บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AS ผู้ดำเนินธุรกิจบริการเกมออนไลน์ และเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในประเทศไทย และในอาเซียน ล่าสุดประกาศดีลที่สร้างความน่าสนใจให้คนในแวดวงการเงินกับเทคโนโลยี โดย AS ประกาศร่วมกับบริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด บริษัทในเครือของ 'บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์' ซึ่ง 'บิทคับ เวนเจอร์ส' นี้มีหน้าลงทุนในสตาร์ตอัป และโครงการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน
โดยตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาใหม่คือ 'คับเพลย์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์' ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบนิเวศของ Blockchain ครบวงจรสำหรับรับรองรับเกมต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบโมเดลธุรกิจเดิม (Conventional Game) ให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบโมเดลธุรกิจไปสู่ Hybrid GameFi รวมถึงการซื้อสิทธิ์เกมออนไลน์จากผู้พัฒนาเพื่อนำมาให้บริการภายใต้ระบบนิเวศ
'กิตติพงศ์ พฤกษอรุณ' กรรมการผู้จัดการ ของ AS ให้สัมภาษณ์ถึงแผนเบื้องต้นของธุรกิจกับทีมข่าว 'SPOTLIGHT' ว่า 'คับเพลย์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์' มีแผนจะพัฒนาสร้างแพลตฟอร์มเป็น Hybrid GameFi ขึ้นมา โดยแปลงจากโมเดลธุรกิจเดิมเกมส์ (Conventional Game) ของบริษัทบางส่วนไปเชื่อมกับระบบ Blockchain ของ Bitkub เพื่อสร้างให้เกิดโมเดลให้ผู้ที่มา "เล่นเกมส์แล้วมีรายได้" หรือ Play to Earn
โดยบริษัทมีแผนเตรียมที่เริ่มทยอยเปิดตัวแพลตฟอร์มเ Hybrid GameFi ในช่วงปลายเดือน ก.ย. หรือต้นเดือน ต.ค. นี้ ขณะที่ Hybrid GameFi ดังกล่าวนี้ยังมีแผนที่จะออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์(Utility token) เพื่อใช้งานสำหรับแพลตฟอร์มนี้
ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล และเป็นที่ปรึกษาในกระบวนการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน(ICO Portal) ซึ่งน่าจะเลือกสรุป ICO Portal ได้ในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ โดยจะดำเนินการขั้นตอนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ที่เกี่ยวกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่กำลังจประกาศออกมา
ซึ่งคาดว่าหากมีความชัดเจนของกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) แล้ว คาด Utility token ของแพลตฟอร์มเ Hybrid GameFi จะสามารถออกได้ในช่วงปลายปี 2565 หรือต้นปี 2566 นี้ โดยหากสามารถออก Utility token ได้สำเร็จตามแผนก็จะเป็น Utility token เหรียญแรกที่เป็นโทเคน Gaming รายแรกในไทยด้วย
แต่หากพูดถึง 'เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น' หรือใช้ชื่อย่อในตลาดหุ้นว่า AS หากคนที่ไมได้อยู่ใกล้ในวงการตลาดหุ้นหรือเป็นนักลงทุนที่เคยศึกษาข้อมูลมาแล้วอาจยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว AS ทำธุรกิจอะไรบ้าง โดยทีมข่าว 'SPOTLIHGT'จะพาไปทำความรู้จักให้มากขึ้น
'เอเชียซอฟท์ฯ' ตั้งขึ้นในปี 2544 ทำธุรกิจให้บริการเกมออนไลน์ ทั้งบนคอมพิวเตอร์และบนมือถือ ทั้งในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เกมดังออนไลน์ชื่อดังอย่าง Ragnarok, Yulgang, MapleStory และ Auditionที่ฮอตฮิตในรระหว่างปี 2543-2553
โดยการทำธุรกิจใช้โมเดล การไปซื้อลิขสิทธิ์เกมจากผู้จัดจำหน่ายหรือผู้พัฒนาเกมมาให้บริการแก่ผู้เล่นเกมในพื้นที่ที่ตัวเองทำธุรกิจ มีจุดเริ่มต้นของธุรกิจด้วยเปิดตัวเกมออนไลน์ที่ชื่อว่า “Ragnarok Online” ได้กระแสตอบรับที่ดีมากๆ เป็นที่ฮอตฮิต จากเหล่า 'เกมเมอร์' ไทยในตอนนั้นจนได้รับความนิยมอย่างมาก และถือเป็นบริษัทเกมส์เจ้าแรกที่เข้าทะเบียนในตลาดหุ้นไทย
ปัจจุบัน 'เอเชียซอฟท์' ทำธุรกิจให้บริการเกมออนไลน์ และความบันเทิงในรูปแบบดิจิทัล โดยมีแพลตฟอร์มและเครือข่ายที่กว้างขวาง พร้อมรองรับผู้พัฒนาเกมออนไลน์ต่างประเทศที่ต้องการขยายการให้บริการสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่ตลาดเกมเติบโตเร็วที่สุดในโลก
นอกจากเอเชียซอฟท์ฯ มีแพลตฟอร์มและเครือข่ายที่กว้างขวาง พร้อมรองรับผู้พัฒนาเกมต่างประเทศที่ต้องการขยายการให้บริการสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังดำเนินธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพัฒนาเกมออนไลน์และเกมมือถือ, การพัฒนาแอปพลิเคชั่นและโมบายล์แพลตฟอร์มต่างๆ, การให้บริการเว็บท่าเกม (Game Portal), การพัฒนาระบบเติมเงินเกมออนไลน์ ภายใต้ชื่อ เอแคช (@Cash)
รวมถึงยังเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์แห่งแรกในประเทศไทยที่นำเอาระบบรักษาความปลอดภัยแบบ “2-factor authentication” มาตรฐานเดียวกับที่ใช้ในสถาบันการเงิน มาให้บริการแก่ผู้เล่นเกมของบริษัทฯ ในชื่อบริการ เอคีย์ (@Key) นอกเหนือจากการลงทุนในธุรกิจเกมออนไลน์แล้ว บริษัทฯ ยังขยายการลงทุนไปยังหลากหลายธุรกิจ มีธุรกิจทั้งมี สิงคโปร์, มาเลเซีย, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งจัดจำหน่ายเกมพีซี
เปิดงบการเงิน 'เอเชียซอฟท์' ปี 2561-2565
ในปี 2564 มีเกมออนไลน์ที่เปิดให้บริการทั้งบนแพลตฟอร์ม รวม 32 เกม ซึ่งปี 2564 'เอเชียซอฟท์' ให้ข้อมูลว่า ในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการเติบโตของรายได้ในภาพรวม อาทิ ช่วงล็อกดาวน์ รายได้ เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่บ้าน และใช้เวลากับการเล่นเกมโมบายล์มากขึ้น
ขณะที่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การให้บริการเกมออนไลน์ถือเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้แก่กลุ่มบริษัทฯ ในสัดส่วนเฉลี่ย 98% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งธุรกิจให้บริการเกมออนไลน์ในแต่ละประเทศจะทำผ่านบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในประเทศนั้น ๆ ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีระบบเซิร์ฟเวอร์ทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศตนเอง เพื่อให้บริการแก่ผู้เล่นเกมในแต่ละประเทศ และเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ ในกรณีที่ต้องการให้บริการแก่ผู้เล่นหลายประเทศในภูมิภาคพร้อมกัน โดยกลุ่มบริษัทฯ ได้จัดเตรียมเซิร์ฟเวอร์ไว้อย่างเพียงพอ สามารถรองรับผู้เล่นเกมจำานวนมากพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ จากกระแสการพัฒนาของเทคโนโลยี cloud computing ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาที่ต่ำาลง กลุ่มบริษัทฯ จึงปรับเปลี่ยนมาใช้บริการ cloud platform จากผู้ให้บริการ แทนการลงทุนซื้อและบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ด้วยตนเอง อันเป็นผลให้สามารถบริหารต้นทุนด้านระบบไอที และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการได้ดียิ่งขึ้นกลุ่มบริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการเกมออนไลน์ท้งบนแพลตฟอร์มพีซี (คอมพิวเตอร์) และแพลตฟอร์มโมบายล์ซึ่งผู้เล่นสามารถเติมเงินเข้าเกมผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ @Cash, ระบบชำาระเงินออนไลน์ (E-Payment), ระบบกระเป๋าเงินอิเลกทรอนิกส์ (E-Wallet System) เป็นต้น