'สงครามเย็น-ห่วงโซ่อุปทาน-เรียนรู้ประวัติศาสตร์' ถอดสปีช 'สีจิ้นผิง' ใน APEC 2022 จีนต้องการสื่ออะไรให้โลกรู้?
อาจกล่าวได้ว่าการประชุม APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เป็นการประชุมที่ประธานาธิบดี "สี จิ้นผิง" ของจีน เป็นจุดโฟกัสที่โลกให้ความสนใจมากที่สุด เพราะเป็นเวทีที่ผู้นำสูงสุดของเขตเศรษฐกิจเบอร์ 2 ของโลกอย่างจีนมาร่วมประชุม โดยไม่มีผู้นำสูงสุดของสหรัฐมาด้วย
และหลายฝ่ายยิ่งให้ความสนใจเมื่อทราบว่าผู้นำจีนจะกล่าวปาฐกถาในการประชุม APEC CEO Summit 2022 ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนานทางฝั่งภาคธุรกิจของ APEC 2022 แม้ว่ากำหนดการนี้จะถูก "ยกเลิก" เพราะภารกิจที่แน่นขนัด จากการหารือทวิภาคีระหว่างจีนกับญี่ปุ่น แต่ประธานาธิบดีของจีนก็ได้เผยแพร่ ร่างคำปราศรัยล่วงหน้า ที่เตรียมมายาวถึง 4 หน้ากระดาษ และมีทั้งภาษาไทย จีน และอังกฤษ
ทีมข่าว SPOTLIGHT ได้สรุปใจความสำคัญของคำปราศรัยประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ในหัวข้อ "ยึดมั่นในความตั้งใจเดิม ร่วมกันส่งเสริมการพัฒนา เปิดหน้าใหม่แห่งความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก" ดังนี้
โลกมาอยู่ที่ทางแยกอีกครั้ง โลกจะไปทางไหน เอเชีย-แปซิฟิกจะทำอย่างไร พวกเราจำเป็นต้องหาคำตอบ ศตวรรษที่ 21 เป็นของเอเชีย-แปซิฟิก ประชากรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมี 1 ใน 3 ของทั่วโลก เศรษฐกิจคิดเป็น 60% และยอดมูลค่าการค้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจโลก เป็นเขตพื้นที่การเติบโตที่มีพลวัตที่สุดของเศรษฐกิจโลก จำเป็นต้องเปิดหน้าใหม่อันสดใสยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้นในอนาคต
เอเชีย-แปซิฟิกก้าวหน้า แต่โลกกำลังเต็มไปด้วยอุปสรรคขวางการพัฒนา
ปัจจุบัน สถานการณ์เอเชีย-แปซิฟิกมีความมั่นคงโดยภาพรวม ความร่วมมือภูมิภาคมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอย่างสันติ ความร่วมมือแบบวิน-วิน เป็นกระแสหลัก
ในขณะเดียวกัน โลกกำลังเข้าสู่ระยะการแปรปรวน และเปลี่ยนแปลง ความตึงเครียดของภูมิรัฐศาสตร์ และการแปรผันของโครงสร้างเศรษฐกิจได้ซ้อนทับกัน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมการพัฒนา และโครงสร้างความ ร่วมมือของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โรคโควิด-19 ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจโลกมีความกดกันในการชะลอตัว และมีความเสี่ยงเพิ่มมากยิ่งขึ้นในการถดถอย วิกฤติทางข้าว และธัญญาหาร พลังงาน และหนี้สิน ได้ปรากฏตัวพร้อมกัน มีประเทศจำนวนไม่น้อยกำลังเผชิญกับอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยความไม่มั่นคงและไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น
แนวคิดสงครามเย็น ลัทธิครองความเป็นใหญ่ ลัทธิเอกภาคีนิยม ลัทธิอนุรักษ์นิยมได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง พฤติกรรมที่บ่อนทำลายกฎระเบียบสากลและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ หนุนหลังการปะทะกันในภูมิภาค ขัดขวางความร่วมมือในการพัฒนาได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งไม่หยุด เป็นความท้าทายต่อสันติภาพและการพัฒนาของเอเชียแปซิฟิก
เรียนรู้ประวัติศาสตร์ สงครามเย็นและการเผชิญหน้าไม่ใช่คำตอบ
เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ย่อมจะได้รับบทเรียนให้กับอนาคต ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกได้อัดฉีดพลังอันใหญ่หลวงให้กับการพัฒนาของภูมิภาค ได้ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ประสบการณ์นี้ล้ำค่ามาก ความตั้งใจเดิมต้องยึดมั่นและทะนุถนอมเอาไว้
