บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือใช้ชื่อย่อหุ้นว่า “TLI” ประกาศเดินหน้าแผนการขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนรวมไม่เกิน 2,155.068 ล้านหุ้น กำหนดราคาหุ้นละ 16 บาท คาดได้เงินระดมทุน 37,000 ล้านบาท ถือเป็นไอพีโอที่มีมูลค่าสูงที่สุดของปีนี้ และถือเป็นไอพีโอบริษัทประกันภัยและประกันชีวิตที่มีมูลค่าเสนอขายสูงสุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย และเป็นไอพีโอธุรกิจประกันภัยที่มีมูลค่าสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน คาดว่าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ในกลุ่มธุรกิจการเงิน/ประกันภัยและประกันชีวิตในช่วงปลายเดือน ก.ค. 2565
สามารจองซื้อได้ที่ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหลัก ได้แก่
ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม ได้แก่
กำหนดระยะเวลาจองซื้อ
ผู้ลงทุนในประเทศจำนวน 1,623.16 ล้านหุ้น 75.3%
ผู้ลงทุนในต่างประเทศจำนวน 531.9 ล้านหุ้น 24.7%
เคาะราคา IPO ที่ 16 บาท/หุ้น
หุ้นไอพีโอ TLI ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นละ 16 บาท คิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เก็ตแคป) ณ ราคา IPO ที่มูลค่า 183,200 ล้านบาท และติดอันดับ 25 อันดับแรกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ส่งผลให้ TLI มีโอกาสได้ Fast Track เข้าคำนวณดัชนี SET50 ในครึ่งปี 2565 นี้ด้วย
แหล่งข่าวระดับสูงวงการตลาดทุน กล่าวกับ ทีมข่าว 'SPOTLIGHT' ว่า เบื้องต้นขณะนี้หุ้นของ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด(มาหาชน) หรือ TLI กำหนดวันเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแรกในวันที่ 25 ก.ค. ปีนี้
ปี รายได้ กำไรสุทธิ
2562 108,388.70 ล้านบาท 6,777.35 ล้านบาท
2563 107,642.26 ล้านบาท 7,692.32 ล้านบาท
2564 109,246.02 ล้านบาท 8,393.52 ล้านบาท
Q1/2564 25,198.42 ล้านบาท 3,307.97 ล้านบาท
Q1/2565 25,954.55 ล้านบาท 3,793.28 ล้านบาท
TLI มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิหลังจากหักภาษีในแต่ละรอบปีบัญชีเงินปันผลของบริษัทฯ โดยจะจ่ายจากเงินกำไรสุทธิ หลังจากหักภาษีและจัดสรรทุนสำรองต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2565 TLI มีส่วนแบ่งทางการตลาดบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย (พิจารณาจากเบี้ยประกันภัยรับรวม) อยู่ที่ 13% สูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย
ณ วันที่ 31 มี.ค. 2565 TLI มีตัวแทนประกันจำนวนมากกว่า 64,000 รายครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งในจำนวนดังกล่าว บริษัทฯ มีตัวแทนประกันที่มีตำแหน่งตั้งแต่ระดับผู้บริหารหน่วยขึ้นไปจำนวนประมาณ 23,000 ราย โดยบริษัทฯ ถือเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่มีตัวแทนประกันจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
นอกจากนี้จากข้อมูลของสมาคมประกันชีวิตไทย ณ เดือนมิ.ย.2564 ตัวแทนประกันของบริษัทฯ คิดเป็นจำนวนมากกว่าสัดส่วน 25% ของจำนวนตัวแทนประกันทั้งหมดในประเทศไทย ทั้งนี้ ในปี 2564 และสำหรับรอบระยะเวลาสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2565 ช่องทางจัดจำหน่ายผ่านตัวแทนประกันของบริษัทฯ อยู่ในอันดับที่สองและอันดับที่สามในประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่สัดส่วน 16.3% และ 16% ของเบี้ยประกันภัยรับปีแรกแบบคำนวณรายปีทั้งหมดที่ขายผ่านตัวแทนประกันของทั้งอุตสาหกรรมประกันภัย ตามลำดับ
บล.หยวนต้า(ประเทศไทย) วิเคราะห์ว่า บริษัทประกันชีวิตที่มีจุดเด่นในการขายผ่านช่องทางตัวแทน TLI เป็นบริษัทประกันชีวิตที่จัดตั้งโดยคนไทย เปิดดำเนินการมากว่า 80 ปี ปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดในแง่ของเบี้ยประกันรวมเป็นอันดับ 3 มีสัดส่วนราว 13% ของอุตสหกรรม จุดเด่นหลักๆ คือ
