จากการจัดอันดับ The World’s Real-time Billionaires โดยนิตยสาร Forbes เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2565 ชื่อของ 'สารัชถ์ รัตนาวะดี' ถูกจัดอันดับยกขึ้นให้มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเมืองไทยเป็นครั้งแรก ด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่มากกว่า 4 แสนล้านบาท แต่ที่ผ่านมาน้อยครั้งมากๆ ที่จะเห็น 'สารัชถ์ รัตนาวะดี' ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนด้วยตัวเองถึงแผนธุรกิจต่างๆ ว่าอาณาจักรธุรกิจของ GULF ในการขยายอาณาจักรที่ปัจจุบันมีมูลค่ามหาศาลเกือบ 4 แสนล้านบาท
แต่ครั้งนี้ 'สารัชถ์ รัตนาวะดี' เป็นแขกคนสำคัญที่เชิญให้มาร่วมงาน 'Thailand Focus 2022' เป็นงานใหญ่ประจำปีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้มาร่วมเป็นวิทยากรเสวนาบนเวทีใหญ่ที่มีนักลงทุนสถาบันจากทั่วโลกเดินมางมาร่วมรับฟังข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานภาครัฐกับเอกชนของไทย รวมถึงถ่ายถอดสดทางช่องทางออนไลน์ให้นักลงทุนทั่วโลกได้รับฟังข้อมูลด้วย
แน่นอนว่าเกือบทุกสายตาของนักลงทุน รวมถึงสื่อมวลทุกค่ายที่ไปร่วมนี้น่าจะจับจ้องไปที่เจ้าสัว 'สารัชถ์' จะออกมาให้สัมภาษณ์พูดอะไรก้าวต่อไปข้างหน้าของกลุ่ม GULF ว่าวางแผนจัดธุรกิจไว้อย่างไร
โดยทีมข่าว 'SPOTLIHGT' เป็นหนึ่งในสื่อมวลที่ได้มีโอกาสได้ร่วมสัมภาษณ์ 'สารัชถ์ รัตนาวะดี' ด้วยไปติดตามกันว่ามหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเมืองไทยคนใหม่ เขาเตรียมจะลงทุนลงทุนอะไร
GULF เพิ่มงบลงทุนเป็น 1.2 แสนล้านบาท ลุยลงทุนต่างประเทศ
'สารัชถ์ รัตนาวะดี' ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวในงาน 'Thailand Focus 2022' เป็นครั้งแรกหลัง The World’s Real-time Billionaires โดยนิตยสาร Forbes ได้จัดอันดับให้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 มหาเศรษฐีเมืองไทยว่า แผนการลงทุนในช่วง 5 ปีนี้(ระหว่างปี 2565-2569) GULF ได้มีการจัดสรรเพิ่มงบลงทุนรวมจากเดิมที่เคยประกาศไว้ที่ว่าจะใช้เงินลงทุน 1 แสนล้านบาท เพราะเห็นโอกาสการลงทุนที่เพิ่มเข้ามาซึ่งจะมีการขยายการลงทุนในโครงการด้านพลังงานใหม่ๆ โดยเฉพาะโครงการในต่างประเทศที่มีโอกาสเพิ่มเข้าอีกจำนวนมากหลายโครงการ
ขณะที่รายงานข่าวล่าสุดจาก GULF ระบุว่า ในช่วงสัปดาห์นี้บริษัทได้ปรับเพิ่มลงทุนรวมในช่วง 5 ปี(ระหว่างปี 2565-2569) จากเดิมที่จะใช้เงินลงทุนราว 1 แสนล้านบาท โดยจะเพิ่มเป็นราว 1.20 แสนล้านบาท ซึ่งจะใช้เน้นการลงทุนโครงการด้านพลังงานในต่างประเทศ ทั้งการลงทุนสร้างในรูปแบบการพัฒนาโครงการใหม่ และเข้าซื้อกิจการโครงการพลังงานที่ดำเนินการและมีรายได้อยู่แล้ว
'สารัชถ์' อธิบายถึงแผนการลงทุนจากนี้ในกลุ่มธุรกิจของ GULF ทั้งในด้านพลังงานกับโครงสร้างพื้นฐานจากนี้มีนโยบายจะมุ่งเน้นไปสู่กลุ่มพลังงานสีเขียวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีประเด็นผลกระทบจากราคาน้ำมันและราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวสูงเพิ่มขึ้นมาก จึงมีผลกระทบต่อราคาไฟฟ้าในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเพราะต้องมีการนำเข้าน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต
โดยมีหนึ่งโครงการลงทุนหนึ่งสอดคล้องกับแผนลงทุนนี้ โครงการลงทุนในโรงไฟฟ้าเขื่อนพลังงานน้ำของบริษัท ใน สปป.ลาว ที่ยังเดินหน้าการลงทุนเพราะพลังงานน้ำจากเขื่อนเองก็เป็นพลังงานหมุนเวียนใช้น้ำเป็นเป็นพลังงานมนการปั่นไฟฟ้า โดยเป็นโครกงารที่สามารถและไฟฟ้าออกมาขายด้วยราคาเพียง 2 บาทต่อหน่วยเท่านั้น และกำหนดราคาค่าไฟฟ้าเป็นสัญญาแบบคงที่เป็นสัญญาระยะยาว 30 ปี ทำให้รายได้สม่ำเสมอ และไม่ผันผวน อีกทั้งข้อดีกว่าการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซและน้ำมันที่มีราคาแพง ดังนั้นบริษัทบริษัทจะพยายามหาโครงการลงทุนในลักษณะนี้เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ GULF กับพาร์ทเนอร์ คือ บริษัท ชิโนไฮโดร (ฮ่องกง) โฮลดิ้ง (SHK) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท พาวเวอร์คอนสตรักชั่น คอปอเรชั่น ออฟ ไชน่า (POWERCHINA) มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีแผนตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำปากลาย ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำโขง เมืองปากลาย แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว มีกำลังผลิตติดตั้ง 770 เมกะวัตต์ และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ(SCOD) ในวันที่ 1 มกราคม 2575 โดย กฟผ. จะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการ ในอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 2.6989 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง
"ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ เพราะเราเองผลิตน้ำมันเองไม่ได้ ส่วนการผลิตก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จากอ่าวไทยก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นวิธีการการที่จะให้ Sustainable แบบ Long Term ได้จะต้องหาเชื้อเพลิงพลังงานอื่นๆ มาทดแทนที่เป็นเชื้อราคาต่ำใช้ผลิตไฟฟ้าได้ ไม่ต้องไปพึ่งเชื้อเพลิงทั้งน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติที่ราคาผันผวน
รวมถึงมีราคาสูงอยู่แล้วตามาราคาตลาดโลกที่ต้องนำเข้ามาใช้ในไทยซึ่งเรากำหนดราคาเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องหาโครงการไฟฟ้าที่เราสามารถผลิตเองได้เชื้อเพลิงอื่นๆ เช่น พลังงานลม, แสงแดด, น้ำ ที่ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าที่ผลิตออกมาได้นั้นคงที่ตลอดอายุสัญญา 30 ปี ทำให้ราคาค่าไฟเฉลี่ยของไทยในระยะยาวจะถูกลงช่วยแบ่งเบาภาระให้กับประชานกับภาคอุตสาหกรรมไปด้เยอะมาอีกด้วย"
GULF เดินหน้าร่วมทุน Binance เปิดแพลตฟอร์มเทรดคริปโทตามแผน
สำหรับความคืบหน้าในการร่วมทุนกับ Binancee เพื่อร่วมลงทุนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งบริษัทยังคงเดินหน้าแผนลงทุนในธุรกิจนี้ต่อไป โดยล่าสุดเดือน พ.ค. 2565 ได้จัดตั้งบริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด (Gulf Binance) ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และใบอนุญาตอื่น ๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมองว่าเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต ขณะที่การลงทุนร่วมมือกับ Binance ถือเป็นพาร์ทเนอร์ที่มีความแข็งแกร่ง เพราะ Binance ได้รับผลกระทบไม่มากจากสถานการณ์คริปโทที่เป็นช่วงขาลง
"Binance ถือเป็นบริษัทที่ดีมี liability ในขณะที่แม้คริปโทในตลาดโลกเกิดวิกฤตขึ้่นมา แต่ตัว Binance ที่มีการลงทุนต่างๆ หรือ Investment ที่ดูแล้วยัง Stable ส่วนแผนไลน์เซ่นทำศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจากหน่วยงานที่กำกับดูแลน่าจะยื่นขอได้ในไตรมาส 3/2565 นี้"
สำหรับกรณีที่รัฐบาลออกนโยบายแบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้ากับราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นให้กับประชาชนนั้นมองว่าเป็นสิ่งที่บริหารจัดการยาก เนื่องจากราคาน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติเป็นกลไกตามราคาตลาดโลกซึ่งไม่สามารถกำหนดราคาเองและไม่สามารถทำให้ราคาถูกลงได้ เพราะมีผลกระทบจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจในต่างประเทศ รวมถึงประเด็นการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติของประเทศรัสเซียที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าไทยจะสามารถนำน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติของประเทศรัสเซียเข้ามาใช้ได้หรือไม่ โดยขึ้นกับนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลไทยด้วย
"คิดว่าเรื่องราคาน้ำมันที่ขึ้นสูงในช่วงนี้รัฐบาลก็พยายามดูแลเต็มที่ แต่ราคาน้ำมันช่วงนี้ขึ้นมาเยอะ และผันผวนมากก็เชื่อว่ารัฐบาลมีความพยายามประคองโดยหวังว่าหากสถานการณ์วิกฤตพลังงานไปราคาน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติจะต่ำลงเหมือนในช่วงที่มีโควิด-19 ระบาดหนักที่ต่ำลงไปมากเพราะเป็นสินค้า Commodity ที่ราคาผันผวนได้ตามสถานการณ์โลก หากย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีที่แล้วที่มีราคาที่ถูกมาก ช่วงนี้ก็ถือเป็นอีก Cycle หนึ่งของวิกฤตที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของภาวะสงครามในต่างประเทศ รัฐบาลจึงพยายามช่วยเหลือให้รอดจากวิกฤตครั้งนี้ไปเหมือนทุกๆ ประเทศที่พยายามแก้ไขในเรื่องนี้อยู่"
ส่วนกรณีที่รัฐบาลจัดสรรงบกลางจำนวน 7,000-8,000 ล้านบาท เพื่อมาลดภาระไฟฟ้าสำหรับประชาชนกลุ่มเปราะบาง มองว่าน่าจะสามารถช่วยลดภาระได้ในระดับหนึ่ง ในช่วงที่ราคาพลังงานต่างๆ ทั้งน้ำมันและก๊าซที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้น รัฐบาลควรเจรจาหาแหล่งผลิตพลังงานใหม่ๆ ในต่างประเทศที่สามารถส่งเข้ายังประเทศไทยได้โดยตรง เพื่อช่วยบริหารจัดการต้นทุนด้านพลังงานของประเทศ แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าในช่วงที่ราคาพลังงานอยู่ในช่วงขาขึ้นปัจจุบันนี้ ส่งผลตลาดจะเป็นของผู้ขาย ดังนั้นอาจต้องรอจังหวะในช่วงที่ Cycle กลับไปสู่ขาลงก่อน
นอกจากนี้ที่ปัจจัยทางการเมืองของไทยการเปลี่ยนแปลงล่าสุด กรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติสั่งนายกรัฐมนตรีต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ โดยประเมินว่าจะไม่กระทบกับภาพรวมของการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยเชื่อว่าไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็ย่อมต้องการเข้ามาทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น อีกทั้งยังเชื่อว่า แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น แต่ประเทศไทยจะมีความต่อเนื่องเชิงนโยบาย
"การเมืองของไทยก็เป็นแบบนี้มาตลอดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ส่วนมากการดำเนินนโยบายด้านต่างๆ ก็จะคงทีไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปจากเดิมนัก เพราะไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาไทยได้ผ่านแนวโน้มวิกฤตการเมืองมาแล้วหลายครั้งแล้ว เชื่อว่าทุกรัฐที่เข้ามาบริหารประเทศก็จะพยายามทำให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งขึ้นลดภาระของประชาชนให้เบาลง"