บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด คือ หนึ่งในธุรกิจค้าปลีกในเครือเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ผู้ดำเนินการบริหาร ศูนย์รวมวัสดุก่อสร้าง และสินค้าเพื่อนบ้านครบวงจรของคนไทย ในนาม ไทวัสดุ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็น ผู้รับเหมารายกลาง และรายย่อย เจ้าของโครงการต่างๆ ร้านค้าปลีกและเจ้าของบ้าน ภายใต้จุดขาย “ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี” ที่ไทวัสดุ
แม้ว่าช่วงนี้เศรษฐกิจอาจดูไม่ค่อยสู้ดี ทั้งข้าวยากหมากแพง หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง แต่ตลาดค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง และของตกแต่งบ้าน กลับดีดตัวสูง สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยังคงพร้อมจ่ายกับการแต่งบ้าน
นายสุทธิสาร จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า ปี 2566 นับเป็นปีแห่งความสำเร็จของซีอาร์ซี ไทวัสดุ ที่มียอดขายรวมโตสูงสุด 40,000 ล้านบาท จาการดำเนินธุรกิจตลอด 14 ปีที่ผ่านมา ภายใต้งบลงทุนกว่า 7,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 11% โดยนอกจากความสำเร็จในเชิงรายได้แล้ว ยังได้มุ่งเร่งแผนการขยายสาขาไทวัสดุ และบีเอ็นบี โฮมทุกฟอร์แมตถึง 14 สาขา ภายในปีเดียว ถือว่าเป็นปรากฏการณ์การเติบโตที่สวนกระแสเศรษฐกิจ ทำให้ภาพรวมมีจำนวนสาขาถึง 90 แห่ง ครอบคลุม 47 จังหวัดทุกภูมิภาค
ในช่วงวิกฤต โควิด-19 ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจเกือบทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบอย่างหนัก หากธุรกิจไหนไม่เร่งปรับตัว เปลี่ยนกลยุทธ์ก็จะทำให้อยู่ยากในโลกแห่งการแข่งขันที่ดุเดือด
ในช่วงโควิด-19 ไทวัสดุ ได้มีการพัฒนาระบบ E-Commerce เพื่อขายสินค้าและให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์เต็มรูปแบบทุกช่องทาง พัฒนาเพื่อสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ
ส่งผลให้ ภาพของการเติบโตของช่องทางการขายออนไลน์ตั้งแต่ปี 2563 – 2566
จากการสร้างรากฐานระบบออนไลน์ที่แข็งแกร่งทำให้จำนวนลูกค้าในภาพรวมที่ซื้อทั้งหน้าร้านและออนไลน์ (Omnichannel Customers) เติบโตสูงขึ้น 46%YoY
Phygital คือ การเชื่อมต่อประสบการณ์ช็อปปิ้งอย่างไร้ร่อยต่อ (Ommichannel) ที่ไม่ว่าลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าจากช่องทางไหนผ่านการซื้อหน้าร้าน หรือ ออนไลน์ ลูกค้าก็จะได้รับการนำเสนอสินค้าและบริการที่เหมือนกัน
นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาขีดความสามารถด้านปฏิบัติการ (In-House Operations) ด้วยความเชี่ยวชาญของบุคลากร เพื่อช่วยลดต้นทุนภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการขนส่ง (Own Transport Fleet) ด้านการออกแบบ (Store Design) และการมีบุคลาการทางด้านไอที (IT Management) เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ภายในองค์กร ทำให้ลดการพึ่งพาจากหน่วยงานภายนอก ส่งผลดีต่อลูกค้าที่สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ในราคาย่อมเยา
สำหรับทิศทางสร้างการเติบโตของไทวัสดุในปี 2567 นี้ ยังคงขับเคลื่อนการปูพรมขยายสาขา
ทุกภูมิภาคทั่วไทย (Ambitious Expansion) ภายใต้แบรนด์แบรนด์ไทวัสดุ และบีเอ็นบี โฮม ตั้งเป้าขยายทุกโมเดล ทั้ง Red Format รูปแบบมาตรฐาน, Hybrid Format (White Format) และ Blue Format ขนาดเล็ก เจาะกลุ่มผู้รับเหมารายย่อย รวมทั้งสิ้น 103 แห่ง บนพื้นที่ขายรวมกว่า 1,400,000 ตร.ม.
