ท่ามกลางเสียงคัดค้านมากมายในดีลรวมกิจการระหว่าง “ทรู” กับ “ดีแทค” มองถึงเรื่องการผูกขาดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่จะเหลือเจ้าตลาดเพียง 2 รายในไทย คือ “เอไอเอส” และ “ทรู” ภาพเริ่มชัดขึ้นเมื่อประกาศชื่อบริษัทใหม่ ท่ีเกิดจากการควบรวมกิจการระหว่าง “ทรู” กับ “ดีแทค” จนมาถึงเซอร์ไพรส์ที่ทรูดึง “ลิซ่า” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ใน TRUE ID เราคงต้องมาตามดูกันว่า จากนี้ไปการแข่งขันของธุรกิจโทรคมนาคมจะดุเดือดเลือดพล่านขนาดไหน
ความชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อทรู-ดีแทค ทรู-ดีแทค แจ้งตลาดหลักทรัพย์เริ่มกระบวนการควบรวมตั้งบริษัทใหม่ ชื่อเดิม ‘บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)’ โดยทางเครือซีพี และเทเลนอร์ ถือหุ้นฝั่งละประมาณ 30% พร้อมยืนยันคงการทำตลาดแยกแบรนด์ทรู และดีแทค คาดแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2566
ภายหลังจากการควบรวม แบรนด์ดีแทคและทรูจะยังคงแยกกันให้บริการลูกค้าของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายสำหรับผู้บริโภค และสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่อไป แต่ในทางกลับกันบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ “ทรู” ในแง่ความรู้สึกของผู้บริโภคคงหลีกหนีไม่พ้นว่า แม้จะยังเป็นดีแทคเดิมในนามชื่อ “ทรู” อย่างไรก็คือ “ทรู” เพียงแค่เป็นบริษัทใหม่ที่มีทั้งลูกค้าทรูกับดีแทคเดิมรวมอยู่ด้วยกันเท่านั้นเอง
ศึกอุตสาหกรรมโทรคมนาคมขณะนี้ ส่อความดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดูตัวเลขการรวมกิจการกันแล้ว จะพบว่า หลังรวมกิจการแล้วฐานลูกค้าบริษัทใหม่ชื่อ “ทรู” จะมีฐานลูกค้ามือถือรวมเป็น 54.6 ล้านราย ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ทันทีแทน “เอไอเอส” ที่มีฐานลูกค้าอยู่ที่ 45.6 ล้านราย (ตัวเลข ณ ไตรมาส 3/2565)จำนวนคลื่นความถี่บริษัทใหม่ชื่อ “ทรู” มีจำนวน 11 ย่านความถี่ มากกว่า “เอไอเอส” ที่มีเพียง 6 ย่านความถี่
ณ วันนี้ยอดผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งประเทศไทย ถ้ารวมทุกค่ายแล้วเป็น 100.2 ล้านเลขหมาย (ณ ไตรมาส 3/2565) เมื่อเทียบกับประชากรไทยทั้งประเทศที่มีกว่า 66 ล้านคน จะแสดงให้เห็นว่า ประชากร 1 คนจะมีเบอร์มือถือเฉลี่ยประมาณ 1.5 เลขหมาย สะท้อนว่า ตลาดเบอร์มือถือค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว แล้วค่ายมือถือจะทำอย่างไรกับฐานลูกค้าที่มีอยู่ เพื่อไปต่อยอดธุรกิจอะไรได้บ้าง เพื่อสร้างรายได้และกำไรให้บริษัทอย่างยั่งยืน
คงหนีไม่พ้นการให้บริการด้าน Data ทั้งการใ้ห้บริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ และ Content ในรูปแบบต่างๆ ในยุคดิจิทัล ที่สามารถให้ฐานลูกค้าของตัวเองใช้งานได้ในทุกช่องทางทั้งมือถือ และอินเตอร์เน็ตบ้าน
เพราะฉะนั้น ความแข็งแกร่งของ “ทรู” ที่ “เอไอเอส” พยายามเข้าไปแข่งและเพิ่มฐานลูกค้า เพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งทรูมีอินเตอร์เน็ตบ้าน หรือที่เรียกในนาม “ทรูออนไลน์” ที่มีฐานลูกค้าจำนวน 4.9 ล้านราย ขณะที่เอไอเอส ในนาม “เอไอเอส ไฟเบอร์” มีเพียง 2.9 ล้านราย
ลองมาดูแนวทางการทำธุรกิจของ 2 ค่ายมือถือนี้กันว่า เป็นอย่างไร
แนวทางการดำเนินธุกิจของ “เอไอเอส” แบ่งเป็นดังนี้
ทั้งนี้ เอไอเอสได้เดินหน้าเข้าซื้อ 3BB และหน่วยลงทุนในกองทุน JASIF คาดว่าธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ไตรมาส 1 ปี 66 ซึ่งจะช่วยให้คนไทยทุกพื้นที่เข้าถึงบริการดิจิทัล และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากไฟเบอร์ และลดปริมาณสายทับซ้อน โดยการเข้าไปลงทุนขยายธุรกิจ AIS Fibre ด้วยการเข้าซื้อ 3BB และ JASIF ยังคงเป็นไปตามเป้าหมายในธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน และมุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสมบูรณ์
ล่าสุด ทรูงัดไม้เด็ดออกมาสะเทือนวงการ เมื่อกลุ่ม ดิจิทัล มีเดีย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ได้นำ ลิซ่า แบล็กพิงค์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ของทรูไอดี เพื่อมาช่วยตอกย้ำภาพความเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกของทรูไอดี ทรูไอดีที่สุดคอนเทนต์ระดับโลกที่ตรงใจคนไทย ที่ในปัจจุบันครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์
โดยทรูไอดีปัจจุบันให้บริการคอนเทนต์ความบันเทิง เช่น ทั้งหนัง เพลง ซีรีส์ กีฬา ข่าวสาร ทั้งพากย์ไทย และซับไทย พร้อมยังได้สิทธิ์แพร่ภาพเอ็กซ์คูลซีฟคอนเทนต์ของ BLACKPINK และคอนเทนต์อื่น ๆ จากศิลปินในสังกัด YG Entertainment ตลอดปี 2566 อีกด้วย เรียกได้ว่า สะเทือนวงการกันเลยทีเดียว
ศึกนี้ยังไม่จบ…อย่าเพิ่งนับศพทหาร..สงครามเพิ่งเริ่มต้น..คงต้องติดตามกันต่อไปว่า..แต่ละค่ายจะงัดไม้เด็ดออกมาสู้กันอีก..แต่สุดท้าย..อย่างไรขอผู้บริโภคเท่านั้นที่ได้ประโยชน์สูงสุดในการแข่งขันครั้งนี้..ก็จะดีที่สุด..จะถือว่าเป็นการรับผิดชอบทางสังคมอย่างยวดยิ่ง!!!