"พวกเราต้องเดินบนเส้นทางการพัฒนาที่สันติ" เอเชียแปซิฟิกเคยผ่านความยากลำบากของสงครามและความผันผวนแปรปรวน จกตกเป็นพื้นที่ถ่วงดุลอำนาจของประเทศมหาอำนาจ และเต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งของโลกสากล ประวัติศษสตร์ได้บ่งบอกพวกเราว่า การเผชิญหน้าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ อคติและการดูถูกแบ่งแยกจะนำ การหลุดพ้นจากสงครามเย็น ทำให้เอเชียแปซิฟิกโดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจขนาดปานกลางและขนาดย่อม สามารถพัฒนาก้าวหน้าอย่างทันสมัย และ "ปาฏิหาริย์แห่งเอเชียแปซิฟิก" จึงถือกำเนิดขึ้นได้
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไม่ใช่สวนดอกไม้ของใครสักคน ไม่ควรกลายเป็นพื้นที่ถ่วงดุลอำนาจของประเทศใหญ่ ความมุ่งหวังที่สร้าง “สงครามเย็นใหม่” ประชาชนจะไม่ยอมรับแน่นอน พวกเราต้องเดินอยู่บนเส้นทางแห่งการเปิดกว้าง และครอบคลุม การเปิดกว้างและครอบคลุมเป็นเงื่อนไขขั้นพื้นฐานแห่ง ความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา เขตเศรษฐกิจต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิกได้ร่วมกันสร้างตลาดที่มีความ บูรณภาพกัน ส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจเหนียวแน่นมากขึ้น อ้าแขนกอดโลกไว้อย่างแข็งขัน
การเปิดกว้างจะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า การปิดกั้นจะทำให้ล้าหลัง ขัดขวางจนทำลายห่วงโซ่อุตสาหกรรมและอุปทานที่มี มาตั้งนานแล้วของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้ล่มสลาย ย่อมจะส่งผลให้ความร่วมมือเศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิกเข้าสู่ “ทางตัน”
พวกเราต้องเดินอยู่บนเส้นทางแห่งความสมัครสมานสามัคคี "ปาฏิหาริย์แห่งเอเชียแปซิฟิก" สร้างสรรค์ขึ้นมาได้เพราะทุกประเทศจับมือกันฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ
แนวทาง 6 ข้อเพื่อความรุ่งเรืองของเอเชียแปซิฟิกหลังโควิด-19
ปัจจุบันนี้ เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกกำลังเข้าสู่ระยะเวลาสำคัญในการฟื้นฟูหลังเกิดโรค COVID-19 พวกเราต้องกระชับความร่วมมือ สนับสนุนซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผลักดันให้เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกอยู่ในแถวหน้าแห่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก
จีนและเอเชียแปซิฟิกต้องการซึ่งกันและกัน
การพัฒนาของประเทศจีนได้รับผลดีจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขณะเดียวกัน จีนก็ได้ใช้การพัฒนาของตนเองตอบรับและนำ ความผาสุกให้แก่ภูมิภาคนี้ เศรษฐกิจของจีน และของเอเชีย-แปซิฟิกได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และผสมผสานกันอย่างลึก ซึ่ง ประเทศจีนได้กลายเป็นคู่ค้าหลักของเขตเศรษฐกิจจำนวนมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นจุดสำคัญของห่วงโซ่ อุตสาหกรรม และห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคนี้ จีนจะยืนหยัดในการสร้างประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกที่มีอนาคตร่วมกันอย่างแน่นอน สร้างผลประโยชน์มากขึ้นให้กับความมั่นคง และความเจริญของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
จนถึงปัจจุบันนี้ จำนวนของประเทศอุตสาหกรรมของโลกนี้มีไม่เกิน 30 ประเทศ โดยมีประชากร ไม่เกินหนึ่งพันล้าน ประเทศจีนซึ่งมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันสี่ร้อยล้านคน บรรลุความทันสมัยนั้น จะเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในคน
ประวัติศาสตร์การพัฒนาของมนุษยชาติ การพัฒนาที่ดีของสังคม และเศรษฐกิจจีน ย่อมรณรงค์รวมพลังของประชากรจำนวนมากกว่า 1,400 ล้านคน เราจะยึดหมั่นแนวคิดที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ผู้ที่มีรายได้ปานกลางมีจำนวนเกิน 800 ล้านคนใน 15 ปีข้างหน้า ผลักดันให้ตลาดที่มีปริมาณอันยิ่งใหญ่ ไพศาลสามารถพัฒนาเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักปราชญ์จีนโบราณเคยกล่าวว่า ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศเริ่มจากการทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ร่ำรวย ประเทศจีนได้ประสบความสำเร็จในการขจัดความยากจนและสร้างสังคมกินดีอยู่ดีอย่างรอบด้าน ตอนนี้ต้องผลักดันประชาชนทั้งหมดมีชีวิตที่ร่ำรวยพร้อมเพรียงกัน
ข้าพเจ้าได้เสนอข้อริเริ่มการพัฒนาโลก ก็เพื่อจะแก้ไขปัญหาการพัฒนาที่ไม่สมดุล ประเทศจีนกำลังปฏิบัติข้อริเริ่มดังกล่าวกับประเทศและองค์กรระหว่างประเทศกว่า 100 แห่งอย่างเป็นรูปธรรม ผลักดันให้การประชุมระดับสูงในการพัฒนาของโลกที่จัดขึ้นในปีนี้เกิดผลที่เป็นจริง ประเทศจีนพร้อมที่จะเพิ่มการลงทุนด้านทรัพยากรให้กับความร่วมมือในการพัฒนาโลก และจับมือกับฝ่ายต่างๆ ในการสร้างประชาคมการพัฒนาของโลก
"น้ำใสภูเขาเขียว ก็คือภูเขาทองภูเขาเงิน" ย้ำเป้าหมายลดคาร์บอน ก่อนปี 2030
เมื่อหลายปีที่ผ่านมานี้ พวกเรามุ่งมั่นปฏิบัติตามแนวคิด "น้ำใสภูเขาเขียว ก็คือภูเขาทองภูเขาเงิน" ส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาแบบสีเขียว พยายามสร้างประเทศจีนอันสวยงามที่มีฟ้าใส ดินเขียว และน้ำสะอาด
ประเทศจีนได้ตั้งเป้าหมายที่ว่าจะพยายามปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ถึงระดับสูงสุดก่อนปี ค.ศ. 2030 และบรรลุความ เป็นกลางของคาร์บอนก่อนปี ค.ศ. 2060 ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาที่รัฐบาลจีนให้ไว้กับประชาคมโลก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ประเทศจีน เป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ลดความเข้มข้นของพลังงานรวดเร็วที่สุดในโลก ได้บรรลุเป้าหมายที่ว่าลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอน 40% ถึง 45% ในปี ค.ศ. 2020 โดยเกินโควตา ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสะสมไว้เป็นจำนวน 5,800 ล้าน ต้น ประเทศจีนได้สร้างเสร็จตลาดคาร์บอน และระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก หวังว่าทุกฝ่ายจะกระชับความร่วมมือ เดินบนเส้นทางพัฒนาแบบสีเขียว และคาร์บอนต่ำอย่างแน่วแน่ ร่วมกันสร้างประชาคมมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่มีอนาคตร่วมกัน
ที่ผ่านมา วงการธุรกิจเอเชีย-แปซิฟิก เป็นพลังสำคัญในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค มีคนกล่าวว่า นักธุรกิจเป็นผู้มองโลกในแง่ร้ายในระยะสั้น ก็เป็นผู้มองโลกในแง่ดีในระยะยาว หากชอบอยู่สบายโดยไม่ระมัดระวังภัยที่จะเกิดขึ้น ธุรกิจก็ไม่สามารถทำได้ดี หากไม่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และความคิดหลักแหลม ธุรกิจก็ไม่สามารถเจริญก้าวหน้าได้ด้วยเหมือนกัน หวังว่าเพื่อนมิตรต่างๆ ในวงการธุรกิจจะประยุกต์ใช้จิตวิญญาณของนักธุรกิจให้ดี ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างแข็งขัน มีส่วนร่วมอยู่ในการปฏิรูปเปิดประเทศของจีน และการสร้างความทันสมัยแบบจีนอย่างแข็งขัน สร้างคุณูปการสำคัญต่อการพัฒนา และความเจริญรุ่งเรืองของเอเชีย-แปซิฟิก และทั่วโลก