สําหรับแผน 5 ปี (2567-2571) ได้มุ่งเป้าหมายตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้านอย่างครบวงจร “No.1 Omnichannel DIY Home Retailer ตั้งเป้าส่วนแบ่งการตลาดด้วยยอดขาย 70,000 ล้านบาท และอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 12% เหนือการเติบโตของตลาดในภาพรวม โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยนำไทวัสดุเดินหน้าสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน 3 เรื่องหลักๆ คือ
1.Hybrid Format (White Format)
เมื่อปี 2564 ได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัฐของวงการธุรกิจค้าปลีก ในการผู้นำรายแรกเปิดตัว New Store Model รูปแบบ Hybrid Format (White Format) โดยผนึกจุดแข็งของแบรนด์ไทวัสดุ และบีเอ็นบี โฮม ให้เป็นศูนย์รวมสินค้าวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์งานช่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเพื่อบ้าน ของตกแต่ง และซ่อมแซมบ้าน สามารถตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้าทั้งผู้รับเหมา ช่าง และเจ้าของบ้าน ด้วยพื้นที่กว่า 20,000 ตร.ม. รวบรวมสินค้ามากถึง 50,000 รายการ และยังเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มยอดขายได้ถึง 30% โดย ณ สิ้นปี 2567 จะมีสาขารวมทั้งสิ้น 16 สาขา
2.Outperforming Online Shopping
ยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้การ ช็อปปิ้งออนไลน์ไม่มีสะดุด โดยเฉพาะการพัฒนาฟีเจอร์ (Feature) ที่มีความเป็น Unique only at Thaiwatsadu ที่เดียวเท่านั้นผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็น
ทั้งนี้ คาดว่าจากการเสริมความแข็งแกร่งด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จะช่วยเพิ่มยอดขายในช่องทางออนไลน์ได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ภายในปี 2571
เป็นผู้นำเจ้าแรกในวงการธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง เปิดตัวการใช้รถบรรทุกพ่วงแม่ลูกพลังงานไฟฟ้า (EV Truck) เข้ามาใช้ในการขนส่งสินค้า รองรับการเติบโตของธุรกิจ จึงได้พัฒนาระบบกรีนโลจิสติกส์ (Green Logistics) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในปี 2567 จะเพิ่มจำนวนรวม 80 คัน คิดเป็น 32% จากรถขนส่งทุกประเภททั้งหมด ขนส่งสินค้าได้มากกว่า 700,000 พาเลท ช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 ถึง 7,000 ตัน ทั้งนี้ แม้ว่าต้นทุนราคารถพ่วง EV Truck จะสูงกว่ารถบรรทุกดีเซล แต่ในระยะยาวจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง และการดูแลเครื่องยนต์ลดลงได้ถึง 16% ต่อปี
ไทวัสดุ พร้อมเป็น Green & Sustainable Retail
ด้วยกลยุทธ์ CRC’s “ReNEW” ที่เป็นกรอบการดำเนินงาน 4 แกนหลัก ได้แก่
1. Re = Reduce Greenhouse Gases
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการติดตั้ง Solar Rooftop ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปี 2566 จำนวน 75 สาขา ส่งผลให้ลดการใช้กระแสไฟฟ้าได้ถึง 40% และในปี 2567 เร่งติดตั้งเพิ่มอีก 15 สาขา ซึ่งจะสามารถผลิตไฟฟ้าสะสมได้มากกว่า 101 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 2.5 ล้านต้น
2. N = Navigate Society Well-being
สร้างสังคมให้น่าอยู่ โดยจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์เพื่อสังคมและชุมชน 11 โครงการครอบคลุม 9 จังหวัด เอื้อประโยชน์ให้กับผู้คนในพื้นที่ไปกว่า 700,000 คน อาทิ การจ้างงานผู้พิการกว่า 100 คนภายในสาขา และศูนย์บริการลูกค้า Contact Center โครงการ “รวมหัวใจให้บ้านเกิด” เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมตอบแทนชุมชนในภูมิลำเนาของตนเอง
3. E = Eco-Friendly Product and Packaging
ส่งเสริมสินค้า Eco Product และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ร่วมค้าซึ่งได้รับการรับรองจากหน่วยงานต่างๆ กว่า 4,000 รายการ
4. W = Waste Management
การจัดการขยะมูลฝอยในโครงการ Save World ผ่านแนวคิด 3Rs คือ Reduce, Reuse และ Recycle ที่สามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ และลดขยะได้ถึง 1,117 ตัน