลาดตราสารหนี้จะมีจำกัด สำหรับกองทุนตราสารทุน บลจ. กสิกรไทย มีการลงทุนในหุ้น EA เฉพาะในกองทุนรวมดัชนี (Passive Fund) เท่านั้น โดยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและดำเนินการเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ลงทุน

สถานะการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ของ บลจ. กสิกรไทย

  • กองทุนตราสารหนี้: บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ. กสิกรไทย) ขอยืนยันว่าไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดย บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ในทุกกองทุนที่บริษัทบริหารจัดการ
  • กองทุนตราสารทุน: บลจ. กสิกรไทย มีการลงทุนในหุ้น EA เฉพาะในกองทุนรวมดัชนี (Passive Fund) ซึ่งผลการดำเนินงานของกองทุนดังกล่าวจะอ้างอิงตามดัชนีที่ลงทุน โดยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้น EA ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ดังนี้:
กองทุน
​สัดส่วนเป็น % ของ NAV
​K-TNZ ​0.45%
​K-SET50 ​0.43%
​K-ENERGY ​1.52%
​KS50RMF ​0.43%
​KS50LTF ​0.43%

ข้อมูล ณ วันที่ 12 ก.ค. 2567​​

มุมมองทีมผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ต่อสถานการณ์ EA

ทีมผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ. กสิกรไทย ประเมินว่าผลกระทบจากกรณีของ EA ต่อภาพรวมตลาดตราสารหนี้จะมีจำกัด เนื่องจากประเด็นที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล และบริษัทยังคงมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง สอดคล้องกับภาพรวมอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าและพลังงานที่ยังคงมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม ทีมผู้จัดการกองทุนตระหนักถึงภาระหนี้ของ EA ที่จะครบกำหนดในไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2567 ซึ่งประกอบด้วยภาระหนี้ต่อสถาบันการเงินจำนวน 3,200 ล้านบาท และหุ้นกู้จำนวน 5,500 ล้านบาท จึงจะดำเนินการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

แม้ในระยะสั้นอาจมีความกังวลจากนักลงทุนบางส่วนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการชำระหนี้ของ EA ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแรงขายหุ้นกู้ในตลาด แต่คาดว่าจะเป็นสถานการณ์เฉพาะกลุ่ม และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมตลาดตราสารหนี้ในวงกว้าง ซึ่งแตกต่างจากวิกฤตสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19

บลจ. กสิกรไทย ขอยืนยันว่ากองทุนตราสารหนี้ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ของ EA และบริษัทยังคงยึดมั่นในกระบวนการคัดเลือกตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูง รวมถึงการติดตามและประเมินสถานะของตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความมั่นใจในความปลอดภัยและผลตอบแทนที่เหมาะสมแก่ผู้ลงทุน

มุมมองจากทีมผู้จัดการกองทุนตราสารทุน

​บลจ.กสิกรไทย มีมุมมองที่ระมัดระวังต่อการลงทุนในหุ้น EA ทั้งนี้ บริษัทจะคอยติดตามพัตนาการของการสืบสวนในกรณีดังกล่าว รวมถึงพัฒนาการของแผนธุรกิจ หลังจากที่มีการปรับโครงสร้างกรรมการและผู้บริหารระดับสูง โดยระยะสั้น การปรับโครงสร้างคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ส่งผลให้บริษัทฯ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด สามารถยื่นคำขอออกและเสนอขายตราสารหนี้และตราสารทุนต่อประชาชนได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการระดมทุนจากตลาดทุน เพื่อรองรับการดำเนินงานและการชำระคืนหนี้ที่จะครบกำหนดในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ได้แก่ หุ้นกู้มูลค่า 6,900 ล้านบาท และภาระหนี้จากสถาบันการเงินอีกจำนวนหนึ่ง

แนวทางการจัดการของ บลจ.กสิกรไทย

ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ("บลจ.กสิกรไทย") มีการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผ่านกองทุนรวมประเภท Passive Fund จำนวน 5 กองทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ("ตลท.") ได้ขึ้นเครื่องหมาย H หุ้น EA เพื่อให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฐานะการเงินและแนวทางการชำระหนี้ที่จะครบกำหนดภายในปี 2567

บลจ.กสิกรไทยตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าวและกำลังติดตามพัฒนาการอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการภายใต้กรอบการลงทุนที่คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุนภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทยคาดว่าเมื่อหุ้น EA กลับมาซื้อขายได้อีกครั้งหลังปลดเครื่องหมาย H นักลงทุนจะให้ความสำคัญกับการชี้แจงของบริษัทต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ("ก.ล.ต.") เป็นสำคัญ

มุมมองและคำแนะนำการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้จาก K WEALTH

K WEALTH ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในตราสารหนี้ไทย โดยประเมินว่าผลกระทบจากสถานการณ์ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA จะมีจำกัดต่อภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ แม้ว่าอาจมีความผันผวนในระยะสั้นเกิดขึ้นบ้างในช่วงใกล้กำหนดชำระหนี้ของ EA แต่คาดว่าตลาดจะสามารถปรับตัวและกลับสู่ภาวะปกติได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้

คำแนะนำสำหรับนักลงทุน

  • สำหรับนักลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ไทยอยู่แล้ว: ท่านสามารถคงสัดส่วนการลงทุนไว้ได้ หรือพิจารณาทยอยสะสมเพิ่มหากมีความประสงค์
  • สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ไทย: ช่วงเวลานี้อาจเป็นโอกาสที่น่าสนใจในการพิจารณาเข้าลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจในระยะยาว

มุมมองและคำแนะนำการลงทุนในกองทุนหุ้นจาก K WEALTH

K WEALTH ขอเรียนให้ท่านทราบว่า บริษัทฯ มีมุมมองเป็นกลางต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ณ ปัจจุบัน เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่มีความชัดเจน ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงประเมินผลกระทบจากสถานการณ์ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ต่อตลาดหุ้นไทยในระยะต่อไป

คำแนะนำสำหรับนักลงทุน

  • สำหรับนักลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นไทยและกองทุนหุ้นไทยประเภท Passive Fund: ท่านสามารถคงสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวไว้ได้ในขณะนี้
  • สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นไทยและกองทุนหุ้นไทยประเภท Passive Fund: บริษัทฯ ขอแนะนำให้ชะลอการลงทุนและรอประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนมากขึ้นก่อนตัดสินใจลงทุน

อย่างไรก็ตาม K WEALTH ขอแนะนำให้นักลงทุนทุกท่านศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจลักษณะความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงขอให้ท่านติดตามข่าวสารและสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างเหมาะสม

SCBAM ประกาศใช้ Side Pocket แยกหุ้นกู้ EA ออกจาก 8 กองทุนรวม ปกป้องผลประโยชน์ผู้ลงทุน

สมาคม บลจ.ระงับลงทุนใน EA เพิ่ม  นำหุ้น EA มาบริหารแยก สกัดกระทบ NAV

บลจ.ไทยพาณิชย์ (SCBAM) ประกาศใช้มาตรการ Side Pocket เพื่อแยกหุ้นกู้ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ออกจาก 8 กองทุนรวม ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทฯ มีผลตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

SCBAM ชี้แจงว่า ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พยายามลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้ EA อย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านสภาพคล่อง ทำให้ยังไม่สามารถปรับลดได้ตามที่ต้องการ ประกอบกับสถานะทางการเงินของ EA มีแนวโน้มถดถอยลงตามที่ทริสเรตติ้งประเมินไว้ บริษัทฯ จึงตัดสินใจใช้มาตรการ Side Pocket เพื่อบริหารความเสี่ยง และปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน

ทั้งนี้ SCBAM ขอยืนยันว่า กองทุนไม่ได้ลงทุนในหุ้นสามัญของ EA แต่ลงทุนในหุ้นกู้เท่านั้น และการใช้มาตรการ Side Pocket จะไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ของกองทุนแต่อย่างใด

ชื่อกองทุน สัดส่วน
(% ของ NAV)
SCB2576
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์สำหรับการเกษียณอายุปี 76
3.33%
SCBSMART3FUND
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์สมาร์ทแพลน 3
• SCBSMART3: ชนิดจ่ายเงินปันผล
2.36%
SCBSMART2FUND
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์สมาร์ทแพลน 2
• SCBSMART2A: ชนิดสะสมมูลค่า
• SCBSMART2: ชนิดจ่ายเงินปันผล
1.53%
SCBFLX
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เฟล็กซิเบิ้ล
1.00%
SCBFPFUND
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ พลัส
• SCBFP: ชนิดสะสมมูลค่า
• SCBFPP: ชนิดผู้ลงทุนกลุ่ม/บุคคล
0.90%
SCBMPLUS
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ มัลติ อินคัมพลัส
• SCBMPLUSA: ชนิดสะสมมูลค่า
0.73%
SCBPLUSFUND
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ อินคัมพลัส
• SCBPLUSA: ชนิดสะสมมูลค่า
• SCBPLUS: ชนิดรับซื้อคืนอัตโนมัติ
0.59%
SCBLT1FUND
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30
• SCBLT1-2020: ชนิดปี 2020
0.20%

รายชื่อกองทุนที่จะดำเนินการตั้ง Side Pocket หุ้นกู้ EA (ข้อมูล ณ 12 ก.ค.67)


บลจ. แอสเซท พลัส แยกตั๋วแลกเงิน EA ออกจากพอร์ตลงทุน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ผู้ถือหน่วย

บลจ. แอสเซท พลัส ได้ติดตามสถานการณ์ของบริษัท EA อย่างใกล้ชิดและประเมินว่า EA มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ตามกำหนดภายในปีนี้ โดยอ้างอิงจากแถลงการณ์ของ EA เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ที่ระบุว่าภาระหนี้สินในไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2567 สามารถบริหารจัดการได้ด้วยกระแสเงินสดจากโรงไฟฟ้า และวงเงินสำรองจากสถาบันการเงิน สำหรับภาระหนี้สินรวมกว่า 8,700 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยเงินกู้จากสถาบันการเงินและหุ้นกู้ จะได้รับการชำระคืนด้วยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่มีมูลค่าสูงถึง 5,500 ล้านบาท (หลังหักค่า Adder) ส่วนที่เหลือจะได้รับการสนับสนุนจากวงเงินสินเชื่อที่เตรียมไว้กับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว

เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน บลจ. แอสเซท พลัส จึงตัดสินใจแยกตั๋วแลกเงินระยะสั้น EA ออกจากการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป การดำเนินการนี้จะทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตั๋วแลกเงินระยะสั้น EA ในขณะเดียวกัน ผู้ถือหน่วยลงทุนจะยังคงได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในตั๋วแลกเงินระยะสั้น EA ตามปกติ โดย บลจ. แอสเซท พลัส จะนำเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียน ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เวลา 8.00 น.

ตั๋วแลกเงินระยะสั้น EA ของกองทุน ASP-DPLUS-A

รายการ วันครบกำหนดชำระหนี้ มูลค่าหน้าตั๋ว สัดส่วน
(% ของ NAV)
EA24723A 23 ก.ค. 67 300,000,000 1.20%
EA24801A 1 ส.ค. 67 300,000,000 1.20%
EA24815A 15 ส.ค. 67 550,000,000 2.20%
EA24D12A 12 ธ.ค. 67 10,000,000 0.00%
รวมทั้งหมด 1,160,000,000 4.70%

*ตัวเลขประมาณการณ์โดยคำนวณจาก NAV ณ วันที่ 12 ก.ค.67

ตั๋วแลกเงินระยะสั้น EA ของกองทุน ASP

รายการ วันครบกำหนดชำระหนี้ มูลค่าหน้าตั๋ว สัดส่วน
(% ของ NAV)
EA24815A 15 ส.ค. 67 50,000,000 8.20%

หุ้นกู้ EA ของกองทุน ASP-FRF

รายการ วันครบกำหนดชำระหนี้ มูลค่าหน้าตั๋ว สัดส่วน
(% ของ NAV)
EA301A 20 ม.ค. 2573 15,000,000 2.00%

 

บลจ. อีสท์สปริง ประกาศใช้มาตรการ Set Aside แยกหุ้นกู้ EA ออกจาก 7 กองทุนรวม

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ("บลจ. อีสท์สปริง") ขอแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการแยกหุ้นกู้ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ออกจาก 7 กองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทฯ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ สน.9/2564 ภาคผนวก 6 เรื่อง กรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้ หลังจากที่ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ EA และสำนักงาน ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษกรรมการและผู้บริหาร EA ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567

ลำดับ ชื่อกองทุน
สัดส่วน (% of NAV)
1 กองทุนเปิดอีสท์สปริง ธีรสมบัติ (ES-TSB) 4.21%
2 กองทุนเปิดอีสท์สปริง General Fixed Income เพื่อการเลี้ยงชีพ (ES-FIXEDRMF) 3.65%
3 กองทุนเปิดอีสท์สปริง รักษสาร (ES-TSARN) 2.74%
4 กองทุนเปิดอีสท์สปริง ตราสารหนี้ เพื่อการออม (ES-FIXEDSSF) 2.48%
5 กองทุนเปิดอีสท์สปริง เสถียรทรัพย์ปันผล (ES-STSD) 2.10%
6 กองทุนเปิดอีสท์สปริง Multi Income (ES-MULTIINCOME) 1.50%
7 กองทุนเปิดอีสท์สปริง Government Bonds เพื่อการเลี้ยงชีพ (ES-GOVRMF) 0.36%

