จากกระแส หนังไทยม้ามืดแห่งปีอย่าง สัปเหร่อ หนังที่ฉายไปได้แค่ 18 วัน หรือ 2 สัปดาห์แต่ล่าสุดกวาดรายได้ทั่วประเทศทะลุ 500 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นวันนี้ทาง Spotlight พาไปสำรวจอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทยที่ถึงแม้ว่าช่วงเวลาที่ผ่านมาจะ ล้มลุกคลุกคลาน แต่ในปี 2566 นี้มีโมเมนตัม ที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกกำลังกลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง รวมถึงพาไปดู 10 หนังไทย ที่สามารถทำรายได้สูงที่สุดตลอดกาลของอุตสาหกรรมหนังไทยในเวลานี้
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาวงการหนังไทยต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ทั้งจาก คุณภาพหนังไทย ปัญหาเศรษฐกิจ และที่หนักที่สุดคือ โรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้โรงหนัง และยิ่งการมาถึงของ สตรีมมิงที่เปลี่ยนพฤติกรรมการชมภาพยนตร์ของผู้ชมชาวไทยไปแบบไม่เหมือนเดิม อีกต่อไป แต่จากการมาของหนังไทย ม้ามืดอย่าง สัปเหร่อ ที่ฉายมาแค่ 18 วันก็ทำรายได้ไป 500 ล้านบาท (รายได้ทั่วประทศ) คาดว่าจะขึ้นแท่นเป็นหนังไทยอีก 1 ที่ทำรายได้สูงสุดในปี 2566 และกำลังจะทำลายอีกหลายสถิติเนื่องจากหนังยังไม่ออกจากโรงภาพยนตร์
หนังเป็นกระแสจน ทำให้ นายก เศรษฐา เตรียมพาครม. ดูหนัง สัปเหร่อ ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันที่ 25 ตุลาคม เวลา 19.45 น. ทั้งนี้ยังช่วน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ จะไปร่วมชมด้วย โดยเตรียมชูเป็น 1 ในซอฟต์พาวเวอร์ที่รัฐบาล ผลักดันสู่เวทีสากล
แต่ว่ากว่าจะมี หนังไทยอย่าง สัปเหร่อ ที่สร้างเวลานี้ได้สร้างปรากฏการณ์ คนแห่เข้าโรงหนังอย่างถล่มทลาย เราไปย้อนดูกันก่อนว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย ในช่วงที่ผ่านมาต้องเผชิญความยากลำบากอะไรบ้าง
จากข้อมูลของ สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์ไทย และ ค่าย หนัง จีดีเอช ที่บอกว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประไทยมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3,000-4,000 ล้านบาทต่อปี โดยหนังที่ครองส่วนแบ่งมากที่สุดคือ ภาพยนตร์ฮอลลีวูด ที่ครองส่วนแบ่งไปถึง 70% และ ภาพยนตร์ไทย ครองส่วนแบ่งไปแค่ 30% เท่านั้น โดยแบ่งได้ดังนี้
สำหรับในปี 2565 จะเห็นได้ว่าตลาดภาพยนตร์ในไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้น มูลค่าตลาดอยู่ที่ 2,100 ล้านบาท จากจำนวนหนังที่เข้าฉาย 40 เรื่อง ทำให้โมเมนตัมในปี 2566 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกกำลังกลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง พร้อมกับค่ายหนังต่าง ๆ เริ่มผลิตคอนเทนท์ป้อนโรงภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคก็เริ่มกลับมาชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์มากขึ้น
จาก คําครหา ที่ว่า หนังไทยที่ทำเงินมีแต่หนัง “ผี” และ “ตลก” เท่านั้น แต่หากพิจารณาจาก 10 อันดับแรกของหนังไทยที่ทำรายได้เกิน 100 ล้านบาท ในช่วง 5 ปีหลัง พบว่ามีหนังแนวที่หลากหลายมากขึ้น เช่น หนังแอ็กชัน หนังดราม่า หนังสยองขวัญ หนังสารคดี ฯลฯ ซึ่งแตกต่างจากหลายๆปีที่ผ่านมาที่หนังไทยมักถูกจำกัดอยู่เพียงสองแนวหลักคือ “ผี” และ “ตลก”
นอกจากนี้ ความหลากหลายของความคิดสร้างสรรค์ยังเป็นตัวเร่งให้ค่ายหนังเล็ก ๆ หรือน้อยใหม่อย่าง ค่ายเนรมิตรหนังฟิล์ม ที่ทำหนังอย่าง 4Kings หนังแนวนักเลง ที่กวาดรายได้ไป 170 ล้านบาท ขึ้นแท่นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินเป็นอันดับ 1 ในปี 64 ที่ผ่านมา รวมไปถึง หนังสัตว์ประหลาดอย่าง LEIO โคตรแย้ยักษ์
จนมาถึงค่าย เซิ้ง ค่ายหนังบ้านๆ ที่มาพร้อมกับแนวความคิด ป่าล้อมเมือง สร้าง Cinematic Universe ที่เรียกว่า ไทบ้าน จักรวาลหนัง อีสาน บ้านๆที่ลงตัว ในแบบของตนเองจนโดดเด่นและ ทำต่อออกมาอีกหลายภาคจนล่าสุด กับการมาถึงของ ‘สัปเหร่อ’ หนังบ้านๆที่ทำรายได้ ประมาณการทั่วประเทศ ไปแล้วกว่า 500 ล้านบาท ณ วันที่ 24 ตุลาคม และคาดว่าน่าจะแตะหลัก 600-700 ล้านบาทได้ในเวลาอันใกล้
จากความหลากหลายในไม่กี่ปีที่ผ่านมาถือเป็นสัญญาณที่ดีของวงการหนังไทย เพราะมันแสดงให้เห็นว่าผู้ชมเริ่มเปิดรับหนังไทยที่แตกต่างออกไปมากขึ้น ดังนั้นความท้าทายของวงการหนังไทยยังคงมีอยู่ แต่ความหลากหลายของความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นจุดแข็งที่สำคัญที่จะช่วยให้วงการหนังไทยสามารถปรับตัวและเติบโตต่อไปได้
อันดับที่ 1 : พี่มาก..พระโขนง
อันดับที่ 2 : ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้
อันดับที่ 3 : สุริโยไท
อันดับที่ 4 : ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา
อันดับที่ 5 : ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสรภาพ
อันดับที่ 6 : ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี
อันดับที่ 7 : ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ยุทธนาวี
อันดับที่ 8 : ต้มยำกุ้ง
อันดับที่ 9 : บุพเพสันนิวาส 2
อันดับที่ 10 : นาคี 2
(หมายเหตุ: รายได้ของหนังไทยใน 10 อันดับ นี้เป็นการเรียงลำดับจากรายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ มีเพียงหนังบางเรื่องที่มีการเปิดเผยรายได้ประมาณการจากการฉายทั่วประเทศ ทั้งนี้ ผู้ผลิตอาจทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเองก็ได้ โดยตัดบทบาทของพ่อค้าคนกลางออกไป ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า ซึ่งลักษณะนี้จะใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล เป็นหลัก โดยผู้ผลิตจะติดต่อกับโรงภาพยนตร์ในพื้นที่โดยตรง และตกลงแบ่งรายได้กันในสัดส่วนที่แน่นอน (ส่วนใหญ่ตกลงแบ่งรายได้กันในอัตราส่วน 50:50) คำนวณจากตั๋วภาพยนตร์ที่ขายได้ ตัวเลขรายได้จะสะท้อนความสำเร็จของภาพยนตร์ได้อย่างแท้จริง แต่ปัญหาคือการติดต่อโดยตรงเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ผลิตเช่นกัน เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้ติดต่อเอง ผู้ผลิตยังต้องส่งผู้ควบคุมไปตรวจสอบที่โรงภาพยนตร์ว่าขายตั๋วภาพยนตร์ได้ตามจำนวนเงินที่แจ้งมาหรือไม่ ซึ่งผู้ผลิตภาพยนตร์ในประเทศไทยเองไม่ได้มีเงินทุนสูง จึงใช้ระบบติดต่อกันโดยตรงแค่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)
ที่มา: Wikipedia, Thailand Box Office,สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์ไทย และ จีดีเอช