โรคมะเร็ง โรคร้ายที่คนทั่วโลกต่างหวาดกลัว และถือเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตของของคนทั่วโลก รวมถึงประชากรไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
โดยจากข้อมูลล่าสุดจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในประเทศไทยติดต่อกันในหลายสิบปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการ หรือพบความผิดปกติใดๆในช่วงแรก ทำให้ทุกนี้โรคมะเร็งกลายเป็นภัยร้ายที่น่ากลัวที่คร่าชีวิตมาแล้วนับไม่ถ้วน และยังถือเป็นปัญหาสาธารณสุขเกือบทุกประเทศ โดยทุกวันที่ 4 ก.พ. ของทุกปี จัดว่าเป็นวันมะเร็งโรค (World Cancer Day) เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องของโรค เพราะแม้จะเป็นโรคที่ดูร้ายแรงและน่ากลัว แต่หากเราตรวจพบแต่เนิ่นๆ รักษาให้ทันท่วงที โรคนี้อาจหายขาด หรือสามารถต่อชีวิตคนที่เรารักได้
หลายๆคนอาจคิดว่า ‘บุหรี่’ เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด แต่แท้จริงแล้ว ความสกปรกของอากาศ เช่น ภาวะอากาศเป็นพิษ โดยเฉพาะฝุ่นละอองเล็กจิ๋วอย่าง PM 2.5 ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอดได้ 1-1.4 เท่า
จากสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 62 พบว่าประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งปอดใหม่ จำนวนวันละ 47 คน หรือถ้าคิดเป็นปีอยู่ที่ 17,222 คน ต่อปี แบ่งเป็น
ชาย - 10,766 คน
หญิง - 6,456 คน
แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา PM2.5 ในไทย ถึงขั้นวิกฤต เนื่องจากสามารถวัดค่าความหนาเเน่นเฉลี่ยได้ถึง 26.4 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศไว้ (ไม่เกิน10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ส่งผลต่อประชากรที่ต้องป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศ รวมกว่า 9.2 ล้านคน และมะเร็งปอด กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย ซึ่งแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 19,000 ราย
ล่าสุด BDMS นำร่องโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ร่วมกับ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ เพื่อช่วยวินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด เพื่อปิดช่องว่างในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด ด้วยแคมเปญ Close the care gap ขององค์การอนามัยโลก (WHO) พร้อมตั้งเป้าดูแลผู้ป่วยแบบครบองค์รวมในทุกขั้นตอนการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม และการตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งในร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว ชูความเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็งแห่งเอเชียแปซิฟิก (Center of Excellence - Cancer)
ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะเข้ามาช่วยในวินิจฉัยภาพเอกซเรย์รังสีทรวงอกในผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ยิ่งไปกว่านั้น AI จะทำหน้าที่เหมือนหน่วยคัดกรองที่ช่วยให้แพทย์ตรวจพบเงาของก้อนเนื้อในปอดในระยะเริ่มต้นที่อาจมีขนาดเล็กหรือมองเห็นได้ยากภายในระยะเวลา 3 นาที
ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและสามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิต เพิ่มอัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งปอดได้มากยิ่งขึ้น
หลังจากนั้น โรงพยาบาลนำชุดตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งในร่างกายจากเลือด (Circulating Tumor DNA : ctDNA) โดยใช้เทคโนโลยี Next-Generation Sequencing ที่สามารถตรวจหามะเร็งหลายชนิดพร้อมกัน เพื่อค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ก่อนเป็นจนถึงระยะเริ่มต้น ซึ่งช่วยเสริมการตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งเฉพาะบุคคล พร้อมทั้งช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย