ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะฟื้นตัวตามคาดการณ์ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย จากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
สำหรับคลื่นยักษ์แห่งความท้าทาย ที่ต้องประสบ และอาจส่งผลต่อการประกอบธุรกิจในปี 2567 ได้แก่ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก ความผันผวนของตลาดการเงินโลก สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ และสภาพอากาศที่แปรปรวน
จากรายงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยข้อมูลภาพรวมธุรกิจในปี 2567 คาดว่า จะได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตามคาดการณ์ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ได้คาดการณ์ไว้ที่ 2.7 - 3.7% และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกไว้ที่ 2.7% สอดคล้องกับกระทรวงการคลังที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.2% ต่อปี
จากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง มาตรการภาครัฐด้านต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการบริโภคของภาคเอกชน เช่น โครงการ อี-รีฟันด์ (e-Refund) มาตรการลดหย่อนภาษี (Easy E-receipt) มาตรการแก้หนี้นอกระบบ และนโยบายสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ที่จะช่วยสร้างกระแสหรือความนิยมและมูลค่าเพิ่มให้กับเรื่องต่างๆ เป็นต้น
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการประกอบธุรกิจในปี 2567 ที่ควรจับตามอง ได้แก่ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่อาจส่งผลต่อการค้าและการลงทุนโลก ความผันผวนของตลาดการเงินโลก สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย รวมทั้ง ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจส่งผลต่อสถานการณ์แล้งและต้นทุนราคาอาหาร นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ภาระหนี้สินต่อครัวเรือนที่สูง ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เป็นอีกปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในปี 2567 ได้
สำหรับปี 2567 มีกระแสความนิยมหรือเทรนด์ (Trend) ต่างๆ ที่คาดว่าจะเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่
จากปัจจัยข้างต้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า คาดการณ์จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ ปี 2567 น่าจะมีแนวโน้มเติบโตได้ดีขึ้นจากปี 2566 ซึ่งมีจำนวนการจัดตั้งทั้งสิ้น 85,300 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 12% ซึ่งส่งผลให้ในปี 2567 คาดการณ์ตัวเลขการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่อยู่ที่ 90,000-95,000 ราย เพิ่มขึ้นประมาณ 5 - 10% จากปี 2566 และคาดว่าจะมีนักลงทุนชาวต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 - 1.4 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5 - 10%
ด้วยภายใต้สภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้ง สภาวะตลาดที่มีการแข่งขันสูง ภาคธุรกิจควรตั้งรับและปรับตัวให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยอาจขยายตลาดและหากลุ่มลูกค้าใหม่ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งรักษาฐานลูกค้าเดิม บริหารจัดการค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนในการผลิต โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการให้เข้ากับความต้องการของตลาดมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบ จากกำลังซื้อภาคครัวเรือนที่อาจลดลง จากความผันผวนทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ผู้ประกอบธุรกิจควรดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล หรือ ESG เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ สร้างความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนทั้งในประเทศและในระดับสากล” อธิบดีอรมน กล่าวทิ้งท้าย
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยบวกต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ และปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ดังนั้น ภาคธุรกิจควรเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืน