รายงาน Ecommerce in Southeast Asia 2023 ของ Momentum Works บริษัทให้คำปรึกษาทางธุรกิจในสิงคโปร์ ระบุว่า ยอดขายสินค้าโดยรวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2565 มีมูลค่าอยู่ที่ 99.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 1.8 เท่า จากปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่โควิด-19 เริ่มระบาดราว รวมมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า Shopee และ Lazada เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ 2 อันดับแรกในประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นอินโดนีเซีย โดยแบ่งเป็น
หากรวม มูลค่า GMV(Gross Merchandise Value) ทั้งหมดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะอยู่ที่ 175 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2571 ภายใต้สถานการณ์ปกติ และจะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าเป็น 232 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าที่ดีที่สุด ส่วนภาพรวมอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2565 เมื่อจำแนกภาพการแข่งขันในปี 2565 เป็นรายประเทศ จะพบว่ามีรายละเอียดดังนี้
แพลตฟอร์มที่ครองส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศ
มีมูลค่ายอดขายสินค้าโดยรวมอยู่ที่ 1.44 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
แพลตฟอร์มที่ครองส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศ
มีมูลค่ายอดขายสินค้าโดยรวมอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
แพลตฟอร์มที่ครองส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศ
มีมูลค่ายอดขายสินค้าโดยรวมอยู่ที่ 5.19 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับอินโดนีเซียเป็นประเทษเดียวที่รัฐบาลออกกฎสนับสนุน GMV ของภายในประเทศสูงถึง 52%
แพลตฟอร์มที่ครองส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศ
มีมูลค่ายอดขายสินค้าโดยรวมอยู่ที่ 1.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
แพลตฟอร์มที่ครองส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศ
มีมูลค่ายอดขายสินค้าโดยรวมอยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
แพลตฟอร์มที่ครองส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศ
มูลค่ายอดขายสินค้าโดยรวมอยู่ที่ 8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Momentum Works มองว่าปัจจัยที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือการบุกตลาดของ “Temu” แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจากผู้ให้บริการรายใหญ่ในจีนอย่าง Pinduoduo ที่ชูจุดเด่นขายสินค้าในราคาถูกมาก จนสามารถบุกตลาดในสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ
การมาถึงของ Temuอ จะกระตุ้นการแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซ ผู้เล่นเดิมอย่าง Shopee และ Lazada ต้องปรับกลยุทธ์ สร้างนวัตกรรม และเสนอโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้า ส่งผลให้ตลาดกลับมาคึกคัก บรรยากาศการแข่งขันดุเดือด
นอกจากนี้ กรณีที่หากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว โดนเฉพาะ จีนและสหรัฐฯ หลุดพ้นจากภาวะถดถอย เศรษฐกิจกลับมาแข็งแกร่ง จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสริมกำลังซื้อผู้บริโภค การค้าข้ามพรมแดน และการลงทุนต่างๆ แต่หากอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง จะส่งผลต่อกำลังซื้อผู้บริโภค ธุรกิจขนาดเล็ก และการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้า