“มีการประเมินว่าตลาด E-Commerce ในช่วงปี 2566-2567 จะมีมูลค่า 6.34-6.94 แสนล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยที่ปีละ 6% โดย กลุ่มสินค้าที่คนไทยหันมาซื้อผ่านช่องทาง E-Commerce มากขึ้น ได้แก่ Personal & Household Care, Beverages และ Foods”
ในรอบ 5 ปี (2562 - 2566) คนไทยสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตถึง 61.2 ล้านคน และใช้งาน Social Media 52.3 ล้านคน พฤติกรรมผู้บริโภคได้มีการปรับพฤติกรรมมาซื้อของออนไลน์ (E-Commerce) มากขึ้น ตั้งแต่ปี 2563 ที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19
SPOTLIGHT จะพามาสำรวจตลาด E-Commerce ไทย
ปัจจุบัน คนไทยมากกว่าครึ่งมีการหรือเคยซื้อสินค้า/บริการผ่านตลาด E-Commerce โดยในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
ปี 2562 มีจำนวนผู้ใช้งาน จาก 30.7 ล้านคน
ปี 2566 มีจำนวนผู้ใช้งาน มาอยู่ที่ 41.5 ล้านคนใน
แรงผลักดันหลักของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมประชากรไทยมากขึ้น
รายงาน eCommerce-Thailand ได้ชี้ว่า ตลาด E-Commerce ยังคงได้รับความนิยมจากคนไทยอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า/บริการผ่านตลาด E-Commerce ที่สูงขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวจากปีละ 2,970 บาทต่อคนในปี 2562 ขึ้นมาอยู่ที่ 8,840 บาทต่อคนในปี 2566
โดยคาดการณ์มูลค่าตลาด E-Commerce ไทย ดังนี้
ปี 2562 มูลค่าตลาด 2.12 แสนล้านบาท
ปี 2563 มูลค่าตลาด 3.19 แสนล้านบาท
ปี 2564 มูลค่าตลาด 5.64 แสนล้านบาท
ปี 2565 มูลค่าตลาด 6.20 แสนล้านบาท
ปี 2566 คาดการณ์ว่า จะมีมูลค่าตลาด 6.34 แสนล้านบาท
ปี 2567 คาดการณ์ว่า จะมีมูลค่าตลาด 6.94 แสนล้านบาท
และมีแนวโน้มจะเติบโตต่อเนื่องปีละ 6% ขึ้นไปอยู่ที่ 6.34-6.94 แสนล้านบาท ในระหว่างปี 2566-2567
ขณะที่รูปแบบการชำระเงินที่ผู้บริโภคนิยมใช้งาน ได้แก่ การโอนเงินผ่าน Mobile Banking, บัตรเครดิต/เดบิต และ e-Wallet
ขณะที่จ่ายเงินสด หรือ เก็บเงินปลายทาง Cash On Delivery มีสัญญาณที่ได้รับความนิยมลดลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
โดยการโอนเงิน (Bank Transfer) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมสูงสุดคิดเป็น 32% ของมูลค่าตลาด E-Commerce
รองลงมาได้แก่ Credit/Debit Card และ E-Wallet มีสัดส่วนเท่ากันที่ 22%
ขณะที่จ่ายเงินสด มีสัดส่วน 17% ลดลง 5% จากปี 2562
สะท้อนว่า การชำระเงินแบบจ่ายเงินสด เริ่มถูกแทนที่ด้วย การโอนเงิน (Bank Transfer) และ e-Wallet มากขึ้นในช่วง 5 ปีหลังสุด
โดยสินค้าที่ผู้บริโภคหันมาซื้อผ่านช่องทาง e-Commerce มากขึ้นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย
โดยมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นจาก 36,000 ล้านบาทในปี 2562 มาอยู่ที่ 139,000 ล้านบาทในปี 2565 โดยมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 22% ในช่วงเวลาเดียวกัน
2. กลุ่ม Beverages ที่มีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นจากราว 22,000 ล้านบาท มาอยู่ที่ 126,000 ล้านบาทในช่วงปี 2562-2566 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดที่มากขึ้น 2 เท่าเป็น 20% ในปี 2566
3. กลุ่ม Foods ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นจาก 11,500 ล้านบาทในปี 2562 ขึ้นมาอยู่ที่ 55,000 ล้านบาทในปี 2566 โดยมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 9% ในช่วงเวลาเดียวกัน
4. กลุ่ม Electronics พบว่าแม้ยอดขายจะขยายตัวตามตลาด E-Commerce ที่ใหญ่ขึ้นแต่กลับมีส่วนแบ่งตลาดในช่วง 5 ปีที่หลังที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 18%
จะเห็นได้ว่า e-Commerce ไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ต Social Media ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และช่องทางนี้จะเกือบเข้ามาแทนที่การซื้อขายสินค้าและบริการในรูปแบบ Offline ได้เลยทีเดียว
ถ้าสังเกตดูดีๆ ผู้บริโภคที่เดินในห้างสรรพาสินค้า ศูนย์การค้าจะเป็นแหล่งนัดรวมตัวของเหล่าเพื่อน นักธุรกิจ เพื่อพูดคุย เจรจา สังสรรค์
เพราะฉะนั้น พื้นที่โซนอาหารจะมีมากขึ้น ขณะที่สินค้าและบริการจะเป็นเหมือนช้อปหน้าร้านให้ดูของจริง และผู้บริโภคก็หันไปซื้อในช่องทางออนไลน์ ที่มีส่วนลดได้มากกว่า ราคาสินค้าถูกกว่า มีให้เลือกมากกว่า