1) TLI มี Meiji Yasuda Life Insurance เป็น Strategic Shareholder ช่วยพัฒนำ Know-How ทั้งในแง่ผลิตภัณฑ์และกำรขยำยตลาดในต่างประเทศ
2) TLI เป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่มีจำนวนตัวแทนมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นช่องทางขายยที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งในแง่กำรให้บริกำรที่ใกล้ชิดลูกค้ำและการให้ข้อมูลเพื่อขำยผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนสูง
3) TLI มีธนาคารและ Non-Banks เป็นพันธมิตรช่วยเพิ่มช่องทำงเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มรายได้ปานกลาง-สูง
4) TLI มีระบบ Digital ที่ทันสมัยช่วยให้ตัวแทนขายสามารถบริหารจัดการฐานลูกค้าและทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
TLI มีแผนเสนอขำยหุ้น IPO จำ นวนไม่เกิน 2,207 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท) เพื่อนำ เงินที่ได้รับจำกกำร IPO ในครั้งนี้ไปใช้ขยายธุรกิจ ดังนี้ คือ
1) ลงทุนด้ำนเทคโนโลยีและทำกำรตลำด ซึ่งหลักๆ เป็นการปรับองค์กรเป็น Data Driven Company
2) เสริมความแข็งแกร่งของช่องทำงจัดจำหน่ำยผ่ำนทำงพันธมิตร
3)เสริมความแข็งแกร่งของเงินทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียน
ปี 2565 คาด TLI มีกำไรสุทธิ 10,634 ล้านบาท เติบโต 26.7% จากปีก่อน หลักๆ มาจากการฟื้นตัวของเบี้ยประกันรับปีแรกที่จะเร่งตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปี หลังการขายผ่านช่องทางตัวแทนสามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามการเปิดประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวม
แม้คาดจะปรับตัวขึ้นแต่หากพิจำรณำเป็น Combined Ratio คาดปรับลงจาก 109.3% ในปี 2564 เหลือ 107.8% จากอัตรการสำรองประกันภัยระยะยาวที่น้อยลงภายใต้ดอกเบี้ยขาขึ้น และอัตราการจ่ายผลประโยชน์ให้ตามกรมธรรม์ที่น้อยลงจาการเสียชีวิต ด้วย COVID-19 ที่ทยอยปรับตัวลงในช่วงครึ่งหลังปี 2565
TLI เป็นหุ้นประกันชีวิตที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นหนึ่งในผู้นำของการประกันผ่านช่องทำงตัวแทนที่คาดว่าจะมีการฟื้นตัวค่อนข้างเด่นในช่วงหลัง COVID ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นยังช่วยให้บริษัทมีรายได้จากเงินลงทุนเพิ่มขึ้นและลดความเสี่ยงในการตั้งสำ รองประกันภัยระยะยาว
บวกกับบริษัทมีแผนที่จะลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อปรับองค์กรให้เป็น Data Driven Company คาดว่าจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของบริษัทมีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น สนับสนุนให้ศักยภาพในการแข่งขันของบริษัทเพิ่มขึ้นในระยะยำว
นอกจากนี้ TLI ยังจัดเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีสถานะการเงินแข็งแรง มี CAR อยู่ที่ 361% สูงกว่ำขั้นต่ำ ที่ คปภ. กำหนดไวที่ 140% สะท้อนควำมแข็งแกร่งด้านเงินทุน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้ำมั่นใจในฐานะการเงินของบริษัท
ส่วนในแง่ Valuation เราประเมินมูลค่ำของ TLI โดยอิง P/EV (Embedded Value) ที่ 1-1.1x สูงกว่ำ BLA ที่ซื้อขำยด้วย P/EV ที่ 1x เนื่องจาก TLI มีความแข็งแกร่งของการขายผ่านช่องทางตัวแทนที่สูงกว่า ประกอบกับมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงกว่าของ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ BLA ดังนั้นได้ประเมินมูลค่าของกิจการของ TLI ในปี 2565 อยู่ที่ 218,575 - 240,433 ล้านบาท
ขอบคุณที่มาข้อมูล : สำนักงาน ก.ล.ต., บริษัท ไทยประกันชีวิต