บลจ. อีสท์สปริง ขอยืนยันว่า การดำเนินการนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยหุ้นกู้ EA ที่ถูกแยกออกจะไม่ถูกนำมาคำนวณรวมในมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ของกองทุนอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหน่วยลงทุนจะยังคงได้รับผลประโยชน์ใดๆ ที่พึงมีจากการลงทุนในหุ้นกู้ EA และสามารถทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตามปกติ

บลจ. อีสท์สปริง ขอให้ความเชื่อมั่นว่า บริษัทฯ จะดำเนินการอย่างเต็มความสามารถเพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกท่าน

 

บลจ.one คัดแยกหุ้นกู้ STARK ออกจากกองทุน ONE-FIXED และ ONE-FAR เพื่อบริหารความเสี่ยงและรักษาผลประโยชน์ผู้ถือหน่วยลงทุน

 

การดำเนินการคัดแยกตราสารนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2566 โดยสัดส่วนของตราสารที่ถูกคัดแยกคิดเป็น 0.37% และ 0.25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุน ONE-FIXED และ ONE-FAR ตามลำดับ

บลจ.วรรณ ขอเรียนให้ท่านทราบว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุน ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนยังคงสามารถทำรายการซื้อขายและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนได้ตามปกติ หากสถานการณ์ของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีรายชื่อ ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้

ลำดับ ชื่อกองทุน
สัดส่วน (% of NAV)
1 กองทุนเปิด วรรณ ชอร์ตเทอม ฟิกซ์ อินคัม (ONE-FIXED) 0.37
2 กองทุนเปิดเอกสารหนี้คืนกำไร (ONE-FAR) 0.25

ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2566

อย่างไรก็ดี หากบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด จะดำเนินการคืนเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีรายชื่อในทะเบียน ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2566 เท่านั้น สำหรับผู้ที่ซื้อหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้ามาตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป จะไม่ได้รับสิทธิ์ในหุ้นกู้ดังกล่าว

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด ยืนยันว่า การดำเนินการนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกท่าน และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุน ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนยังคงสามารถซื้อขายและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนได้ตามปกติ

สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์และสนับสนุนธุรกิจ ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2659-8888 กด 1

 

KKPAM ประกาศไม่มีการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ EA

สมาคม บลจ.ระงับลงทุนใน EA เพิ่ม  นำหุ้น EA มาบริหารแยก สกัดกระทบ NAV

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด หรือ KKPAM ได้ออกประกาศชี้แจงต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ลงทุน และผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (Selling Agents) ว่า ปัจจุบันกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการของ KKPAM ไม่มีการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA แต่อย่างใด

ประกาศนี้มีขึ้นเนื่องจากมีผู้สอบถามถึงสถานะการลงทุนใน EA ของกองทุนภายใต้การบริหารของ KKPAM ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความสนใจในหุ้น EA หรือความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุน KKPAM จึงชี้แจงเพื่อความโปร่งใสและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

ผู้ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อ KKPAM ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 305 9800

 

ประกาศจาก บลจ. ทิสโก้: ไม่มีการลงทุนในหุ้นและหุ้นกู้ของ EA

สมาคม บลจ.ระงับลงทุนใน EA เพิ่ม  นำหุ้น EA มาบริหารแยก สกัดกระทบ NAV

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด (บลจ. ทิสโก้) ขอเรียนให้ทราบว่า กองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ. ทิสโก้ ไม่มีการลงทุนในหุ้นและหุ้นกู้ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA

สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ลงทุน และผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

โทร. 0-2633-6000 กด 4 หรือ 0-2080-6000 กด 4
เว็บไซต์: WWW.TISCOASSET.COM

 

บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) แจ้งไม่มีการลงทุนในหุ้นและหุ้นกู้ของ EA

สมาคม บลจ.ระงับลงทุนใน EA เพิ่ม  นำหุ้น EA มาบริหารแยก สกัดกระทบ NAV

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด (บลจ. ยูโอบี) ออกประกาศยืนยันว่ากองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทไม่มีการลงทุนในหุ้นและหุ้นกู้ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA

การประกาศนี้มีขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุนรวมของ บลจ. ยูโอบี ว่าการลงทุนในกองทุนของบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาหุ้น EA

บลจ. ยูโอบี ยังคงเน้นย้ำให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

ผู้ลงทุนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2786-2222 หรือเว็บไซต์ www.uobam.co.th

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT